
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
ทัศนศิลป์สร้างสรรค์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กด้อยโอกาสในสถานสงเคราะห์เด็ก จังหวัดเชียงใหม่
อาจารย์ ดร.สายพิณ สังคีตศิลป์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
548-58-HUSO-NRCT
บทคัดย่อ
ทัศนศิลป์สร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กด้อยโอกาสในสถานสงเคราะห์เด็ก จังหวัดเชียงใหม่ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท สถานภาพ ลักษณะทางกายภาพของเด็กด้อยโอกาสในสถานสงเคราะห์ จัดการเรียนรู้และวัดผลการเรียนรู้ ด้านทัศนศิลป์สร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กด้อยโอกาสในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 20 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ผลจากแบบสอบถามและแบบสังเกต จากนั้นจึงนำมาวิเคราะห์และแสดงผลออกมาเป็นตาราง อัตราร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงการอภิปรายผลใต้ตาราง ผลการศึกษาพบว่า โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ เป็นโรงเรียนประเภทอยู่ประจำ มีนักเรียนที่เป็นชาวไทยภูเขาจากจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง เปิดทำการสอนในระดับชั้นประถมปีที่ 1 และ ชั้นประถมปีที่ 5 ห้องละ 35 คน โดยกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง มีอายุระหว่าง 1-10 ปี นํ้าหนัก 31-40 กิโลกรัม ส่วนสูง 101-150 เซนติเมตร มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ นับถือศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ โดยพักอาศัยอยู่ในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ ตลอดจนไม่มีภาวะความพิการและด้านภาพรวมปัญหาของเด็กที่เกิดขึ้นจะแบ่งเป็นกลุ่ม ที่เรียนดี และกลุ่มที่มีปัญหาด้านกระบวนการคิด ขาดจิตสาธารณะ ขาดความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น สำหรับโปรแกรมการจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาสมรรถภาพเด็กด้อยโอกาสทั้ง 3 ด้าน ซึ่งทางด้านพฤติกรรมด้านจิตใจ / อารมณ์ ก่อนปฏิบัติกิจกรรมอยู่ในระดับปฏิบัติพฤติกรรมมากและหลังจากปฏิบัติกิจกรรมแล้วมีพฤติกรรมอยู่ในระดับปฏิบัติพฤติกรรมปานกลางถึงมากที่สุดพฤติกรรมด้านสังคม และพฤติกรรมด้านความคิดสร้างสรรค์ ก่อนและหลังปฏิบัติกิจกรรมอยู่ในระดับปฏิบัติพฤติกรรมปานกลางถึงมาก ความพึงพอใจของเด็กด้อยโอกาสโดยตรง กลุ่มตัวอย่าง มีพฤติกรรมก่อนปฏิบัติกิจกรรมอยู่ในระดับปฏิบัติพฤติกรรมมากและหลังปฏิบัติกิจกรรมอยู่ในระดับปฏิบัติพฤติกรรมมากที่สุด
Abstract
Creative Visual Art Activity to Develop Quality of life for Underprivileged Children at Chiang Mai Child Care Home has the objectives to investigate the context of the physical condition of underprivileged children in the shelter. Held learning and measure learning about visual arts for them to improve the quality of life of underprivileged children in Chiang Mai. The population and sample used in this study were The 20 students in the Chiang Mai Child Care Home. They were selected by using the sample selection method, including the results of questionnaire and observation. The results were analyzed and displayed as percentage, mean, standard deviation and the discussion under the table. The research found that Chiang Mai Child Care Home is a regular school for tribal students from Chiang Mai, Lamphun and Lampang. They were taught at the elementary school from grade1-5. This school has 35 students. The samples were more male than female. The ages were between 1-10 years, weight 31-40 kg and height 101-150 cm. They were domiciled in Chiang Mai and they were Buddhist or Christian. They live in Suksasongkhro Chiang Mai School. There was no disability and the overall problem of the child is divided into 2 groups, including good group and the problematic group which lack of publicity or lack of creativity. The event program to develop the capacity was 3 ways for disadvantaged children, including the mental and emotions, social and satisfaction. Before the activity, the mental and emotions behavior was at the behavior was at the high level. After the activity, the behavior was at the moderate to the highest level. The social behavior and creative thinking was at a moderate to high level for both of before and after the activity. The directly satisfaction behavior of children was showed that the behavior was at the high level before the activity. After the activity, there was at the highest level.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา525 28 พ.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445