ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

ประติมากรรมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาสมรรถภาพผู้พิการทางสายตา ในจังหวัดเชียงใหม่


อาจารย์สมศักดิ์ พรมจักร

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

549-58-HUSO-NRCT

บทคัดย่อ

ประติมากรรมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการทางสายตาในสถานสงเคราะห์เด็ก จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท สถานภาพ ลักษณะทางกายภาพของเด็กพิการทางสายตา ในจังหวัดเชียงใหม่ จัดการเรียนรู้และวัดผลการเรียนรู้ ด้านประติมากรรมสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กพิการทางสายตาในจังหวัดเชียงใหม่ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือในพระบรมราชินูปถัมภ์ จังหวัดเชียงใหม่ จานวน 7 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ผลจากแบบสอบถามและแบบสังเกต จากนั้นจึงนามาวิเคราะห์และแสดงผลออกมาเป็นตาราง (Table) อัตราร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงการอภิปรายผลใต้ตาราง ผลการศึกษาพบว่า โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือในพระบรมราชินูปถัมภ์ จังหวัดเชียงใหม่เป็นสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนสาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น ตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แบ่งการจัดการเรียนการสอนออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ การจัดการเรียนการสอนนักเรียนที่เตรียมความพร้อมด้านทักษะวิชาการและงานอาชีพ การจัดการเรียนการสอนนักเรียนเรียนร่วมโรงเรียนทั่วไป และการจัดการเรียนการสอนนักเรียนด้านฝึกวิชาชีพแก่นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นและมีความพิการอื่นร่วมด้วย สาหรับการจัดการเรียนรู้และวัดผลการเรียนรู้ ด้านทัศนศิลป์สร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กพิการทางสายตาในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า พฤติกรรมด้านร่างกาย ก่อนปฏิบัติกิจกรรมอยู่ในระดับปฏิบัติพฤติกรรมน้อยและปานกลางและหลังจากปฏิบัติกิจกรรมอยู่ในระดับปฏิบัติพฤติกรรมมากและปานกลาง พฤติกรรมด้านจิตใจ / อารมณ์ ก่อนปฏิบัติกิจกรรมอยู่ในระดับปฏิบัติพฤติกรรมน้อยถึงปานกลางและหลังจากปฏิบัติกิจกรรมอยู่ในระดับปฏิบัติพฤติกรรมปานกลางถึงมากที่สุด พฤติกรรมด้านสังคม ก่อนปฏิบัติกิจกรรมอยู่ในระดับปฏิบัติพฤติกรรมน้อยถึงปานกลาง และหลังจากปฏิบัติกิจกรรมอยู่ในระดับปฏิบัติพฤติกรรมมากถึงมากที่สุด ความพึงพอใจจากการปฏิบัติกิจกรรมของผู้เรียนก่อนปฏิบัติกิจกรรมอยู่ในระดับปฏิบัติพฤติกรรมปานกลางและหลังจากปฏิบัติกิจกรรมอยู่ในระดับปฏิบัติพฤติกรรมมากที่สุด

Abstract

Sculpture Art to Develop Quality of life for The Blind Children at Chiang Mai Child Care Home has the objective to investigate the context of physical appearance of visually impaired children in Chiang Mai by learning and measure the learning of creative sculpture to improve the quality of life of blind children in Chiang Mai. In order that, the population and sample used in this study. They were 7 students in Northern School for The Blind under patronage of the Queen. The results was analyzed and displayed in table form and percentage form. And it was including with average, standard deviation and discussion under the table. The study indicated the education in Northern School for The Blind under patronage of the Queen. There are 3 groups of instruction for visually impaired students from kindergarten through high school. Including with 1) Teaching and Learning in preparation for academic and professional work. 2.) The regular classes and 3) Professional training in the areas of visual impairment and other disabilities. The result showed that sorting of learning and visual learning in creative visual arts to improve the quality of life of blind children in Chiang Mai, there were found that physical behavior before performing activities at the practical level were low and medium level. After the activity, practical level was high and moderate behavior. As a result, mental and emotional behavior prior to perform the activity at a practical level was measured. They were low to moderate behaviors. After doing activity, they were at moderate level. The social behavior before practice was between low to moderate. After practicing, they were at the high and the highest level of behavior. The satisfaction with the activities of the learners prior to the activity was moderate level. After the activity, they were at the highest level of behavior.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

433 30 พ.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่