ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่อาศัยในบ้านพักคนชราในจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยกิจกรรมศิลปะบำบัด


อาจารย์สิริพร คืนมาเมือง

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

550-58-HUSO-NRCT

บทคัดย่อ

การศึกษาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่อาศัยในบ้านพักคนชราในจังหวัดเชียงใหม่ด้วยกิจกรรมศิลปะบำบัด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท สถานภาพ ลักษณะทางกายภาพของผู้สูงอายุที่อาศัย ในบ้านพักคนชรา และเพื่อจัดกิจกรรมศิลปะบำบัดการจัดการเรียนรู้และวัดผล เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงใหม่ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้สูงอายุสถานสงเคราะห์คนชราบ้านวัยทองนิเวศน์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ อายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 21 คน ใช้เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์และสังเกตพฤติกรรมเบื้องต้นของผู้สูงอายุ ชุดกิจกรรมศิลปะบำบัดสำหรับผู้สูงอายุ และแบบประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรม และความก้าวหน้าของผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นจากกิจกรรม ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (arithmetic mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation)เพื่อแสดงความเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุก่อนและหลังการทำกิจกรรม ผลการศึกษาพบว่า สถานสงเคราะห์คนชราบ้านวัยทองนิเวศน์ เป็นสถานสงเคราะห์คนชราที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้หรือประสบปัญหาความทุกข์ยาก เดือดร้อน ยากจน ไม่มีที่อยู่อาศัย หรือ ไม่สามารถอยู่กับครอบครัวได้ สาเหตุที่ผู้สูงอายุเข้ามารับบริการในสถานสงเคราะห์คนชราบ้าน วัยทองนิเวศน์คือ ไม่มีใครเป็นผู้ดูแล ไม่สามารถอยู่กับลูกหลานได้และบางคนอยู่ตัวคนเดียว ส่วนรูปแบบการจัดบริการสวัสดิการสังคมให้แก่ผู้สูงอายุให้บริการรวม 3 ประเภท คือ ประเภทสามัญ ประเภทเสียค่าบริการ และประเภทพิเศษ โดยมีบริการรวมคือ บริการด้านสังคมสงเคราะห์และบริการศาสนกิจ ด้านปัญหาในการดูแลผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คือ ในปัจจุบันผู้สูงอายุพูดคุยหรือทำความเข้าใจกันยากและทางสถานสงเคราะห์คนชรามีหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุตั้งแต่วันที่เข้ามาอยู่ที่นี่จนถึงวันสุดท้ายของลมหายใจ ชุดกิจกรรมศิลปะบำบัดสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม ประกอบด้วยกิจกรรมมัดย้อมกระดาษสา กิจกรรมกระเป๋าจากกระดาษมัดย้อม กิจกรรมต้นสลาก (งานกลุ่ม) ซึ่งพฤติกรรมเบื้องต้นของผู้สูงอายุก่อนและหลังการปฏิบัติกิจกรรม ง ศิลปะบำบัด พบว่า ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติกิจกรรมศิลปะบาํ บัด ผูสู้งอายุมีความพึงพอใจต่อการจัด กิจกรรมในครั้งนี้อยูใ่ นระดบั พฤติกรรมพฤติกรรมมากที่สุด ส่วนพฤติกรรมดา้ นร่างกายดา้ นจิตใจ / อารมณ์ก่อนปฏิบัติกิจกรรมอยู่ในระดับปฏิบัติพฤติกรรมน้อยและปานกลาง และพฤติกรรม ด้านสังคมอยู่ในระดับปฏิบัติพฤติกรรมปานกลางถึงมาก และหลงั จากที่ได้ปฏิบตั ิกิจกรรมศิลปะ บำบัดไปแล้ว ผู้สูงอายุยังมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมในครั้งนี้อยู่ในระดับพฤติกรรม พฤติกรรมมากที่สุด มีพฤติกรรมดา้ นร่างกายอยู่ในระดบั ปฏิบัติพฤติกรรมมากที่สุด ดา้ นจิตใจ / อารมณ์ อยู่ในระดับพฤติกรรมพฤติกรรมมากถึงมากที่สุด และด้านสังคมอยู่ในระดับปฏิบัติ พฤติกรรมปานกลางถึงมาก

Abstract

Improving Life Quality of Elderly at Chiang Mai Care Home by Using Arts Therapy has the objective to investigate the physical condition of the elderly living in the nursing home. And it was also to organize art therapy activities, learning management and evaluation to improve the quality of life of the elderly in Chiang Mai. The population and sample used in this study was the elderly in the nursing homes of the elderly. The results of questionnaire and observation were then analyzed and displayed as percentage, mean, and standard deviation and showed as the discussion below the table to show the change of the elderly before and after the activity. The research found that the Baan Wai Thong Niwet, San Maha Phon sub district, Chiang Mai Province was a home for the elderly who cannot help themselves or suffer from poverty and also have poor housing. They cannot stay with family. The series of arts therapy activities for the elderly was to improve the quality of life of the elderly, such as making bag, handbags from dyed paper and Salaka Pat trunks (group works). The physical behavior of the samples people were at the low to moderate level before the activity. After the activity, the behavior was at the highest level. Mental and emotional behavior was at the low to moderate level before the activity. After the activity, the behavior was at the high to the highest level. The social behavior was at the moderate to high level for both of before and after the activity. And the directly satisfaction of the elderly was at the highest level for both of before and after the activity.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

900 28 พ.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่