ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

แนวทางการพัฒนาอาชีพเสริมเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่


อาจารย์ ดร.รพีพร เทียมจันทร์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

554-58-SCI-NRCT

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research; PAR) โดยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาความต้องการการพัฒนาอาชีพเสริม และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนา อาชีพเสริมของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุจานวน 30 คน จากชมรม ผู้สูงอายุตาบลช่อแล เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อาเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และผู้วิจัยได้ ประยุกต์ใช้เทคนิค Appreciation Influence Control (AIC) ในการดาเนินงาน ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุมีความต้องการการพัฒนาอาชีพเสริมเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิต และเสนออาชีพเสริมต่างๆ ได้แก่ การนวดแผนไทย การแปรรูปสมุนไพร การตัดเย็บเสื้อผ้า การปลูกผัก อินทรีย์ การเพาะเห็ด การจักสาน การทาไม้กวาด การปลูกไม้ดอกและไม้ผล งานฝีมือจากกระดาษ การ ทาอาหาร การทากระเป๋า การเลี้ยงสัตว์ การทานา การทาสวนลาไย การผลิตเครื่องนอน งานฝีมือจาก ลูกปัด และงานก่อสร้าง จากรายการอาชีพเสริมที่กล่าวมาผู้สูงอายุได้ร่วมกันวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ ความเหมาะสมกับวัยและภาวะสุขภาพ ตลอดจนการสนับสนุนจากสมาชิกในชมรมผู้สูงอายุและชุมชน ซึ่งผลการวิเคราะห์สรุปว่า การปลูกผักอินทรีย์เป็นอาชีพเสริมที่มีความเป็นไปได้สูงที่สุด ผู้สูงอายุได้ ร่วมกันกาหนดแนวทางและลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ในการปลูกผักอินทรีย์เป็นอาชีพเสริม ได้แก่ การ เลือกชนิดของผักที่ต้องการปลูก การเตรียมพื้นที่และอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการเพาะปลูก การเตรียมเมล็ด พันธุ์และต้นกล้า การเพาะปลูกผัก การดูแลและการรดน้าผัก การเก็บผลผลิต การจาหน่ายผลผลิตที่ได้ และเมื่อครบกาหนดตามแผนที่ได้กาหนดไว้ พบว่า ผู้สูงอายุได้ปฏิบัติกิจกรรมการพัฒนาอาชีพเสริมครบ ทุกขั้นตอนและนาผลผลิตที่ได้ไปจาหน่ายที่ตลาดนัดชุมชน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าแนวทางการ พัฒนาอาชีพเสริมนี้มีความสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน นอกจากนี้ผักอินทรีย์นั้นยังจัดเป็น สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มเพราะสามารถนาไปจาหน่ายในราคาที่สูงกว่าผักทั่วไปที่มีการใช้สารเคมี และการ บริโภคผักอินทรีย์ก็เป็นประโยชน์และมีความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ ครอบครัว และชุมชน

Abstract

This study was a Participatory Action Research (PAR) and objectives of this study were to examine need of the occupational development and to study the occupational development guideline of the elderly. The sample used in this study was 30 elders from an elderly club in Chor Lae subdistrict, Muang Kaen Pattana municipality, Mae Taeng district, Chiang Mai province. Appreciation Influence Control (AIC) technique was applied in the operation. The results found that the elderly need the occupational development to promote quality of life and offer various occupations including Thai massage, herb processing, dressmaking, organic vegetable farming, mushroom cultivation, basketry, broom making, flower and fruit planting, paper crafts, cooking, handbag making, animal farming, rice farming, longan farming, bedclothes production, bead craft and construction. From the occupational list, the elderly had jointly analyzed the possibilities, appropriateness of age and health, as well as supports from members of the elderly club and the community. The analysis concluded that organic vegetable farming was the highest possible. The elderly had jointly defined and implemented activities including choosing type of vegetables, Preparation areas and equipment required for farming, preparation of seeds and seedlings, planting, care and watering, harvesting and product sale. When the plan was finished, it was found that the elderly conducted activities in all stages and the output is sold to the local market. The results suggested that this occupational development is consistent with the needs of the community. Additionally, organic vegetables also provide a value-added product that can be sold at a higher price than common vegetables with pesticide use, and consumption of organic vegetables is beneficial and safe for the health of the elderly, families and communities.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

925 03 ก.พ. 2560

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่