
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนาที่นอนไทยสำหรับผู้สูงอายุตามภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
อาจารย์ศิริจันทร์ อุปาละ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
556-58-SCI-NRCT
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สารวจข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการผลิตที่นอนของท้องถิ่น 2) สังเคราะห์ข้อมูลการผลิตที่นอนของท้องถิ่น และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาที่นอนตามภูมิปัญญาของท้องถิ่นสาหรับผู้สูงอายุ รูปแบบการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (participatory action research) เก็บข้อมูลในเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อาเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เจาะจงกลุ่มตัวอย่างชาวไทเขินในชุมชนบ้านช่อแล ที่มีประสบการณ์ผลิตหรือใช้งานที่นอนไทเขิน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสารวจ สัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม ประชุมเวทีชาวบัาน และการทดลองผลิตที่นอนไทเขิน วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการผลิตที่นอนของท้องถิ่น พบว่า ผู้สูงอายุเพศหญิงในชุมชน ทุกคนที่เป็นกลุ่มตั วอย่าง เคยผลิตและใช้ที่นอนไทเขิน ที่มีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทามาจากผ้าฝ้ายย้อมสีดา มีขอบด้านข้างสีแดง ขนาดของที่นอนสาหรับใช้นอนคนเดียว สามารถพับได้ 4 ตอน พื้นผิวด้านหน้าของที่นอนเป็นรอยนูน ยัดไส้ที่นอนด้วยใยงิ้ว กระบวนการการทาที่นอน ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน คือ1) การตีเส้นใยแยกเส้นใยออกจากเมล็ดและแกน 2) การตัดเย็บที่นอนใช้วิธีการเย็บด้วยมือ 3) การยัดไส้ที่นอนให้แน่นด้วยเส้นใยงิ้วให้แน่นเป็นรูปที่นอน และ 4) การเย็บคัดลายที่นอนปิดช่องที่เปิดไว้และเย็บขอบที่นอนโดยรอบ รูปแบบการเรียนรู้การผลิตที่นอน พบว่า เป็นหน้าที่ของผู้หญิงในวัฒนธรรมชาวไทเขินที่ต้อง เรียนรุ้ โดยมีรูปแบบการเรียนรู้การทาที่นอนเป็นการเรียนรั้จากสภาพจริง แบ่งรูปแบบการเรียนรู้ได้เป็น 3 รูปแบบ คือ 1) การเรียนรู้จากครอบครัว 2) การเรียนรู้จากชุมชน และ 3) การเรียนรู้ด้วยตนเอง การถ่ายทอดความรู้การทาที่นอน พบว่า เพื่อตอบสนองปัจจัยพื้นฐานการดารงชีพด้านเครื่องนั่งห่ม และตอบสนองการตรียมพร้อมการมีครอบครัว โดยมีแม่หรือญาติผู้ใหญ่เป็นผู้ถ่ายทอด ความรู้ มีขั้นตอนการถ่ายทอดความรู้แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมการถ่ายทอดความรู้ ด้วยการทาให้ผู้รับการถ่ายทอดความรู้ได้รับรู้ข้อมูล (perception) ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทาที่นอน 2) การถ่ายทอดความรู้ ให้ผู้รับการถ่ายทอดได้ปฏิบัติจริงทีละขั้นตอน และ 3) การประเมินผลเป็นการประเมินความรู้ความสามารถ ไหวพริบในการทางานและผลงาน การสังเคราะห์ข้อมูลการผลิตที่นอนของท้องถิ่น แบ่งได้เป็น 3 มิติ ได้แก่ 1) มิติด้าน ผลิตภัณฑ์ มีจุดเด่น ด้านรูปแบบของที่นอน มีขนาดพอเหมาะต่อการเคลื่อนย้าย น้าหนักเบา เก็บรักษาได้ง่าย 2) มิติด้านสุขภาพของผู้ใช้ที่นอน พบว่า ผู้สูงอายุรู้สึกว่าที่นอนของไทเขินนอนสบาย รูปร่างพื้นผิวที่นอนที่เป็นรอยนูนช่วยนวดหลัง ทาให้นอนสบาย และระบายอากาศได้ดี วัสดุทาที่นอนจากธรรมชาติมีความปลอดภัย 3) มิติด้านภูมิปัญญาการผลิตที่นอน ในชุมชนไทเขินมีความเด่นชัด (3) ด้านครูภูมิปัญญาการทาที่นอน มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้การทาที่นอนไทเขิน และพร้อมถ่ายทอดความรู้ให้แก่คนรุ่นหลังชุมชนเพื่อสืบทอดองค์ความรู้ แนวทางการพัฒนาที่นอนจากภูมิปัญญาท้องถิ่นสาหรับผู้สูงอายุ พบว่า 1) การส่งเสริมหรือกระตุ้นให้ชาวบ้านได้ตระหนักถึงความสาคัญของภูมิปัญญาการทาที่นอนของชุมชน 2) การฟื้นฟูภูมิปัญญาการทาที่นอนของชุมชน โดยมีผู้สูงอายุเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ 3) การพัฒนาคุณภาพของที่นอนให้เป็นมาตรฐานตรงกับความต้องการของผู้สูงอายุด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และ 4) พัฒนาการผลิตที่นอนตามภูมิปัญญาของไทเขินทาได้ด้วยการเย็บด้วยมือ และการเย็บด้วยเครื่องจักร
Abstract
This research aims to 1) survey basic data about the production of mattress in local area, 2) to synthesize the mattress production data of local area, and 3) to study the development of the mattress from the local wisdom for elderly. The research pattern is participatory action research. Data was collected in Muang Gan Pattana Muang Municipality, Maetang District, Chiang Mai Province. Tai Khun people who have experience in producing or using Tai Khun mattress in Cho Lae community were purposively sampling. Research data were collected by survey, interview, focus group, community meeting and the trial of producing Tai Khun mattress. The analysis of initial data about mattress production in local area found that all selected elderly female in the community used to produce and use Tai Khun mattress. This mattress is the square shape, made of cotton fabrics dyed black colour, with reddish edge. The size of mattress is suitable for one person, and it can be folded 4 sections. The surface layer is the convex trace, inserting with fiber of silk cotton tree. The production of mattress comprises of 4 steps, which are 1) the separation of fiber of silk cotton tree from its seeds and seed core, 2) manual stitching the mattress, 3) firmly inserting fiber of silk cotton tree, and 4) finishing stitch and stitching the edge of the mattress. The pattern of learning of the production of the mattress is the duty of female in Tai Khun culture. The pattern of learning of the production of the mattress (4) can be found into 3 patterns, which are 1) learning from family, 2) learning from community, and 3) learning from themselves. The knowledge transfer of the production of the mattress occurred through basic living aspects of clothing and the preparation of forming a family. Mother or elderly relatives were persons who can transfer the knowledge. The knowledge transfer to receivers comprises of 3 main steps of 1) the preparation step, by transferring knowledge about the production of the mattress, 2) practical steps of the production through actual practice, and 3) the evaluation of knowledge, ability, working aptitude and piece of products. The data synthesis of the production of the mattress in the local can be classified into 3 dimensions, which are 1) the dimension of the outstanding of the products, the pattern of the mattress, the size of the products which are suitable for moving, the light weight of the mattress and the ease of keeping, 2) the dimension of the health of user, which found that Tai Khun mattress is comfortable for elderly, the convex-trace surface layer of the mattress helps to massage the back and leads to comfortable sleeping, the good ventilation of the mattress, and the safety of natural products of the mattress, 3) the dimension of local wisdom of producing the mattress, in the Tai Khun community, local experts of producing mattress have the knowledge to transfer and they are willing to transfer their wisdom to younger generation. The development of the mattress from the local wisdom found that 1) the promotion or the urgency for local people to realise the importance of the production of the mattress from local wisdom, 2) the restoration of the production of the mattress from local wisdom by using elderly in the community, 3) the quality development of the mattress by using scientific method, in order to meet the standard and the needs of elderly, 4) the development of the mattress production from Tai Khun local wisdom using manual stitching and stitching machine.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา516 09 เม.ย. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445