
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การศึกษาการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติของอุตสาหกรรมไมซ์ในจังหวัดเชียงใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิตติคุณ นิยมสิริ
วิทยาลัยนานาชาติ
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
583-58-IC-NRCT
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความพร้อมและขีดความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติของอุตสาหกรรมไมซ์ในจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันระดับนานาชาติของอุตสาหกรรมไมซ์ในจังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันระดับนานาชาติของอุตสาหกรรมไมซ์ในจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังนำเสนอในส่วนของข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติของอุตสาหกรรมไมซ์ในจงหวัดเชียงใหม่ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ จาก 145 ตัวอย่าง โดยประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้ประกอบการที่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง ในอุตสาหกรรมไมซ์ ได้แก่ ผู้ประกอบการให้บริการด้านสถานที่ จำนวน 7 แห่ง ผู้ประกอบการการจัดงานกิจกรรมทางธุรกิจ การประชุม และงานนิทรรศการ จำนวน 9 แห่ง ซึ่งทั้งสองกลุ่มนี้ทำการเก็บข้อมูลทั้งหมด และผู้ประกอบการโรงแรมและที่พัก จำนวน 129 แห่ง ใช้วิธีการคัดเลือกตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น โดยการสุ่มแบบเจาะจง เลือกเก็บตัวอย่างเฉพาะผู้ปฏิบัติงานในกลุ่มโรงแรมและที่พักในจังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ระดับหัวหน้าแผนกขึ้นไปเท่านั้น ผลการศึกษา พบว่า ความพร้อมและขีดความสามารถด้านบุคลากรในการแข่งขันระดับนานาชาติของอุตสาหกรรมไมซ์ในจังหวัดเชียงใหม่ ในภาพรวมทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก แสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการรองรับการท่องเที่ยวรูปแบบไมซ์ ดังนั้น จังหวัดควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการขายเพื่อให้เป็นที่รู้จักและเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวรูปแบบไมซ์ ผลการศึกษาด้านกลยุทธ์ทางการตลาด พบว่ากลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับการดำเนินกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 4 ประเด็นใกล้เคียงกัน โดยประเด็นที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญมากที่สุดคือ การส่งเสริมทางการตลาด รองลงมาคือด้าน ผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านราคา ข้อเสนอแนวทางในการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อช่วยยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันในระดับนานาชาติของอุตสาหกรรมไมซ์ในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ การสำรวจเพื่อทราบความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะความรู้ในการบริการ การพัฒนาความสามารถด้านภาษาและการตลาดให้กับบุคลากร การสร้างความแตกต่าง โดดเด่น ไม่เหมือนใคร การใช้ประโยชน์จากสื่อออนไลน์ให้มากที่สุด การสร้างความร่วมมือกับภาครัฐบาลและผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ผลการศึกษาด้านกลยุทธ์การบริหารจัดการ พบว่ากลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ ได้แก่ กลยุทธ์ ST ประกอบด้วย การมุ่งสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับศักยภาพในการรองรับในระดับนานาชาติ ขยายเส้นทางบินตรงจากประเทศเพื่อนบ้านสู่เชียงใหม่ ปรับปรุงระบบสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน เพิ่มมาตรการด้านการรักษาความปลอดภัยในสถานประกอบการ และให้ความสำคัญกับจุดเด่นด้านความคุ้มค่าเงิน คำสำคัญ: อุตสาหกรรมไมซ์, ความพร้อม, ขีดความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติ
Abstract
This is a study of international competitiveness development of MICE industry in Chiang Mai province, Thailand. The objectives of this paper are 1) to assessment readiness and personnel capabilities for the international competition of MICE industry in Chiang Mai 2) To develop a marketing strategy that will enhance Chiang Mai MICE primary stakeholders’ ability to compete internationally 3) to develop a strategic management model that will enhance Chiang Mai MICE primary stakeholders’ ability to compete internationally and also present the guidelines for development competitiveness in international level of stakeholders in MICE industry in Chiang Mai. This research uses the “Mixed Method” for collecting data; the method involved questionnaire and interview with 145samples consisting of venue providers 7 samples, professional exhibitions and conference organizers 9 samples, these two groups information are collected by census method, and the last group is hoteliers 129 samples, non - probability sampling was applied with purposive sampling selected only the department head level workers. The results showed that overall of the readiness and personnel capabilities for international competition of MICE industry in Chiang Mai got the means in a high level, represented the readiness to welcome MICE tourism industry therefore Chiang Mai Provincial Administration Organization should present more public relations and promotions in order to promote the province as MICE destination. The study of marketing strategy found that respondents focused on all four marketing mixes in similar level. The issues that were the most important were based on promotion, followed by product, place, and price. The suggestion to develop a marketing strategy to leverage capabilities in international competitiveness of MICE businesses are a survey to determine the needs of the target audience, the training workshops to develop the skills and service knowledge for workers, and also their language and marketing skills. Creating an exceptional difference from competitors. Taking advantages of the online media tools as much as possible and making connection with government institutions and other operators. The result of strategic management found that MICE operators in Chiang Mai should aimed at “ST” strategy which include creating a positive image, promoting publicity about its potential to support the international level, expanding direct flights from Chiang Mai to neighboring countries, improving basic amenities, increasing security measures in the workplace, and giving priority to highlight its value for the money. Keywords: MICE Industry, Readiness, International Competitiveness
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา402 12 มี.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445