ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

ความหลากหลายทางชีวภาพและความสัมพันธ์กับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่


อาจารย์ ดร.รุ่งนภา ทากัน

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

588-58-SCI-NRCT

บทคัดย่อ

จากการศึกษาความหลากหลายของแมลงน้ำและการประยุกต์ใช้เป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำของแม่น้ำแม่แจ่มในพื้นที่ต้นน้ำแม่น้ำแม่แจ่ม อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 4 จุดเก็บตัวอย่าง คือ จุดเก็บตัวอย่างที่ 1 MJ1 บริเวณบ้านหนองแดง จุดเก็บตัวอย่างที่ 2 MJHK บริเวณบ้านห้วยครก จุดเก็บตัวอย่างที่ 3 MJ2 บริเวณบ้านจันทร์ และจุดเก็บตัวอย่างที่ 4 บริเวณบ้านแจ่มหลวงทุกจุดเก็บตัวอย่างที่อยู่ในอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ทำการศึกษาในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ.2557 (ฤดูหนาว) เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2558 (ฤดูร้อน) และเดือนสิงหาคม พ.ศ.2558 (ฤดูฝน) โดยใช้วิธีการเก็บตัวอย่างแมลงน้ำแบบ sweep sampling พบแมลงน้ำทั้งหมด 9 วงศ์ 84 อันดับ จำนวน 8,889 ตัว ค่าดัชนีความหลากหลายและค่าความสม่ำเสมอที่สูงที่สุดในจุดเก็บตัวอย่าง MJHK เดือนสิงหาคม พ.ศ.2558 (ฤดูฝน) คือ 2.505 และ 0.4535 ตามลำดับ ส่วนค่าที่ต่ำที่สุดอยู่ในจุดเก็บตัวอย่าง MJ1 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2558 (ฤดูร้อน) คือ 0.6079 และ 0.09666 ตามลำดับ ค่าชนิดเด่นของแมลงน้ำที่พบสูงสุด คือ 0.7462 บริเวณจุดเก็บตัวอย่าง MJ1 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2558 (ฤดูร้อน) และค่าชนิดเด่นของแมลงน้ำที่พบต่ำสุด คือ 0.1188 ในจุดเก็บตัวอย่าง MJ1 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2558 (ฤดูร้อน) การใช้แมลงน้ำเป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำ โดยใช้คะแนน BMWP Score คำนวณหาค่า ASPT Score พบว่าคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์คุณภาพน้ำปานกลาง สารอาหารปานกลาง จากการประเมินคุณภาพน้ำด้วยวิธี AARL-PC Score พบว่าคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำดีถึงปานกลาง สารอาหารน้อยถึงปานกลางเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นจุดเก็บตัวอย่าง MJ1 เดือนสิงหาคม, MJ2 เดือนพฤษภาคม และสิงหาคม, MJ3 เดือนพฤษภาคม และ MJHK เดือนพฤษภาคม คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง สารอาหารปานกลาง โดยแมลงน้ำที่พบมีความสัมพันธ์กับลักษณะพื้นท้องน้ำที่แตกต่างกันไปตามแต่ละฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไป โดยความหลากหลายของแมลงน้ำที่พบมีความสัมพันธ์กับคามแตกต่างกันไปตามแต่ละฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไป มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับชุมชน โดยชึความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมมาเป็นตัวอย่าง โดยชุมชนได้มีส่วนร่วมในการเก็บตัวอย่างและประเมินความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงการใช้แมลงเป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำ ซึ่งชุมชนสามารถใช้ติดตามสภาพแวดล้อมร่วมกับปัจจัยทางกายภาพและเคมีได้ การศึกษาแนวทางการจัดการทรัพยากรน้ำโดยชุมชนท้องถิ่น บนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ต้นน้ำอำเภอกัลยาณิวัฒนา เป็นการวิจัยและหาองค์ความรู้ ผ่านการวิจัยแบบมีส่วนร่วมเชิงปฏิบัติการในพื้นที่โดยจะเป็นศึกษาข้อมูล สถานการณ์การจัดการน้ำ จากชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงสภาพปัญหาและการแก้ไข โดยใช้ฐานการจัดการโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ โดยมีการกำหนดกลุ่มตัวอย่างและแหล่งข้อมูล คือ กลุ่มชาวบ้าน ผู้นำชุมชน, ผู้บริหารท้องถิ่น และบุคลากรในสถาบันการศึกษาในท้องถิ่น

Abstract

The study on diversity of aquatic organism in Mae Jam river were carried from December 2016 to October 2017 including 3 seasons as Winter rainy and summer. The 3 sampling site were selected on the upstream. 8,889 individuals were collected from 9 families 84 order. The highest diversity found MJ3 rainy season as 2.8551 individual however the lowest diversity also found in site MJ3 in winter season as 1.8090 The local communities were continuing the local wisdom on the check-dam management and continuing the upstream respecting. The participants were studied for collecting aquatics samples, monitored and evaluated the water quality by themselves. The local community could be use the indigenous knowledge combined with the bio-indicator knowledge to monitored the Mae Jam river. The data from local researcher were transferred to the university researcher for analyzed and evaluated the water quality in the Mae Jam River. The result by the local researcher shown that the water quality Mae Jam River were clean to moderate, and moderate by using the physical, chemical and some biological simple technique. The Study on a Water Resources Management by the Local Community on the basis of Sufficiency Economic Concept and Local Indigenous; Case Study at Kalayaniwatdhana District were based on the participatory research. The fundamental data of the study area, the upstream of Mae Chaem River watershed were investigated along with the local water resources management and stakeholder. The problems and solution of local community which using the sufficiency economic concept and the indigenous knowledge were studied.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

502 19 มี.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่