ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การสังเคราะห์และผลิตพลาสติกชีวภาพจากหัวบุก


อาจารย์คณิศร สินธุบุญ

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

591-58-SCI-NRCT

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การสังเคราะห์และผลิตพลาสติกชีวภาพจากหัวบุก ได้ทำการศึกษาวิธีการสกัดผงบุกจากหัวบุก ซึ่งใช้หัวบุกพันธุ์พื้นเมือง ( A. krausei Engl. ) โดยใช้ตัวทำละลายเอทานอล 95% ในการสกัดผงบุกจากหัวบุกมีร้อยละผลผลิตเท่ากับ 16.00 จากนั้นได้ศึกษาการขึ้นรูปบุกสกัดด้วยวิธีต่าง ๆ ได้แก่ วิธีเทคนิคอิเล็กโทรสปินนิง และวิธีการขึ้นรูปแผ่นฟิล์ม เป็นต้น พบว่าในการผลิตเส้นใยพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ผสมบุกสกัดได้ใช้เทคนิคอิเล็กโทรสปินนิง โดยผสมสารละลายพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ผสมบุกสกัดตามอัตราส่วนร้อยละโดยน้ำหนัก เส้นใยที่ได้มีลักษณะเป็นเส้นใยที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดเล็กซ้อนทับกันบนแผ่นอะลูมิเนียมฟลอยด์ จนมีลักษณะเป็นสีขาว โดยในการขึ้นรูปบุกสกัดโดยวิธีเทคนิคอิเล็กโทรสปินนิงนี้ สามารถขึ้นรูปได้ในอัตราส่วนของสารละลายพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ผสมบุกสกัด ในอัตราส่วน 80 : 20 และ 100 : 0 ร้อยละโดยน้ำหนัก จากนั้นทำการศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการขึ้นรูปฟิล์มจากผงบุกที่สกัดได้ เพื่อให้ได้ฟิล์มที่มีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป โดยสภาวะที่เหมาะสมที่สุด คือ สารละลายบุก 1 % ผสมกลีเซอรอล 0.3 % และ พบว่าปริมาณฟิล์มที่ขึ้นรูปได้จากผงบุกเฉลี่ยร้อยละ 61.99 ดังนั้น การขึ้นรูปด้วยวิธีขึ้นรูปฟิล์มจากผงบุกมีความเหมาะสมมากกว่าการใช้วิธีเทคนิคอิเล็กโทรสปินนิงในลักษณะเป็นเส้นใย ต่อการนำผลิตภัณฑ์ไปประยุกต์ใช้เป็นพลาสติกชีวภาพต่อไป

Abstract

The objective of this research in the title “The bioplastic synthesis from Konjac ” was to study in the extraction of konjac powder from the local konjac corms ( A. krausei Engl. ), using Ethanol 95 % as the solvent. The 16 % yield obtained. The fibre forming from the electrospinning technique and film casting from an extracted konjac power were studied. The result from the poly vinyl alcohol (PVOH) solution mixed with an extracted konjac powder to process as the fibre found that the weight ratio of PVOH solution : an extracted konjac powder which could be process as the fibre were only 80 : 20 and 100 : 0. The fibres were in a white fibre with small diameter and superimposed on Aluminium foil. After that, the optimum condition of film casting from an extracted powder solution has been studied. The finding was the 1 % an extracted powder solution in water mixed with 0.3 % Glycerol. The average of % film forming from an extracted konjac powder was 61.99. The conclusion was the better way to produce bioplastic from konjac was the film forming. Moreover these products, trend to be a efficiency bioplastic products in the future.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

829 18 ม.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่