ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

โครงการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการใช้สมุนไพรในพื้นที่สะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเขียงใหม่


อาจารย์กาญจนา ขัติทะจักร์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

606-58-SCI-RSPG

บทคัดย่อ

งานวิจัย เรื่อง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการใช้สมุนไพรไทยใน พื้นที่สะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่เป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ในการใช้ภูมิปัญญาของชาวบ้านในพื้นที่สะลวง ซึ่งเป็นคนล้านนา หรือ คนเมือง มาจัดทำเป็นบทเรียน (Electronic Learning Platform) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดทำเป็นสื่อออนไลน์ โดยมุ่งเน้นการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการใช้ประโยชน์จากพันธุ์พืชในด้านสมุนไพรของชุมชน โดยสื่อที่จัดทำขึ้นได้ให้ความรู้แก่ผู้ที่ศึกษาในด้านของชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific Name) ชื่อทั่วไป (Common Name) ชื่อพื้นเมือง (Local Name) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ (Botanical Characteristics) ภาพประกอบ (Figure) ส่วนที่ใช้ประโยชน์ (Plant Part) และลักษณะการใช้ประโยชน์ (Plant Use) โดยในงานวิจัยนี้ ได้คัดเลือกพืชจำนวน 165 ชนิด เพื่อจัดทำเป็นสื่อออนไลน์ ประกอบด้วย ข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพร บนเว็บไซต์ และแอนิเมชัน เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ใช้ นอกเหนือจากนี้ทางผู้วิจัยยังได้จัดทำแบบทดสอบเพื่อวัดความรู้ความเข้าใจในสื่อแก่ผู้ที่ทำการศึกษาอีกด้วย

Abstract

The aim of our research is applied the e-learning platform from the local or folk wisdom of medicinal plant use of people in Saluang areas. The study areas located in the area of Mae Rim district, the people in this area are the Lanna people or Northern Thai people. Methods of our study consisted of focus group discussion, village information collection, participant observation, and plants survey in the village for collected information about plant used and analyzed data. The results of ourstudy were collected medicinal plant as a plant list. One hundred sixty-five species were selected for e-learning contents. The e-learning platform encouraged user learned the knowledge of medicinal plants in the overview of medicinal plants. The online multimedia contents comprised informations of local medicinal plants in study areas about scientific name, common name, local name, botanical characteristics, figure, plant parts and plant used, all informations and animations were uploaded to website on internet. Moreover, the online testing was builded for examined the knowledge of user after tried our elearning platform.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

299 29 มี.ค. 2561

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช (อพ.สธ.)

สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สวนจิตรลดา ถ.ราชวิถี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๓

http://www.rspg.or.th/

0-2282-1850

admin@plantgenetics-rspg.org

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่