ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

โครงการการพัฒาเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออย่างง่ายสำหรับโรงเรียนตำรวยตระเวนชายแดนกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ โชติกเดชาณรงค์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

607-58-SCI-RSPG

บทคัดย่อ

การศึกษาเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่ายโดย การศึกษาการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสูตร MS (Murashige and Skoog, 1962) ด้วยยาปฏิชีวนะ หรือสารฆ่าเชื้อ แทนการใช้หม้อนึ่งความดันไอ โดยการเตรียมอาหารสูตร MS เติมน้าตาลซูโครสร้อยละ 3 โดยมวลต่อปริมาตร และปรับค่าความเป็นกรด - ด่าง เป็น 5.8 ก่อนเติมผงวุ้น 7 กรัม/ลิตร แล้วนาไปต้มจนเดือด จากนั้นรอจนอุณหภูมิของอาหารลดลงถึง 60 องศาเซลเซียส จึงเติมยาปฏิชีวนะ ได้แก่ อะม๊อกซีซิลลิน หรือทีซี มัยซิล ความเข้มข้น 250 และ 500 mg/l หรือสารฆ่าเชื้อ ได้แก่ ไฮโดเจนเพอร์ออกไซด์ หรือ น้ายาฟอกผ้าขาวความเข้มข้น 3 และ 5 ml/l ลงในอาหาร คนให้เข้ากันก่อนเทใส่ขวดขนาด 4 ออนซ์ ขวดละ 20 มิลลิลิตร แล้วปิดฝา โดยชุดควบคุมคืออาหารสูตรเดียวกันที่ใช้หม้อนึ่งความดันไอ อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เป็นเวลา 15 นาที นาขวดอาหารทั้งหมดไปวางบนชั้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่มีการให้แสง 16 ชั่วโมงต่อวัน อุณหภูมิ 25 ± 2 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 วัน ผลการวิจัยพบว่าน้ายาฟอกผ้าขาวทั้งสองความเข้มข้น มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในอาหารวุ้นสูตร MS ได้ 100% เทียบเท่ากับการฆ่าเชื้อด้วยการใช้หม้อนึ่งความดันไอ เมื่อนาชิ้นส่วนข้อของม่วงเทพรัตน์ (Exacum affine Balf. f. ex Regel) มาเลี้ยงบนอาหารวุ้นสูตร MS ที่ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์โดยการเติมน้ายาฟอกผ้าขาว ความเข้มข้น 3 และ 5 ml/l มีผลทาให้เนื้อเยื่อม่วงเทพรัตน์เกิดการฟอกขาวและไม่เจริญเติบโต จึงทาการศึกษาโดยลดความเข้มข้นของ น้ายาฟอกผ้าขาว เป็นความเข้มข้น 0.1 และ 0.5 ml/l พบว่าให้ผลในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้ 100% เช่นเดียวกัน เมื่อนาชิ้นส่วนของม่วงเทพรัตน์ กุหลาบหนู และหญ้าหวาน มาเลี้ยงบนอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อดังกล่าว เปรียบเทียบ พบว่าการเจริญเติบโตของพืชทั้งสามชนิดไม่แตกต่างกับการเพาะเลี้ยงบนอาหารที่ฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันไออย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ดังนั้นจึงสรุปว่าอาหารวุ้นสูตร MS ที่เติมน้ายาฟอกผ้าขาว ความเข้มข้น 0.1 และ 0.5 ml/l มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้ดี และสามารถใช้ทดแทนอาหารที่ฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันไอได้ การศึกษาสูตรอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่ายจากสารละลายสาหรับปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินโดยเติมน้าประปาในบีกเกอร์ขนาด 1 ลิตร ประมาณ 300 มิลลิลิตร แล้วเติมสารละลายธาตุอาหารสาหรับปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ชื่อทางการค้า Hydrowork สูตรสาหรับผักสลัด stock A และ B ความเข้มข้นอย่างละ 1, 2, 3, 4 และ 5 มิลลิลิตรต่อลิตร เติมน้าตาลซูโครส 30 กรัมต่อลิตร ปรับปริมาตรเป็น 1 ลิตร ด้วยน้าประปา ปรับ pH เป็น 5.7 โดยใช้น้าส้มสายชูกลั่นหรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ความเข้มข้น 1 โมล เติมผงวุ้น 7 กรัมต่อลิตร นาไปต้มจนวุ้นละลาย จากนั้นยกลงจากเตาแล้วตั้งไว้จนอุณหภูมิของอาหารลดลงถึง 60 องศาเซลเซียส จึงเติมน้ายาฟอกผ้าขาวไฮเตอร์ 0.5มิลลิลิตรต่อลิตร คนให้เข้ากัน เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในอาหาร เทใส่ขวด ปิดฝา จากนั้นนาไปทดสอบการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชชนิดต่างๆ พบว่า อาหารวุ้นจากสารละลายธาตุอาหารสาหรับปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินความเข้มข้น stock A และ B อย่างละ 5 มิลลิกรัมต่อลิตร มีประสิทธิภาพทดแทนอาหารสูตร MS ได้เนื่องจากอาหารสูตรดังกล่าวสามารถชักนาให้ชิ้นส่วนข้อของม่วงเทพรัตน์ ข้อของหญ้าหวาน ข้อของกุหลาบหนู และหัวของว่านสี่ทิศ มีการเจริญเติบโตมากกว่ากว่าอาหารสูตร MS และยังพบว่าอาหารสูตรดังกล่าวสามารถชักนาให้เมล็ดเอื้องกุหลาบกระเป๋าเปิดเกิดการงอกได้มากกว่าอาหารสูตร VW อีกด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้อาหารวุ้นจากสารละลายธาตุอาหารสาหรับปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินความเข้มข้น stock A และ B อย่างละ 5 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับเทคนิคการตัดเนื้อเยื่อพืชโดยไม่ใช้ตู้ตัดเนื้อเยื่อยังให้ผลที่มีประสิทธิภาพดีคือไม่มีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ และไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช และยังพบว่าการเพาะเลี้ยงพืชตัวอย่าง คือ กุหลาบ ในห้องที่ไม่ควบคุมอุณหภูมิยังให้การเจริญเติบโตที่ไม่แตกต่างกับการใช้ห้องควบคุมอุณหภูมิอีกด้วย

Abstract

-

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

2132 24 เม.ย. 2560

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช (อพ.สธ.)

สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สวนจิตรลดา ถ.ราชวิถี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๓

http://www.rspg.or.th/

0-2282-1850

admin@plantgenetics-rspg.org

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่