
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ : กรณีศึกษาบ้านแม่กำปอง ต.ห้วยแก้ว อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่
อาจารย์เกศินี ศรีรัตน์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
614-59-HUSO-CMRU
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนภาษาอังกฤษสำหรับเจ้าของโฮมสเตย์ที่สอดคล้องกับบริบทบ้านแม่กำปอง ต. ห้วยแก้ว อ. แม่ออน จ. เชียงใหม่ และ เพื่อพัฒนาความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของเจ้าของโฮมสเตย์ ในหมู่บ้านแม่กำปอง ด้วยบทเรียน ภาษาอังกฤษสำหรับโฮมสเตย์ กลุ่มเป้าหมายคือเจ้าของโฮมสเตย์ บ้านแม่กำปอง ต. ห้วยแก้ว อ. แม่ออน จ. เชียงใหม่ จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสำรวจความต้องการการพัฒนาการสื่อสารภาษาอังกฤษของเจ้าของโฮมสเตย์ในหมู่บ้านแม่กำปอง แบบทดสอบทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับทดสอบก่อนและหลังการอบรม บทเรียนภาษาอังกฤษสำหรับโฮมสเตย์ในรูปแบบสมาร์ทโฟนแอพพลิเคชั่นในระบบแอนดรอยด์ และแบบสำรวจความพึงพอใจต่อการพัฒนาการสื่อสารภาษาอังกฤษของเจ้าของโฮมสเตย์ในหมู่บ้านแม่กำปอง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-Test ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มเจ้าของโฮมสเตย์มีความต้องการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษโดยต้องการเนื้อหาที่เป็นคำศัพท์และบทสนทนาที่ใช้ในงานโฮมสเตย์ที่มีเสียงพูดต้นแบบ สามารถฟังเสียงต้นแบบเพื่อนำไปฝึกนอกห้องเรียนได้เมื่อต้องการ บทเรียนจึงออกมาในรูปแบบแอพพลิเคชั่นชื่อ English4Homestay หลังจากที่ได้รับการอบรมกลุ่มเป้าหมาย มีคะแนนการทดสอบสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และมีค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจต่อการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในระดับมากที่สุด คำสำคัญ ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษสำหรับโฮมสเตย์ แม่กำปอง
Abstract
The purposes of this study were to develop English for Homestay lessons for Homestay owners at Mae Kampong Village and to promote their English communication skills. The target group were eighteen homestay owners at Mae Kampong Village, Chiang Mai. There were 5 types of research instruments. They were questionnaires for needs analysis, Pre-test and post-test, English for Homestay Lessons, application ‘English4Homestay’ and satisfaction surveys towards such a lesson. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation. The results revealed that vocabulary and conversations regularly used at homestay business along with pronunciation were mostly required, after the implementation of the English for Homestay Lessons, there was a significant increase in result of students’ English communication skills. Keywords: English communication skills English for Homestay Mae Khampong
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา762 04 มิ.ย. 2561

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000
053-88-5555