ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

ระบบผลิตไฟฟ้าและความร้อนแบบผสมผสานจากพลังงานแสงอาทิตย์


อาจารย์ ดร.กฤษฎา บุญชม

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

615-59-SCI-NRCT

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีกรอบแนวคิดที่จะศึกษาประสิทธิภาพของระบบผลิตน้ำร้อนผสมผสานระบบอบแห้ง และศึกษาพฤติกรรมการแห้งของสตรอเบอรี่และมะเขือเทศราชินี จากระบบที่สร้างขึ้นโดยในการศึกษาประสิทธิภาพของระบบจะพิจารณาเป็น 2 ส่วนคือ ในส่วนอบแห้งและในส่วนผลิตน้ำร้อน แต่ระบบจะขับเคลื่อนพร้อมกันทั้งการอบแห้งและการผลิตน้ำอุ่น โดยพิจารณาใน 2 กรณีของการอบแห้ง คือ การเคลื่อนที่ของอากาศแบบธรรมชาติและแบบบังคับ ผลการศึกษาพบว่าประสิทธิภาพของระบบอบแห้ง (Mix mode) 6.31% และระบบผลิตน้ำร้อน เป็น 10.25% สำหรับกรณีไหลเวียนอากาศแบบธรรมชาติ และสำหรับกรณีไหลเวียนอากาศแบบบังคับ ประสิทธิภาพของระบบอบแห้งเป็น 42.81 % และระบบผลิตน้ำร้อน เป็น 11.99% ในการศึกษาพฤติกรรมการแห้งของมะเขือเทศราชินีและสตรอเบอรี่ ในกรณีไหลเวียนอากาศแบบธรรมชาติ มะเขือเทศราชินีมีความชื้นเริ่มต้น 82.37% ตามมาตรฐานเปียก ถูกอบเป็นเวลา 7 วัน จนมีมวลคงที่ 1.07 กรัม มีความชื้นเหลืออยู่ 26.21% มีค่าประสิทธิภาพเชิงความร้อนเฉลี่ย 3.10 x 10-2 % ส่วนสตรอเบอรี่ ความชื้นเริ่มต้น 89.15% ถูกอบเป็นเวลา 8 วัน จนมีมวลคงที่ 1.65 กรัม มีความชื้นเหลืออยู่ 14.51% มีค่าประสิทธิภาพเชิงความร้อนเฉลี่ย 7.38 x 10-2 % และในกรณีไหลเวียนอากาศแบบบังคับ มะเขือเทศราชินี มีความชื้นเริ่มต้น 85.97% ตามมาตรฐานเปียก ถูกอบเป็นเวลา 12 วัน จนมีมวลคงที่ 0.84 กรัม มีความชื้นเหลืออยู่ 21.49% มีค่าประสิทธิภาพเชิงความร้อนเฉลี่ย 1.63 x 10-3 % สตรอเบอรี่ มีความชื้นเริ่มต้น 91.13% ถูกอบเป็นเวลา 8 วัน จนมีมวลคงที่ 2.27 กรัม มีความชื้นเหลืออยู่ 16.23% ค่าประสิทธิภาพเชิงความร้อนเฉลี่ย 11.35 x 10-3 % สอดคล้องกับการไหลเวียนอากาศแบบธรรมชาติ คือค่าประสิทธิภาพเชิงความร้อนในการอบแห้งสตอเบอรี่จะสูงกว่า เนื่องมาจากลักษณะทางกายภาพของวัสดุที่นำมาอบ เช่น ผิวของวัสดุที่ทำให้น้ำในเนื้อวัสดุระเหยได้ดีกว่า แนวโน้มของการระเหยของน้ำในมะเขือเทศราชินี เป็นโพลิโนเมียล อันดับ 3 สอดคล้องกันทั้งการไหลเวียนอากาศแบบธรรมชาติและแบบบังคับ ส่วนสตรอเบอรี่เป็นรูปแบบเดียวกัน โดยเป็น โพลิโนเมียล อันดับ 2

Abstract

-

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

273 29 มี.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่