ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนาต้นแบบรถดับเพลิงแบบขับเคลื่อน ๔ ล้อขนาดเล็กสำหรับหน่วยงานป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย จังหวัดเชียงใหม่กรณีศึกษา ชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่


อาจารย์มนัสพันธ์ รินแสงปิน

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

621-59-SCI-NRCT

บทคัดย่อ

การพัฒนาต้นแบบรถดับเพลิง แบบขับเคลื่อน 4 ล้อขนาดเล็ก สำหรับหน่วยงานป้องกันและ บรรเทาสาธารณะภัย จ.เชียงใหม่ กรณีศึกษา : ชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษา กระบวนการขั้นตอนการดับเพลิงในเขตชุมชนเมืองเชียงใหม่ เพื่อการพัฒนาต้นแบบรถดับเพลิง แบบ ขับเคลื่อน 4 ล้อขนาดเล็ก สำหรับหน่วยงานป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย จ.เชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ของงานวิจัย คือเพื่อศึกษากระบวนการขั้นตอนการดับเพลิงในเขตชุมชนเมืองเชียงใหม่ เพื่อการพัฒนาต้นแบบรถดับเพลิง แบบขับเคลื่อน 4 ล้อขนาดเล็ก สำหรับหน่วยงานป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย จ.เชียงใหม่ กรณีศึกษา: ชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อประเมินประสิทธิภาพของต้นแบบรถดับเพลิง แบบขับเคลื่อน 4 ล้อขนาดเล็ก ในด้านการออกแบบ โดยเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลและสถิติวิเคราะห์ผลการวิจัยประกอบด้วย ประชากรได้แก่ เจ้าหน้าที่นักดับเพลิงในเขตชุมชนเจ็ดยอด เทศบาลตำบลช้างเผือก เทศบาล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ และประชากรในชุมชน และเลือกกลุ่ม ตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 80 คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ จำนวน 3 คน เจ้าหน้าที่นักดับเพลิง จำนวน 7 คน และประชากรในเขตชุมชน จำนวน 70 คน จากการวิเคราะห์ข้อมูลด้านความต้องการของเจ้าหน้าที่นักดับเพลิงของอุปกรณ์ในการติดตั้งของรถดับเพลิงขับเคลื่อน 4 ล้อขนาดเล็ก ประกอบด้วย สายยางดับเพลิง ถังบรรจุน้ำ ตัวปั้มน้ำ ถังดับเพลิง ขวาน สัญญาณไซเรน รวมถึงการพัฒนาและออกแบบรถดับเพลิงขนาดเล็ก ผู้วิจัยได้ทำการพัฒนาและสร้างต้นแบบรถดับเพลิงขนาดเล็ก เพื่อทดสอบการใช้งานในเขตชุมชนเจ็ดยอด เทศบาลตำบล ช้างเผือก เทศบาลอำเภอเมือง จำนวน 3 ชุมชน และทำการสำรวจความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบสอบถาม จากการศึกษาจากแบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง ผลการประเมินพบว่าค่าเฉลี่ย ของรถดับเพลิงขับเคลื่อน 4 ล้อขนาดเล็ก ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ อยู่ในระดับ ดี (x ?=4.08) ส่วนด้านความชัดเจนในสัญญาณเตือนภัย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดี (x ?=4.66 ) และระดับความพึงใจน้อยที่สุดคือ ด้านการบรรจุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการดับเพลิง มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ อยู่ในระดับ ปานกลาง (x ?=3.80 )

Abstract

-

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

332 09 เม.ย. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่