ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่ายเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชท้องถิ่นสำหรับโรงเรียนในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ โชติกเดชาณรงค์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

629-59-SCI-NRCT

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของการใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่ายในโรงเรียนป่าซาง จ. ลาพูน โรงเรียนเวียงเจดีย์ โรงเรียนน้าดิบวิทยาคม และการส่งเสริมการใช้เทคนิคดังกล่าวเพื่ออนุรักษ์ พันธุกรรมพืชในท้องถิ่นในโรงเรียนต่างๆ โดยการใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่ายเพื่อ เพาะเลี้ยงชิ้นส่วนข้อของกุหลาบหนูในห้องเพาะเลี้ยงที่ไม่มีการควบคุมอุณหภูมิของโรงเรียน ต่างๆ และที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เปรียบเทียบกับการเพาะเลี้ยง ในห้องเพาะเลี้ยงมาตรฐานซึ่งมีการควบคุมอุณหภูมิที่ 25 องศาเซลเซียส ที่คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ให้แสงเป็นเวลา 16 ชั่วโมงต่อวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า การเพาะเลี้ยงกุหลาบหนูในโรงเรียนป่าซางมีร้อยละการปนเปื้อนต่าที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่ามีความ สูงของยอด และจานวนใบมากกว่าการเพาะเลี้ยงในห้องเพาะเลี้ยงมาตรฐานอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ จากนั้นจึงได้มีการสนับสนุนให้ครู และนักเรียนในโรงเรียนต่างๆ ได้แก่ โรงเรียนป่าซาง โรงเรียนเวียง เจดีย์ โรงเรียนน้าดิบวิทยาคม โรงเรียนธีรกานท์บ้านโฮ่ง และโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย นาเทคนิคการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่ายไปใช้เพื่อส่งเสริมกิจกรรมอนุรักษ์พันธุกรรมพืชท้องถิ่น และสามารถ จัดทาโครงงานวิทยาศาสตร์ด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชในท้องถิ่นได้ จานวน 12 โครงงาน นอกจากนี้ยังพบว่าโครงงานวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนน้าดิบวิทยาคม และโรงเรียนยุพราช สามารถส่ง เข้าประกวด และได้รับรางวัลในการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง ในงานศิลปหัต กรรมนักเรียนระดับภาคเหนือ ครั้งที่ 66 และ 67 อีกด้วย ดังนั้นเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่าง ง่ายจึงเป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพ ด้วยงบประมาณต่าเพียงโรงเรียนละ 6,469 บาท และมีขั้นตอน การทาที่ง่าย สามารถนาไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมด้านอื่นๆ ได้อย่างหลากหลายในอนาคต

Abstract

-

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

556 13 มี.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่