ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การบูรณาการการจัดการศึกษาเพื่อท้องถิ่นบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง ในการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศในชุมชน : เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา จังหวัดเชียงใหม่


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัฒนา บุญญประภา

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

630-59-SCI-NRCT

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การบูรณาการการจัดการศึกษาเพื่อท้องถิ่นบนฐานเศรษฐกิจพอเพียงในการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศในชุมชน เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ วัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้ได้รูปแบบการการบูรณาการการจัดการศึกษาเพื่อท้องถิ่นบนฐานเศรษฐกิจพอเพียงในการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศในชุมชน ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบในการบูรณาการการจัดการศึกษาเพื่อท้องถิ่นในการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การปรับกระบวนทัศน์ของชาวบ้าน ต่อชุมชน ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาปัญหามลพิษทางอากาศจากชีวมวล ขั้นตอนที่ 3 การให้ประชาชนและนักศึกษาการร่วมกันออกแบบทางเลือกในการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ ได้แก่ การแก้ปัญหามลพิษทางอากาศด้วยเทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อน การเพิ่มความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนเกี่ยวกับปัญหามลพิษทางอากาศ และการนาชีวมวลที่เหลือทิ้งจากการเกษตรมาเปลี่ยนสภาพเป็นพลังงานทดแทน และขั้นตอนที่ 4 ดาเนินการแก้ปัญหาแบบบูรณาการฯ ได้แก่ การบูรณาการการจัดการศึกษาเพื่อท้องถิ่นกับนักศึกษา ในรายวิชาวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม การบูรณาการการจัดการศึกษาเพื่อท้องถิ่นกับนักเรียนในกลุ่มสาระวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี และรายวิชาเกษตรทฤษฎีใหม่ และ การบูรณาการการการจัดการศึกษาเพื่อท้องถิ่นกับชาวบ้านในชุมชน โดยการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การใช้ประโยชน์จากชีวมวลมาใช้ในการเพาะเห็ดประจาชุมชน

Abstract

This research entitle of the integration of educational management for locality to solve air pollution problems from community based on Sufficiency Economy : Muangkaen Pattana municipality Chiangmai province. The main objective was to study the patterns in the integration of educational management for locality management to solve air pollution problems. The result found that The patterns in the integration of educational management for locality to solve air pollution problems consist of 4 steps, the first one was the paradigm adjustment of students and people to the community. The second step was the air pollution problems study based from biomass in a community. The third step was the alternative model in solving the air pollution problems which designed by the people and the students in the community such as a simple way in air pollution solving technology, upgraded the understanding and the knowledgement about an air pollution problem to the entrepreneurship in that community and the alternative energy that produced from agricultural biomass. The fourth step was operating the integrated such as the air pollution problems treatment using a integration of educational management for locality with students in courses of research in environmental science, integration of educational management for locality with students of the school in learning area of occupations and technology, and new theory of agriculture courses and integration of educational management for locality with people in the community by organization learning center to take advantage of biomass transform into the renewable energy for using in mushroom production process of community.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

378 15 พ.ย. 2560

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่