
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การคืนสภาพถ่านเม็ดลำไยที่ผ่านการปรับสภาพพื้นผิวทางเคมี
อาจารย์ ดร.นภารัตน์ จิวาลักษณ์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
636-59-SCI-NRCT
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้ทาการศึกษาการคืนสภาพถ่านเม็ดลาไยที่ผ่านการปรับสภาพพื้นผิวทางเคมีด้วยโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต สาหรับการดูดซับแคลเซียมไอออนในน้ากระด้าง โดยใช้สารละลายโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) สารละลายกรดฟอสฟอริก (H3PO4) และสารละลายโซเดียม ไฮดรอกไซด์ (NaOH) เป็นสารเคมีที่ใช้ในการคืนสภาพ ผลการวิจัยพบว่าถ่านเม็ดลาไยที่ไม่ผ่านและผ่านการปรับสภาพพื้นผิวทางเคมีด้วยสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตมีลักษณะพื้นผิวเป็นรูพรุนกระจายทั่วทั้งพื้นผิว เมื่อนามาวิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพบนพื้นผิวของตัวดูดซับทั้งสองชนิดพบว่าพื้นผิวของตัวของตัวดูดซับทั้งสองชนิดมีการกระจายตัวของธาตุที่แตกต่างกัน โดยบนพื้นผิวของถ่านเม็ดลาไยนั้นมีเพียงธาตุคาร์บอน (C) เท่านั้น แต่บนพื้นผิวของถ่านเม็ดลาไยที่ผ่านการปรับสภาพพื้นผิวทางเคมีพบว่ามีองค์ประกอบของธาตุแมงกานีส (Mn) ธาตุโพแทสเซียม (K) และธาตุออกซิเจน (O) การกระจายตัวบนพื้นผิวเป็นส่วนมาก ตัวดูดซับทั้งสองชนิดนี้มีพื้นที่ผิวจาเพาะไม่แตกต่างกันมากนัก แต่มีผลทาให้รัศมีเฉลี่ยของรูพรุนและปริมาตรรูพรุนทั้งหมดมีค่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ดังนั้นการปรับสภาพพื้นผิวทางเคมีของถ่านเม็ดลาไยด้วยสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตมีผลอย่างมากต่อองค์ประกอบของธาตุบนพื้นผิวของตัวดูดซับ ในกระบวนการดูดซับแบบแบทช์ (Batch adsorption process) ถ่านเม็ดลาไยขนาด 1-2 mm มีประสิทธิภาพในการดูดซับแคลเซียมไอออนในน้ากระด้างได้ดีกว่าถ่านเม็ดลาไยขนาด 2.8-4 mm ส่วนกระบวนการดูดซับแบบคอลัมน์ (Column adsorption process) ถ่านเม็ดลาไยขนาด1-2 mm ที่ผ่านการปรับสภาพพื้นผิวทางเคมี จะมีประสิทธิภาพในการดูดซับแคลเซียมไอออนในน้ากระด้างได้ดีกว่าถ่านเม็ดลาไยที่ไม่ได้ปรับสภาพพื้นผิวทางเคมี จากการตรวจสอบประสิทธิภาพการดูดซับแคลเซียมไอออนในน้ากระด้างหลังกระบวนการคืนสภาพด้วยสารละลาย NaCl สารละลาย H3PO4 และสารละลาย NaOH พบว่าสารละลายทั้งสามชนิดสามารถคืนสภาพถ่านเม็ดลาไยให้สามารถนากลับมาดูดซับแคลเซียมไอออนในน้ากระด้างซ้าได้ โดยที่สารละลาย 2.5% w/v NaCl มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการคืนสภาพ รองลงมาคือสารละลาย 0.25% v/v H3PO4 และ สารละลาย 0.1 M NaOH ตามลาดับ
Abstract
-
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา234 11 เม.ย. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445