
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
ฤทธิ์ทางชีวภาพและความเป็นพิษต่อเซลล์ของสารสกัดสมุนไพรพื้นบ้านของไทยหญ้าฮี๋ยุ่ม
อาจารย์ ดร.พสุ ปราโมกข์ชน
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
641-59-SCI-NRCT
บทคัดย่อ
การศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดหญ้าฮี๋ยุ่มที่สกัดด้วยตัวทำละลาย ได้แก่ นํ้า 70% เอทานอล และ เอทิลอะซิเตท ด้วยวิธีการแช่ แล้ววิเคราะห์ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคจำนวน 11 ชนิด ได้แก่ Bacillus cereus, Enterobacter aerogenes, Enterococcus faecalis, Escherichia coli, Listeria monocytogenes, Listeria innocua, Samonella typhimurium, Staphylococcus aureus, Candida grabata, Candida utilis และ Trichophyton tonsurans และฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งเต้านมของคน (MCF-7) และ เซลล์มะเร็งปอดของคน (NCI-H187) พบว่า สารสกัดหยาบจากหญ้าฮี๋ยุ่มที่สกัดด้วยเอทิลอะซิเตทแบบไม่ผ่านความร้อน มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด เมื่อเทียบกับสารสกัดหญ้าฮี๋ยุ่มที่สกัดด้วยนํ้าร้อน และ 70% เอทานอล โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 0.792 และ 0.400 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร เมื่อทำการทดสอบด้วยวิธี DPPH และ ABTS assay ตามลำดับ และมีปริมาณฟีนอลลิกทั้งหมดมากที่สุด (14.38 มิลลิกรัมแกลลิกต่อกรัมสารสกัด) โดยมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อ Bacillus cereus บนอาหารแข็งที่ระดับความเข้มข้น 100 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร มีค่าเส้นผ่านศูนย์กลางการยับยั้งเท่ากับ 6.5 มิลลิเมตร และมีค่าความเข้มข้นของสารสกัดตํ่าสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญ (Minimum Inhibitory Concentration, MIC) เท่ากับ 6.25 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ในขณะที่สารสกัดหยาบหญ้าฮี๋ยุ่มไม่มี ฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งเต้านมของคน (MCF-7) และเซลล์มะเร็งปอดของคน (NCI-H187) ที่ระดับความเข้มข้นของสารสกัด 100 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร คำศัพท์ : หญ้าฮี๋ยุ่ม สารสกัดหยาบ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ ฤทธิ์ต้านมะเร็ง
Abstract
The study on the bioactivities of crude extract from Centotheca lappacea (L.) Desv. which maceration by solvent extraction including distilled water, 70% ethanol and ethyl acetate. The crude extracts were evaluated to total phenolic compound and their bioactivities were observed such as antioxidant, antimicrobial activities against 11 pathogens (Bacillus cereus, Enterobacter aerogenes, Enterococcus faecalis, Escherichia coli, Listeria monocytogenes, Listeria innocua, Samonella typhimurium, Staphylococcus aureus, Candida grabata, Candida utilis and Trichophyton tonsurans) and anti-cancer effects in human breast cancer cell (MCF-7) and lung cancer cell (NCI-H187). The result found the ethyl acetate (non-heat) extract of Centotheca lappacea (L.) Desv. had the highest antioxidant activity as compared to boiling-water extract and 70% ethanol extract. The IC50 of antioxidant activity was 0.792 and 0.400 mg/ml determined by DPPH and ABTS assays, respectively. Antimicrobial activity of crude extract with ethyl acetate (non-heat) showed inhibition effect to Bacillus cereus on agar plate with diameter of inhibition zone was 6.5 mm at concentration of 100 mg/ml and had a minimum inhibitory concentration, MIC of 6.25 mg/ml. However, the cytotoxicity of crude extract could not show inhibition effect in human breast cancer cell (MCF-7) and lung cancer cell (NCI-H187) at concentration 100 mg/ml. Keywords: Centotheca lappacea (L.) Desv., Crude extract, Antioxidant, Antimicrobial, Anti-cancer
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา347 20 มี.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445