
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การส่งเสริมการเจริญเติบโตข้าวไร่อินทรีย์เชิงอนุรักษ์ด้วยจุลินทรีย์เอนโดไฟต์
อาจารย์ ดร.อัจฉรียา ชมเชย
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
643-59-SCI-NRCT
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ได้ศึกษาผลของเชื้อราเอนโดไฟต์ที่มีคุณสมบัติผลิต indole-3-acetic acid (IAA) ได้ประสิทธิภาพสูง จำนวน 4 สายพันธุ์ (T1 T2 T3 และ T4) ในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของ ข้าวไร่พันธุ์ข้าวเหนียวลืมผัว โดยทดสอบผลของนํ้าเลี้ยงเซลล์เชื้อราเอนโดไฟต์ต่อการงอกและ การเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวเป็นเวลา 7 วัน พบว่า เชื้อราเอนโดไฟต์ไม่มีผลกระตุ้นการงอก ของเมล็ดข้าวเมื่อเทียบกับชุดควบคุมนํ้ากลั่น อย่างไรก็ตามนํ้าเลี้ยงเซลล์ของเชื้อราเอนโดไฟต์ มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวด้านความยาวราก นํ้าหนักสด และนํ้าหนักแห้งของ ต้นกล้า โดยไอโซเลท T3 สามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตได้ดีที่สุด ส่วนการศึกษาผลการ ส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวอายุ 14 วัน ด้วยหัวเชื้อราเอนโดไฟต์ที่เพาะเลี้ยงด้วยสับสเตรทจากรำข้าวปริมาณ 2.5 และ 7.5 กรัม โดยทำการทดลองในกระถางปลูกแล้วติดตาม การเจริญเติบโตเป็นเวลา 5 สัปดาห์ พบว่า ต้นกล้าข้าวมีการเจริญเติบโตที่ดีทางด้านนํ้าหนักแห้งของราก นํ้าหนักแห้งทั้งหมดของข้าว และมีปริมาณคลอโรฟิลล์เอสูงในชุดการทดลองที่ปลูกด้วยเชื้อราเอนโดไฟต์ T2 ปริมาณหัวเชื้อ 7.5 กรัม และยังพบว่า การเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวเหนียวลืมผัวในชุดการทดลองของเชื้อ T3 ปริมาณหัวเชื้อ 7.5 กรัม มีผลทำให้นํ้าหนักแห้งส่วนยอด และปริมาณคลอโรฟิลล์บี และปริมาณคลอโรฟิลล์ทั้งหมดมีค่าสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเทียบกับชุดควบคุมที่ไม่ใส่เชื้อรา ซึ่งแสดงเห็นได้ว่า เชื้อเอนโดไฟต์ดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของ ต้นกล้าข้าวไร่พันธุ์ข้าวเหนียวลืมผัวได้
Abstract
The research was studied on the effect of four endophytic fungi (T1, T2, T3 and T4) which great producing indole-3-acetic acid (IAA) on the plant growth promotion ability of upland rice, luem pua glutinous rice. First, the effect of culture filtrate of endophytic fungi on seed germination and seedling growth were investigated within 7 days. The endophytic fungi were not had promoting effect on seed germination when compared with distilled water as control. However, the culture fluid of enophytic fungi showed the growth effect in seedling root lenght and seedling dry weight. The most active growth effect were obtianed by isolate T3. After that, the growth promoting effect of rice seedling by inoculum of endophtic fungi which cultured on rice bran as substrate was investigated for 5 weeks. The fungal inoculums amount 2.5 and 7.5 g were applied in rice pot experiment. The results showed that the growth of rice seedling were stimulated by fungi isolate T2 with inoculated 7.5 g of fungal inoculum which significant increased (p<0.05) in root dry weight, total rice dry weight and chlorophyll a. Whereas, the data in experiment of fungi isolate T3 with inoculated 7.5 g of fungal inoculum also showed significant increased (p<0.05) in shoot dry weight, chlorophyll b and chlorophyll when compared without inoculated fungi as a control. From this study indicated that the application of endophytic fungi could help plant growth promotion.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา322 11 เม.ย. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445