ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนาโลชั่นทาผิวที่มีน้ำมันงาขี้ม้อนและสารสกัดจากธรรมชาติเป็นองค์ประกอบ


อาจารย์ ดร.ฤดีวรรณ ตั้งประดิษฐ์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

644-59-SCI-NRCT

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือพัฒนาโลชันทาผิวที่มีน้ำมันงาขี้ม้อนและสารสกัดจากธรรมชาติเป็นองค์ประกอบ โดยขั้นตอนแรกได้ทำการเลือกสารสกัดจากพืชตัวอย่างที่สนใจคือ หอมหัวใหญ่ หอมแดง หัวไชเท้า และมะละกอ จากการหาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกโดยใช้ Folin-Ciocalteu’s reagent พบว่าสารสกัดด้วยน้ำของ หอมหัวใหญ่ หอมแดง หัวไชเท้า เปลือก และเนื้อมะละกอ มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมเท่ากับ 6.03, 10.81, 14.60, 10.06 และ 3.55 mg GAE/g สารสกัด ตามลำดับ เมื่อหาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยการกำจัด ABTS•+ ได้ค่า VCEAC เท่ากับ 4.08, 5.39, 8.82, 3.09 และ 2.85 mg/g สารสกัด ตามลำดับ สารสกัดหัวไชเท้ามีประมาณ ฟีนอลิกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด จึงได้เลือกสารสกัดหัวไชเท้ามาเป็นส่วนผสมในโลชันที่จะพัฒนาขึ้น จากการพัฒนาสูตรโลชันที่มีน้ำมันงาขี้ม้อน และสารสกัดหัวไชเท้าทั้งหมด 4 สูตร พบว่าโลชันสูตรที่ 4 มีคุณภาพ มีความคงตัวไม่แยกชั้น และไม่ทำให้เกิดการแพ้ในอาสาสมัคร นอกจากนี้ยังได้สกัดน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกมะกรูดและเปลือกส้มแล้วให้อาสาสมัครทดสอบความพึงพอใจต่อกลิ่นของโลชันที่ผสมน้ำมันหอมระเหยทั้งสองชนิด พบว่าอาสาสมัครชอบกลิ่นมะกรูดมากกว่ากลิ่นส้มที่ระดับนัยสำคัญ 0.19 จากการทดสอบการใช้โลชันสูตรที่มีและไม่มีสารสกัดหัวไชเท้าเป็นเวลา 9 สัปดาห์ และวัดค่าความสว่างของสีผิว (L)โดยเครื่องวัดสี MiniScan EZ 4500L พบว่าอาสาสมัครที่ใช้โลชันทั้งสองสูตรมีสีผิวขาวขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป 9 สัปดาห์ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.005 และสูตรที่มีสารสกัดหัวไชเท้าทำให้ผิวขาวขึ้นมากกว่าโลชันสูตรที่ไม่มีสารสกัด หัวไชเท้าที่ระดับนัยสำคัญ 0.001 ส่วนความพึงพอใจโดยรวมของโลชันทั้งสองสูตรอยู่ในระดับพอใจมากเท่ากันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โลชันทาผิวที่มีส่วนผสมของน้ำมันงาขี้ม้อน สารสกัดหัวไชเท้า และน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพเป็นที่น่าพอใจ และสามารถทำให้ผิวขาวขึ้นได้

Abstract

The purpose of this study was to develop skin lotion from perilla seed’s oil and natural extracts. From this study, water extracts from onion, shallots, white radish, peel and pulp of papaya were determine phenolic content by Folin-Ciocalteu’s reagent and antioxidant activity by ABTS•+ assay. The extracts contained phenolic contents 6.03, 10.81, 14.60, 10.06 and 3.55 mg GAE/g extract, respectively. Their antioxidant activities were presented as vitamin C equivalent antioxidant capacity (VCEAC) 4.08, 5.39, 8.82, 3.09 and 2.85 mg/g extract, respectively. Thus, the white radish extract expressed the highest phenolic content and antioxidant activity, so this extract was choose as one of lotion ingredient. The lotions were developed for 4 formulas, and selected the best one with good physical stability and non skin irritation. Moreover, volatile oil from peel of bergamot and orange were extracted by distillation and used as fragrance in the lotion. From sensory evaluation, the volunteers preferred bergamot more than orange fragrance with statistical significant of 0.19 level. Whitening effect of lotion with or without white radish extract was observed on 30 volunteers for 9 weeks by using L scale (a low number indicates dark and a high number indicates light) measured by MiniScan EZ 4500L. The result showed that both lotions significantly increased skin whitening (p<0.005). Moreover, the lotion with white radish significantly increased mean L scale when compared with base lotion (p<0.001). And form the questionnaires, the volunteer’s overall satisfaction toward both lotion showed the same positively satisfied level (p<0.05).

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

587 11 เม.ย. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่