ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การถ่ายทอดภูมิปัญญาการดูแลสุขภาพด้านเครื่องนุ่งห่มของผู้สูงอายุชนเผ่ากะเหรี่ยงในตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่


อาจารย์ศิริจันทร์ อุปาละ

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

646-59-SCI-NRCT

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจการใช้ภูมิปัญญาการดูแลสุขภาพด้านเครื่องนุ่งห่มของผู้สูงอายุชนเผ่ากะเหรี่ยง 2) การถ่ายทอดภูมิปัญญาการดูแลสุขภาพด้านเครื่องนุ่งห่ม และ 3 )สังเคราะห์องค์ความรู้ภูมิปัญญาการดูแลสุขภาพด้านเครื่องนุ่งห่มสู่แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาฯ เก็บข้อมูลชาวบ้านในหมู่บ้านกะเหรี่ยงแม่ก๊ะเปียง-ห้วยเต่ารู โดยใช้ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม เป็นเครื่องมือวิจัย ผลการศึกษา พบว่า 1. ผลการสำรวจการใช้ภูมิปัญญาการดูแลสุขภาพด้านเครื่องนุ่งห่มของผู้สูงอายุชนเผ่า กะเหรี่ยง พบว่า ชุมชนกะเหรี่ยงในตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหมู่บ้านชาวเขา ชนเผ่ากะเหรี่ยงสะกอ ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่ปัจจุบันประมาณกว่าหกสิบปี ประกอบอาชีพการเกษตรและมีอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของชนเผ่าไว้ทั้งในการขนบธรรมเนียมและการแต่งกาย การผลิตเครื่องนุ่งห่มเพื่อสุขภาพของกะเหรี่ยงเป็นหน้าที่ของผู้หญิง ผลิตเครื่องนุ่งห่มให้แก่สมาชิกทุกคนในครัวเรือนไว้ใช้ มีขั้นตอนการทำ ได้แก่ การเตรียมเส้นด้าย การย้อมสีธรรมชาติ การกะขนาดเส้นด้าย การขึ้นเส้นด้ายยืน การกรอด้ายพุ่ง และการตัดเย็บ การใช้เครื่องนุ่งห่มเพื่อสุขภาพของกะเหรี่ยง พบว่า ชาวบ้านทุกครัวเรือน จะแต่งกายด้วยชุดเครื่องแต่งกายของกะเหรี่ยง ด้วยต้องการให้คนอื่น ๆ รับรู้ว่าพวกเขาเป็นชาวกะเหรี่ยง มีความภาคภูมิใจในเผ่าพันธุ์ของตนผ่านเครื่องแต่งกาย การรักษาเครื่องนุ่งห่มของกะเหรี่ยง ด้วยการนำเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มกลับด้านในออก พับให้เรียบร้อย นำกระบุงที่สานด้วยไม้ไผ่เก็บไว้อย่างมิดชิด 2. การถ่ายทอดภูมิปัญญาการดูแลสุขภาพด้าน พบว่า การถ่ายทอดความรู้ของชาว กะเหรี่ยงบ้านแม่ก๊ะเปียง-ห้วยเต่ารู รูปแบบเป็นการถ่ายทอดความรู้เพื่อตอบสนองปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีพด้านเครื่องนุ่งห่มของครอบครัว โดยมีแม่หรือญาติผู้ใหญ่เป็นผู้ถ่ายทอด ด้วยการทำให้ดูเป็นแบบอย่างพร้อมทั้งอธิบาย แล้วให้ลูกสาวผู้รับการถ่ายทอดทำตาม มีตัวอย่างของจริงให้ดู ขั้นตอนของการถ่ายทอดได้ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมพร้อม ขั้นตอนที่ 2 การถ่ายทอดความรู้ และ ขั้นตอนที่ 3 การประเมินผล 3. การสังเคราะห์องค์ความรู้ภูมิปัญญาการดูแลสุขภาพด้านเครื่องนุ่งห่มของผู้สูงอายุชน เผ่ากะเหรี่ยงสู่แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการดูแลสุขภาพด้านเครื่องนุ่งห่ม กระบวนการผลิตเครื่องนุ่งห่มช่วยให้ผู้ทำงานมีสุขภาพดีทั้งในด้านสุขภาพและสุขภาพจิต ด้านการใช้เครื่องนุ่งห่ม พบว่า การใช้เครื่องนุ่งห่มกะเหรี่ยง ในชีวิตประจำวันของชาวกะเหรี่ยง ทุกครัวเรือน ประกอบด้วย เสื้อ ผ้าถุง ผ้าโพกหัว ปลอกแขน และผ้าห่ม รูปแบบของเสื้อผ้าที่เป็นทรงกระสอบไม่เข้ารูป ทำมาจากผ้าฝ้ายจึงให้ความสบายในการสวมใส่ทำกิจกรรมต่าง ๆ และการแต่งกายด้วยชุดกะเหรี่ยงยังเป็นความภาคภูมิใจของผู้ผลิต และผู้สวมใส่ คุณค่าของเครื่องแต่งกายกะเหรี่ยงสำหรับชาวบ้านแม่ก๊ะเปียง-ห้วยเต่ารู นอกจากการสวมใส่ปกปิดร่างกายแล้ว คือ ความภาคภูมิใจในผลงานที่ได้ทำ และความภาคภูมิใจในกลุ่มชาติพันธุ์ ด้าน การรักษาเครื่องนุ่งห่มของกะเหรี่ยง เก็บรักษาด้วยการนำกลับ ด้านในออก พับให้เรียบร้อย นำกระบุงที่สานด้วยไม้ไผ่สำหรับเก็บผ้าอย่างมิดชิด

Abstract

The purpose of this research is to: 1) explore the use of wisdom on health care on clothes of Karen elders; 2) transfer the wisdom on health care on clothes, and; 3) synthesize knowledge of the wisdom on health care on clothes to the way to conserve the folk wisdom. Data collection was done from villagers in Karen village, Mae Kapiang-Huay Tao Ru, by using interview form, observation form, and form of focus group record as research tools. The study revealed that 1. Results of the exploration on the use of wisdom on health care on clothes of Karen elders revealed that the Karen community in Sa Luang Sub-District, Mae Rim District, Chiang Mai Province. It is a hill tribe village of Sgaw Karen ethnic group, settling down in the present area for more than sixty years, with agricultural career and conservation of cultures and traditions of the tribe in both the customs and dress. Karen's healthy clothing production is a duty of women, producing clothes for all household members. The procedure includes preparation of yarn, natural dye, estimation of yarn size, setting of warp yarns, spinning of weft yarn and dressmaking. The use of Karen's healthy clothes was found that people of every household dressed with Karen costume for they would like other people to be aware that they are Karen. They had a pride in their own race through costumes. Karen’s clothes were maintained by turning inside out the apparel to be folded and put into a bamboo basket to keep completely. 2. The transfer of wisdom on health care was found that the knowledge transfer of Karen people of Ban Mae Kapiang- Huai Tao Ru is a model of transfer of knowledge to meet the basic living needs of the family's clothing, with mother or senior relatives as a transferor by doing as an exemplar with explanation. Then the daughter who would receive the knowledge tried doing with real examples. There are 3 steps of knowledge transfer: Step 1-preparation; Step 2- knowledge transfer, and; Step 3-evaluation. 3. Synthesis of knowledge of wisdom on health care on clothes of Karen elders to the way to conserve wisdom of health care on clothes. The process of producing clothes helped workers had good physical and mental health. The use of clothing was found that the use of Karen clothes in every daily life in every Karen household consisted of shirt, sarong, turban, armlet, and a blanket. With the form of clothes in sack shape which is not fit, made of cotton, it is comfortable to wear for activities. And dressing with Karen costume is also a pride of makers and wearers. Value of Karen costumes for the villagers of Mae Kapiang - Huai Tao Ru, in addition to covering body, is a pride of the work done pride of Karen ethnic group. On maintenance of Karen clothes, it was done by turning inside out the clothes to be folded and put into a bamboo basket to keep completely.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

375 10 เม.ย. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่