ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การศึกษาภาวะสุขภาพและพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ


อาจารย์ณัทธร สุขสีทอง

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

647-59-SCI-NRCT

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศึกษาภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุ ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ของตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 190 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบ แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุมิติด้านสุขภาพกาย (physical health) ได้แก่การทดสอบการเคลื่อนย้ายและการทรงตัว พบว่า ผู้สูงอายุเคลื่อนที่ได้ปกติเพียงร้อยละ 19.4 มิติด้านสุขภาพจิตใจและสมอง (psychological & mental health) ได้แก่การทดสอบภาวะสมองเสื่อมพบว่าผู้สูงอายุเกิดภาวะสมองเสื่อมเบื้องต้น ร้อยละ 48 มิติด้านความสามารถในการทำหน้าที่ (functional ability) ได้แก่ การประเมินความสามารถเชิงปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันมาก ร้อยละ 73.2 มิติด้านสุขภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม (social & environmental health) ได้แก่ การประเมินแรงสนับสนุนจากครอบครัว พบว่า ผู้สูงอายุความพึงพอใจต่อการได้รับแรงสนับสนุนระดับสูง ร้อยละ 93.7 พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุมีทั้งหมด 5 ด้าน พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพภาพรวม พบว่า มีพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง(Mean=2.4, S.D.=0.7) ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ (Mean=2.6, S.D.=0.6) ด้านโภชนาการ(Mean=2.6, S.D.=0.6) และด้านปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น (Mean=2.5, S.D.=0.7) มีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการมีกิจกรรมและการออกกำลังกาย (Mean=2.2, S.D.=0.8) และด้านการจัดการความเครียด (Mean=2.1, S.D.=0.7) มีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง การพัฒนาแผนบูรณาการการปรับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพควรครอบคลุมการดูแลภาวะสุขภาพผู้สูงอายุทั้ง 4 มิติ และการปรับพฤติกรรมสุขภาพ 5 ด้าน

Abstract

This study aims to investigate the health status and Health promotion behaviors of the elderly. The sample consisted of 190 elderly residents in the district of Mae Rim Chiang Mai Province. The research is to test the questionnaire and focus groups. The statistics used for data analysis were percentage, mean and standard deviation. The study found that Health status of the elderly in physical dimensions (physical health) include tests of movement and postural found that older people usually move only 19.4 percent. Dimensional mental health and brain. (Psychological & mental health) were tested for dementia found that elderly caused dementia initial 48 percent. Dimension capable of acting (functional ability), including an assessment of the practical activities of daily living were elderly most of them have the ability to perform daily activities 73.2 percent in health. Social and environmental dimensions (social & environmental health), including an assessment of support from family found that the older satisfied to get support high 93.7 percent. Health promotion behaviors of older people, with all five behavioral health promotion as that behavior is moderate (Mean = 2.4, SD = 0.7) with responsibility for health (Mean = 2.6, SD = 0.6), nutrition (Mean = 2.6, SD = 0.6) and the interaction with others (Mean = 2.5, SD = 0.7) with a behavioral health is in high level. The field of activities and exercise (Mean = 2.2, SD = 0.8) and stress management (Mean = 2.1, SD = 0.7 with a behavioral health is moderate. The development of an integrated plan to upgrade the behavioral health care coverage and health status of the elderly and the 4-dimensional adjustment of 5 healthy habits.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

565 11 เม.ย. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่