ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนาบทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น เรื่อง การเสริมสร้างสุขภาพจิตผู้สูงอายุด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาด้านจิตบำบัด


รองศาสตราจารย์ ดร.สามารถ ใจเตี้ย

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

648-59-SCI-NRCT

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและทดสอบประสิทธิผลของบทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น เรื่อง การเสริมสร้างสุขภาพจิตผู้สูงอายุด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาด้านจิตบำบัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้สูงอายุเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 236 ครัวเรือนและผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน 14 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การวิจัยเอกสาร การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์ และการสัมมนาผู้มีส่วนได้เสีย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์แบบอุปนัย ส่วนแบบประเมินบทเรียนวิเคราะห์หาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ร้อยละ 80 / 80 (E1 / E2) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าคะแนนความรู้ด้วยการทดสอบค่า t แบบอิสระกัน (Independent t - test samples) ผลการศึกษา พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ของผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 85.44) ระดับเจตคติโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 2.56) และใช้จิตบำบัดตามแบบแผนภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาบางครั้ง (ค่าเฉลี่ย 2.18) ส่วนประสิทธิภาพของบทเรียนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ร้อยละ 80 / 80 (80.18 / 82.25) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์บทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น พบว่า ค่าคะแนนทดสอบความรู้เฉลี่ยหลังทดลองใช้บทเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนทดลองใช้บทเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (P – value = 0.03) ทั้งนี้ผู้สูงอายุได้เสนอแนะปัจจัยการดำรงอยู่ของจิตบำบัดตามแบบแผนภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาโดยการสร้างแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ผสมผสานภูมิปัญญาพื้นบ้านลานนาด้านสุขภาพร่วมกับการเรียนรู้เชิงพุทธศาสนา และเสริมสร้างความรู้ให้กับประชาชนทุกกลุ่มวัย

Abstract

The purpose of this study was to develop and efficiency assessment of Folk Science Lesson plans concerned for Lana Local wisdom in the mental health promotion psychotherapy for elderly. 236 household and 14 Interested person in the area of Saluang Subdistrict Administative Organization, Maerim District, Chiangmai Province. Data were collected by using questionnaires, documentary research, group discussion in-depth interview, and stakeholder group operational seminar were executed. Data were analyzed by descriptive statistics, content analysis and analytic induction. The folk Science Lesson plans prepared had efficiency of E1/E2 according to the set criteria of 80 /80 and Independent t-test samples were used for data analysis. The results indicated that the knowledge was on the good level (85.44 %), attitude were on the high level ( = 2.27) and practice were on the modulate level ( = 2.18). The efficiency gain on each lessons were specified at 80.00 / 80.00 percent (80.18/82.25). Comparison of flok science lesson the post – learning achievement score was higher than the pre – learning score (P - value = 0.03). In concluding, elderly and suggested that to created activity for the development of learning sources, mix health local wisdom and Buddhism Learning and empowerment health local wisdom knowledge of people.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

973 20 ก.พ. 2560

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่