
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา
อาจารย์ ดร.วิทญา ตันอารีย์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
649-59-SCI-NRCT
บทคัดย่อ
การศึกษาการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุด้วย ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพฤติกรรมสุขภาพทางจิตวิญญาณ ประเมินสุขภาพทางจิตวิญญาณ พัฒนาและทดสอบรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุตามแบบแผนภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการกำหนดสัดส่วนของประชากรและการกำหนดโควตา รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและการประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์ ผลการศึกษาพบว่า 1. พฤติกรรมสุขภาพทางจิตวิญญาณของกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย การมีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจเมื่อผู้อื่นมีทุกข์ มีความรู้สึกเป็นสุขในการช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อมีปัญหา ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่นเมื่อมีโอกาส มีความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง ให้โอกาสผู้อื่นก่อนตนเองเสมอ และปฏิบัติตามกิจศาสนาได้แก่ สวดมนต์ ตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรม ดูรายการธรรมะ หรืออ่านหนังสือธรรมะ รักษาศีลห้า ทำสมาธิ อยู่ในระดับมาก สำหรับการได้ตอบแทนผู้มีพระคุณหรือ ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือ การบริจาคทรัพย์ วัสดุอุปกรณ์ อาหาร เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นที่เดือดร้อนอยู่ในระดับน้อย 2. รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตวิญญาณของกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย กิจกรรมสวดมนต์ประกาศธรรม กิจกรรมยึดเหยียดเบียดโรคา กิจกรรมฟ้อนรำนำจิต กิจกรรมสร้างบุญหนุนชีวิต 3. การทดสอบรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตวิญญาณของกลุ่มตัวอย่าง โดยวัดระดับสุขภาพทางจิตวิญญาณของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการดำเนินกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตวิญญาณ พบว่า ก่อนดำเนินกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างมีระดับสุขภาวะทางจิตวิญญาณระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 38.57 (S.D.= 2.31) ในทำนองเดียวกันหลังดำเนินกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างมีระดับสุขภาวะทางจิตวิญญาณระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 40.95 (S.D.= 2.82) อย่างไรก็ตามก่อนและหลังการดำเนินกิจกรรม มีระดับสุขภาวะทางจิตวิญญาณแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาสามารถนำไปเสนอเป็นแนวทางให้กับภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการดำเนินการจัดการสุขภาพของผู้สูงอายุ นำไปใช้ในการให้คำปรึกษา ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมิติของจิตวิญญาณ ส่งเสริมพัฒนาการด้านจิตวิญญาณในผู้สูงอายุ รวมถึงยกร่างแผนพัฒนาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในระยะยาวต่อไป
Abstract
The Study on development spiritual health promotion model of elderly with Lanna folk wisdom was conducted to find out the study spiritual health behaviors, assess spiritual health, develop and test the model of spiritual health promotion of the elderly according to Lanna folk wisdom. Samples were selected by defining population proportion and quota. The Data were collected from questionnaire and appreciation influence control. The study revealed that ; 1. The spiritual health behaviors of the samples consisted of sympathize when others have misery, be happy to help others, help on the occasion, have self-esteem, give someone else a chance before yourself and practice religious belief including praying, giving alms to a Buddhist monk, listening to sermon, view or reading the book of Dharma was at high level. For rewarding the patrons or helpers, Donation to help those in distress was at low level. 2. The model of spiritual health promotion of the samples included praying, stretching, dancing and donation. 3. Test of model of spiritual health promotion model of the samples, the level of spiritual health was assessed before and after proceeding activity of spiritual health promotion. It was found that before proceeding activity, before and after proceeding activity of spiritual health promotion mean score of participant’ spiritual health were at moderate level. In the same way, offer proceeding activity, mean scores of participant’ spiritual health were at moderate level. However, after proceeding activity had higher level of spiritual health than that before proceeding activity at the 0.05 level of significance. The results from this study could provide as guidance to the government or related agencies involved in managing the health of the elderly, using as counsel, providing the knowledge the dimension of the soul, promoting spiritual development in the elderly. As well as drafting development plan for the long term care of the elderly.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา487 05 มี.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445