ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างภาวะโภชนาการผู้สูงอายุด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาด้านอาหารพื้นบ้าน


อาจารย์มุจลินท์ แปงศิริ

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

650-59-SCI-NRCT

บทคัดย่อ

การศึกษาการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างภาวะโภชนาการผู้สูงอายุโดยใช้ภูมิปัญญา พื้นบ้านล้านนา องค์การบริหารส่วนตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิง ปฏิบัติการณ์แบบมีส่วนร่วม ใช้กระบวนเก็บข้อมูลแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน ภาวะโภชนาการ และความต้องการด้านโภชนาการของผู้สูงอายุ ศึกษาพฤติกรรมการบริโภค, การ บริโภคอาหารอาหารพื้นบ้านล้านนา ทัศนคติ และข้อเสนอแนะในการบริโภคอาหารพื้นบ้าน ล้านนา สร้างและค้นหารูปแบบการสร้างเสริมภาวะโภชนาการผู้สูงอายุ ในองค์การบริหารส่วน ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 238 คน สามารถนำเสนอผลการศึกษาได้ดังนี้ ภาวะโภชนาการ และการบริโภคอาหาร ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีภาวะโภชนาการมาตรฐาน ร้อยละ 41.20 ประชากร เพศชายส่วนใหญ่อ้วนลงพุงจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคต่างๆที่เป็นผลมา จากโรคอ้วน ปรุงอาหารโดยวิธีการต้ม หลีกเลี่ยงการปรุงและรับประทานอาหารที่ใช้น้ำมันจาก สัตว์ และไม่บริโภคอาหารที่มีรสจัด ผู้สูงอายุส่วนมากมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร และมี พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ดี ทัศนคติ ข้อเสนอแนะ และความต้องการกิจกรรรมในการบริโภคอาหารพื้นบ้านล้านนา เกิดจากภูมิปัญญา ที่เกิดจากการได้รับความรู้ ความเข้าใจธรรมชาติ เก็บสั่งสมเป็นประสบการณ์ และองค์ความรู้ที่เกิดจาการเรียนรู้ในชีวิตจริง ถ่ายทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น เป็นการถ่ายทอดทาง มรดกการเรียนรู้ วัฒนธรรมการปรุงอาหารจากคนรุ่นหนึ่ง มาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ดังนั้นรูปแบบการ สร้างเสริมภาวะโภชนาการผู้สูงอายุ จึงควรจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริม การถ่ายทอดภูมิปัญญาสู่ ครอบครัว ลูกหลาน และชุมชน การใช้กิจกรรมในวันสำคัญ จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และเสริมสร้างภาวะโภชนาการพื้นบ้านของผู้สูงอายุท้องถิ่นได้ดีอีกด้วย

Abstract

This study was the development of nutrition elderly using Lanna local wisdom Tambon Administration Organization Saluang Mae Rim, Chiang Mai. The research mission involved integrated storage procedure objective ,to evaluate the nutritional status and nutritional needs of the elderly ,consumer behaviorand dietary food Lanna. Attitude and recommendations in the dietary Lanna and found ways to enhance the nutritional status of the elderly in Tambon Administration Organization Saluang Mae Rim, Chiang Mai for 238 elderly could present the results of the studied were as follows ; Nutrition and food consumption most seniors with nutritional standards 41.20 percent. Most male eldery obesity was a risk of various diseases resulting from obesity. Cooking by boiling avoid cooking and eating of animal oil and did not consume foods that were spicy. Seniors were more knowledgeable about food consumption had the nutrition behavior were high level too. Attitudes feedback and demand activity in the dietary Lanna , the wisdom from obtaining knowledge were understanding the nature , kept the collective experience and cognitive learning, which occurred in real life. Knowledge transfered from generation to generation , so the model of nutrition elderly using Lanna local wisdom Tambon Administration Organization Saluang Mae Rim, Chiang Mai , they wanted to make a promotional event to convey knowledge to children, families and communities. Used of the Buddishm days allowed the learning continuous and enhancing the nutritional status of older local folk too.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

946 19 ก.ค. 2560

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่