ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การสร้างเสริมสุขภาพทางสังคมในผู้สูงอายุโดยการเรียนรู้แบบพุทธร่วมกับภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา


อาจารย์กานต์ชัญญา แก้วแดง

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

651-59-SCI-NRCT

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างเสริมสุขภาพทางสังคมในผู้สูงอายุโดยการเรียนรู้แบบพุทธร่วมกับภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้สูงอายุเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 236 ครัวเรือนและผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน 14 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ การสนทนากลุ่ม และการสัมมนากลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์แบบอุปนัย และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุมีระดับภาวะสุขภาพทางสังคมด้านกายภาพ จิตใจ และสังคมโดยรวมเฉลี่ยระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 2.71 2.63 และ 2.34 ตามลำดับ) ในส่วนของการสังเคราะห์สภาพการณ์การและแผนปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์เป็นการสะท้อนทางเลือกในการเสริมสร้างสุขภาพทางสังคมของผู้สูงอายุในชุมชนภายใต้กฎเกณฑ์ชุมชน ความเชื่อ และทรัพยากรในท้องถิ่น รวมถึงสะท้อนแนวทางในการเสริมพลังอำนาจด้านกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตามการสนับสนุนด้านการดูแลสุขภาพตนเองจากครอบครัวและการบริการสุขภาพจะส่งผลทางบวกกับการสร้างเสริมสุขภาพสังคมของผู้สูงอายุ

Abstract

The purpose of this research was to study the social health promotion of elderly with Lanna Local wisdom and Buddhism Learning. The number of sample size was 236 household and 14 Interested person in the area of Saluang Subdistrict Administative Organization, Mae Rim District, Chiang Mai Province. Data collected by using questionnaires, documentary research, in-depth interview, focus group discussion and stakeholder group operational seminar were executed. Data were analyzed by descriptive statistics, analytic induction and content analysis. The results indicated that the physical, mental and social health were at the high level ( = 2.71, 2.63 and 2.34, respectively). In the analysis of the SWOT and strategic plan support of local health situation, it not only reflected on the social health promotion of elderly under the rule of communities faith and local resources but also reflected on the health empowerment activity of elderly. However, social factors of elderly’s in family support and health service support were positively correlated with elderly’s social health promotion behavior.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

608 28 มี.ค. 2560

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่