ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างศักยภาพในการใช้ประโยชน์จากชีวมวลโดยนำมาแปรสภาพเป็นพลังงานทดแทนในชุมชน


อาจารย์พรรณิการ์ อุทธวัง

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

660-59-HUSO-NRCT

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยเรื่อง การประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างศักยภาพในการใช้ประโยชน์จากชีวมวลโดยนำมาแปรสภาพเป็นพลังงานทดแทนในชุมชน มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อสร้างรูปแบบการประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการประโยชน์จากชีวมวลโดยนำมาแปรสภาพเป็นพลังงานทดแทนของชุมชนโดยชุมชน โดยอาศัยเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อชุมชน การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ชีวมวลในพื้นที่ชุมชนบ้านช่อแล เมืองแกนพัฒนาส่วนใหญ่ คือ ฟางข้าว และตอซัง มีการใช้ประโยชน์ด้วยการขายฟางข้าวและไถกลบตอซัง ส่วนวัสดุเหลือทิ้งอื่น ๆ ส่วนใหญ่ปล่อยให้มีการย่อยสลายเองตามธรรมชาติ และเผาทิ้งทำลาย โดยรูปแบบของการแปรสภาพเป็นพลังงานทดแทนจากชีวมวลที่เหมาะสมกับชุมชน คือการนำมาใช้ในกระบวนการผลิตเห็ดของชุมชน ซึ่งจากการปรับปรุงเตาต้มก้อนเชื้อเห็ดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ สามารถประหยัดปริมาณฟืนได้โดยเตารูปแบบเดิม และเมื่อทำการวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ ว่ารูปแบบกิจกรรมที่ใช้ในการดำเนินงานจะก่อให้เกิดรายได้ที่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายต่างๆ สรุปได้ว่าค่า B/C Ratio มากว่า 1 แสดงว่ากิจกรรมการทำเตาต้มก้อนเชื้อเห็ดสำหรับเพาะเห็ดโคนน้อยเป็นโครงการที่ดำเนินการแล้วเป็นมีผลประโยชน์ที่ได้รับมากกว่าต้นทุนจึงเป็นโครงการที่จะทำให้เกิดความยั่งยืนได้ในชุมชน โดยอยู่บนฐานเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความมีเหตุผล ตอซัง/ฟางข้าว มีมากในชุมชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเพาะเห็ด นอกเหนือจากการเผาได้ ความพอประมาณ สามารถทำได้เองในครัวเรือนหรือทำในกลุ่มเกษตรกรในชุมชนเองได้ เพราะวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สามารถหาได้ง่ายในชุมชนรวมทั้ง การมีภูมิคุ้มกัน การบริโภคเห็ดโคนน้อยทำให้ครอบครัวมีสุขภาพดี ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้ การมีความรู้ ได้องค์ความรู้มีการเรียนรู้วิธีการใช้ความร้อนจากเตาชีวมวลในกระบวนการเพาะเห็ดและผลผลิตอื่นๆ ที่เกิดจากการใช้เตาชีวมวล และเทคนิคการเพาะเห็ดโคนน้อยให้มีผลผลิตที่ดีทุกฤดู การมีคุณธรรม การนำตอซัง/ฟางข้าว มาเป็นวัสดุเพาะเห็ดทำให้ลดการเผา ลดการเกิดมลพิษทางอากาศ ในชุมชน การใช้น้ำส้มควันไม้ในการเกษตรทำให้ลดการใช้สารเคมีและลดมลพิษในชุมชน

Abstract

-

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

292 29 มี.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่