
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
วิถีชีวิตและการดำรงอยู่วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนพชร นุตสาระ
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
663-59-HUSO-NRCT
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง วิถีชีวิตการดำรงอยู่วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้ระเบียบวิจัยทางด้านมานุษยวิทยา(Anthropology) และมานุษยวิทยาดนตรี (Ethnomusicology) โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1. ศึกษาดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู ตำบลเวียงใต้ และกลุ่มชาติพันธุ์มูเซอ ตำบลแม่นาเติง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2. ศึกษาสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของกลุ่มชาติพันธุ์มูเซอ ตำบลแม่นาเติง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 3. ศึกษาวัฒนธรรมกฎหมายของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู ตำบลเวียงใต้ และกลุ่มชาติพันธุ์มูเซอ ตำบลแม่นาเติง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ข้อมูลที่ได้การสัมภาษณ์ ทั้งนี้จะเสนอผลการวิจัยแบบพรรณวิเคราะห์ ผลการศึกษา พบว่า การศึกษาดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู ตำบลเวียงใต้ ดนตรียังมีการดำรงอยู่ และในชุมชนมีเครื่องดนตรีที่ใช้ในเทศกาล ดังนี้ เครื่องเป่า คือ ปาลิฝู่หลู ฝู่หลูแลแล ฝู่หลูนาอู่ และหยื่อหลุ เครื่องดีด จำนวน 1 เครื่อง คือ ซือบือ เครื่องดนตรีปาลิฝู่หลู ฝู่หลูแลแล ฝู่หลูนาอู่ เป็นเครื่องดนตรีประเภทแคน มีลิ้นอิสระ มีทำจากไม้ไผ่ จำนวน 5 ท่อ น้ำเต้า และขี้ชั้นโรง เครื่องดนตรีทั้ง 3 ชนิดมีขนาดที่แตกต่างกัน คือ ปาลิฝู่หลู มีขนาดเล็ก ฝู่หลูแลแล มีขนาดกลาง และ ฝู่หลูนาอู่มีขนาดใหญ่ เกิดเสียงจากการเป่า และการดูด จะทำให้เกิดเสียงประสานและเสียงโครน วิธีการเป่าและการดูดอยู่ที่ความแตกต่างลีลาและจังหวะของนักดนตรี เครื่องดนตรีทั้ง 3 ประเภทมีข้อแตกต่างที่ความเร็วและการเต้นของนักดนตรี ส่วนหยื่อหลุเป็นเครื่องดนตรีดั้งเดิมของเครื่องเป่าดนตรีมี 2 แบบ คือ แบบเป่าข้าง และเป่าปลาย มีรูไล่ระดับเสียง 6 รู และ ซือบือเป็นเครื่องดนตรีประเภทดีดมีลักษณะคล้ายกับซามิเซ็งเครื่องดนตรีญี่ปุ่น คือไม่มีเฟร็ต และมีขนาดที่เล็กกว่ามาก มีสายจำนวน 3 สาย และบรรเลงโดยใช้ปลายเขาสัตว์สวมที่นิ้วชี้ เพลงที่ใช้ในเทศกาลมีจำนวน 19 เพลง ดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์มูเซอ พบว่า หน่อซื่อแหล่ะเป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า มีลิ้นอิสระ อยู่ในตระกูลแคน หน่อซื่อแหล่ะทำจากน้ำเต้า ไม้ไผ่สำหรับทำท่อ และไม้ไผ่ทำลิ้น และขี้ชั้นโรงอุดรอบ ๆ ท่อเพื่อไม่ให้ลมภายในออกมาด้านนอก หน่อซื่อแหล่ะมีหลายขนาดขึ้นอยู่กับขนาดของน้ำเต้า การเป่าหน่อซื่อ แหล่ะสามารถผลิตเสียงทำนอง เสียงประสานและเสียงโครน ส่วนบทเพลงที่ใช้ในเทศกาลทั้งหมดจำนวน 13 เพลง 2. ศึกษาสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของกลุ่มชาติพันธุ์มูเซอ ตำบลแม่นาเติง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่า กลุ่มชาติพันธุ์มูเซอมีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยใช้ความเชื่อและการนับถือผีเป็นแนวการเชื่อมโยง เพื่อให้สมาชิกภายในชุมชนดูแลจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้มีความยั่งยืน ส่วนด้านการเผาป่า ก่อนเข้าสู่ฤดูฝนซึ่งเป็นฤดูการทำการเกษตร กลุ่มชาติพันธุ์มูเซอต้องมีการเตรียมพื้นดินหลังจากการเก็บเกี่ยวจะมีวัชพืชขึ้นมาและมีใบไม้ที่ทับถมเป็นระยะเวลาหลายเดือน การกำจัดวัชพืชและใบไม้ด้วยการเผาป่าเป็นขั้นตอนที่สะดวก เนื่องจากมีใบไม้ที่หล่นมาทับถมเป็นจำนวนมากและเป็นการป้องกันไฟป่า รวมทั้งเจ้าหน้าที่ป่าไม้ให้ใช้วิธีการเผาแทนการใช้รถเข้าไปเกรดหน้าดินแทนเพราะจะทำให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ได้อย่างรวดเร็ว 3. ศึกษาวัฒนธรรมกฎหมายของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู ตำบลเวียงใต้ และกลุ่มชาติพันธุ์มูเซอ ตำบลแม่นาเติง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ลีซอ ตำบลเวียงใต้และกลุ่มชาติพันธุ์มูเซอ เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ใกล้อำเภอปายมากทำให้ทั้ง 2 กลุ่มชาติพันธุ์รับวัฒนธรรมจากภายนอกทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนแปลงไป ในอดีตกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ใช้วัฒนธรรมกฎหมายด้วยวิธีการนับถือผีเป็นการควบคุมพฤติกรรมของคนในชุมชน แต่ปัจจุบันที่ภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปการนับถือผีแบบดั้งเดิมไม่สามารถควบคุมสมาชิกภายในชุมชนได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎระเบียบของชุมชนขึ้นมา เพื่อควบคุมให้สมาชิกในชุมชนมีระเบียบวินัยและปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฎหมายบ้านเมือง ซึ่งการตั้งกฎหมายท้องถิ่นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำวัฒนธรรมกฎหมายเข้ามาปรับเพื่อให้เกิดความสงบสุขในชุมชน คำสำคัญ : มานุษยวิทยาดนตรี วัฒนธรรม กฎหมาย สิทธิชุมชน
Abstract
The research entitle of “Life Living and Cultural Existence of Ethnic Groups in Pai, Mae Hong Son” was a qualitative research using anthropology and ethnomusicology methodologies. The objectives of this study were 1) to study the Lisu ethnic group’s music in Wiangtai sub-district and the Lahu ethnic group’ s in Mae Na-terng sub-district, 2) to study the community rights towards the natural resource management of the Lahu ethnic group in Mae Na-terng sub-district. 3) To study the cultural legal cultures of Lisu ethnic groups in Wiang Tai sub-district and Lahu ethnic groups in Mae Na-terng sub-district. The information in this research obtained from the interviews. The results were presented with analytical narration research method. The analytical results were as follows. Lisu ethnic‘s music in Wiangtai sub-district still existence. In the community, there has a musical instruments using in many cultural ceremonies. The woodwind instruments, there had a Pali Fulu, a Fulu Laelae, a Fulu Na-ou and a Yaou-lu. About the pluck instruments, there has a Sou-Beu. Pali Fulu, Fulu Laelae. About the Fulu Na-ou musical instruments, they are a kind as a Khan instrument and had a free reeds. It mades from 5 bamboo tubes, gourd and bee wax. It has three sizes; Pali Fulu is a small one, Fulu Laelae is a medium one and Fulu Na-ou is a bigger one. It made the sound by blowing and sucking incur harmonies and drone. The blowing and sucking were different in styles and rhythms of a musicians. The three instruments were different in a speed tempo and a dancing style of a musicians. The Yaou-lu is a traditional musical instruments. There are 2 types: the transverse flute type and the end-blown type and there had 6 holes in each. The Sou-Beu is a type of a plucked string music instrument and similar to the Japan’s Shamisen instrument, in the case of without frets but much smaller than Shamisen. There are 3 strings and playing with plectrum, which made from the end of horny. It had 19 songs had used in the traditional ceremonies. In the case of Muser ethnic group’s music found that the Nor Sue Lae is a kind of a wind musical instrument. The Nor Sue Lae is a woodwind instrument which in a Khan family and free reeds. It is made from the gourd.In the same time, the pipes and the reeds are made from bamboo, using the bee’s wax or the oakum, to cover and seal around the tubes, to prevent wind which inside, to come out. The Nor Sue Lae has many sizes, depending to the size of the gourd. Blowing the Nor Sue Lae could make the melody, the harmony and the drone. There had 13 pieces in using as the culture ceremony songs. 2) The study in the community rights towards the natural resource management of Lahu ethnic group in Mae Na-terng sub-district, Pai District, Mae Hong Son. The findings found that the Muser’s natural resource management was using believes and the animistic of the community. That were two ideas connecting together for the sake of all members in the community to take care and to manage their own the natural resources for sustainability. In the part of the burning materials, before the rainy season which was the agriculture season also. Muser ethnic group could prepared the soil, because of after the harvest finished, it had unwanted weeds and leaves that heaped the several months. For the weeds and leaves disposal with the burning was a most convenient process. In the reason of there was a lot of foliage that falls disposal and could prevent wildfire to occur in the area. Moreover, the forest authority had suggested to have a burning method instead of soil grading for protecting the forest invading. 3) To study the cultural law of of Lisu ethnic groups in Wiang Tai sub-district and Lahu ethnic groups’ in Mae Na-terng sub-district, Pai district, Mae Hong Son province found that both of communities located very closely to Pai district. For this reason, both had received the outside culture to their community, that made the lifestyle of the people had changed. In the past, two communities using the legal culture such as an animist to control their people’s behavior. But in the recent time, the situation had changed, the original animist culture could not control people in the community further. That’s necessity to set the community’s rules for the people in the community to behave in the practice and the community disciplines. The setting of the local law of community was very important in bringing their cultural law to adapt for building the peaceful to their community. Keyword: Ethnomusicology, Culture, Law, the community rights
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา1864 09 ก.พ. 2560

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445