
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
วัฒนธรรมกฎหมายของกลุ่มชาติพันธุ์กับการเปลี่ยนแปลงของสังคม : กรณีศึกษากลุ่มลีซอ ตำบลเวียงใต้ และกลุ่มมูเซอ ตำบลแม่นาเติง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
อาจารย์นิล พันธุ์คงชื่น
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
666-59-HUSO-NRCT
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องวัฒนธรรมกฎหมายของกลุ่มชาติพันธุ์กับการเปลี่ยนแปลงของสังคม : กรณีศึกษากลุ่มลีซอ ตำบลเวียงใต้ และกลุ่มมูเซอ ตำบลแม่นาเติง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาวัฒนธรรมกฎหมาย และการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมกฎหมายและสังคมของชาวลีซอ ตำบลเวียงใต้และชาวมูเซอ ตำบลแม่นาเติง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2.ศึกษาองค์ความรู้ทางด้านกฎหมายท้องถิ่น 3.ศึกษาแนวทางการนำวัฒนธรรมกฎหมายมาประยุกต์ใช้กับกฎหมายท้องถิ่น โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลภาคสนาม จากการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนพร้อมกับประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ลีซอ ตำบลเวียงใต้และกลุ่มชาติพันธุ์มูเซอ ตำบลแม่นาเติง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา จากการศึกษาพบว่า วัตถุประสงค์ที่ 1.ศึกษาวัฒนธรรมกฎหมาย และการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมกฎหมายและสังคม 1.1 วัฒนธรรมกฎหมายของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซอ ตำบลเวียงใต้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดย พิธีกูฉึ เป็นการบวงสรวงเจ้าป่าเจ้าเขาให้ช่วยปกปักษ์รักษาคุ้มครองหมู่บ้านให้ปลอดภัย ปัจจุบันไม่มีพิธีกูฉึแล้ว ซึ่งทำให้สมาชิกในชุมชนมีจิตสำนึกความเป็นเจ้าทรัพยากรของหมู่บ้านน้อยลง วัฒนธรรมกฎหมายที่ผู้นำเผ่าจะเป็นผู้ตัดสินตามจารีตประเพณีดั้งเดิมของชนเผ่า ก็เปลี่ยนเป็นใช้ระบบกรรมการหมู่บ้านเข้ามาตัดสิน 1.2 วัฒนธรรมกฎหมายของกลุ่มชาติพันธุ์มูเซอ ในตำบลแม่นาเติง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีความเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะ ความเชื่อเรื่องผีต้นน้ำ แต่เดิมมีว่าบริเวณป่าต้นน้ำมีภูตผีสถิตอยู่หากเข้าไปลบหลู่ได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วย ในปัจจุบันแทบไม่มีผู้ใดยึดถือกันโดยมองว่าเป็นเรื่องงมงาย สิ่งที่ยังคงอยู่ในปัจจุบันคือ ชาวมูเซอยังคงมีผู้นำเผ่าที่มาจากการยอมรับนับถือของผู้คนในชุมชน และมีการประชุมหมู่บ้านโดยอาศัยจารีตประเพณีดั้งเดิมไม่ได้เป็นการประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านที่เป็นทางการ 2. องค์ความรู้ทางด้านกฎหมายท้องถิ่น กฎหมายท้องถิ่นของทั้งสองตำบลมีลักษณะเดียวกันคือ เป็นนโยบายจากส่วนกลางและมีเนื้อหาสาระคล้ายคลึงกัน ไม่มีข้อบัญญัติท้องถิ่นที่มาจากความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง 3. แนวทางการนำวัฒนธรรมกฎหมายมาประยุกต์ใช้กับกฎหมายท้องถิ่น เนื่องจากกฎหมายท้องถิ่นที่มีสถานะเป็นกฎหมายในหน่วยที่เล็กที่สุดในปัจจุบัน คือ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลที่ถือเป็นกฎทางปกครองแต่ก็มีสภาพบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย ยังเป็นเรื่องของคนทั้งตำบลไม่ใช่เพียงหมู่บ้านใดหมู่บ้านหนึ่ง หรือกลุ่มชาติพันธุ์ใดชาติพันธุ์หนึ่งเท่านั้น จึงจะสามารถนำมาบัญญัติเป็นข้อบัญญัติตำบลได้ จึงเป็นการยากที่จะนำเอาวัฒนธรรมกฎหมายมาประยุกต์ให้เป็นข้อบัญญัติท้องถิ่นในปัจจุบัน งานวิจัยฉบับนี้จึงเห็นควรให้กฎหมายยอมรับให้หมู่บ้านซึ่งเป็นหน่วยการปกครองที่เล็กที่สุดสามารถออกข้อบัญญัติหมู่บ้านที่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายได้อย่างจริงจัง ทำให้แต่ละหมู่บ้านสามารถธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมดั้งเดิมของตน พร้อมกับการดูแลและพัฒนา หมู่บ้านและทรัพยากรธรรมชาติของตนเองได้
Abstract
The objectives of research “The legal cultures of ethnic groups and changes in the society : Case study of Lisu ethnic in Wiang Tai and Lahu in Mae Na Toeng ,Pai District ,Mae Hong Son Province ,Thailand” were 1) to study legal culture of ethnic groups And the change of legal culture society of Lisu ethnic in Wiang Tai and Lahu in Mae Na Toeng ,Pai District ,Mae Hong Son Province ,Thailand 2) to study municipal law and 3) to study guiding the application of legal culture to become municipal law. This research use qualitative research methodology. By field data collection. Based on interviews with community leaders along with ethnic groups of Lisu ethnic in Wiang Tai and Lahu in Mae Na Toeng ,Pai District ,Mae Hong Son Province ,Thailand. And descriptive data analysis. According to studies, it has been found that objective 1. to study legal culture of ethnic groups And the change of legal culture society 1.1 Legal culture of Lisu ethnic in Wiang Tai ,Pai District ,Mae Hong Son Province ,Thailand change from the original. Gushu is a sacrifice ceremony to the forest, to protect the village. There is no ceremony now. This makes community members less aware of the resourcefulness of the village. Another legal culture that tribal leaders will judge according to customary law. It change to used to judge the village council. 1.2 Legal culture of Lahu in Mae Na Toeng ,Pai District ,Mae Hong Son Province ,Thailand change from the original. The beliefs of Water Ghost originally that the upstream forests were ghosts, if they were harmed. At present, almost no one hold on to that is a matter of ignorance. Some of legal culture of Lahu still in the present day is they still have tribal leaders from the respect of the people in the community. And they have a ethnic meeting by customary law. It is not a formal village committee meeting. 2. Study municipal law. The municipal law of Wiang Tai ,Pai District ,Mae Hong Son Province and Mae Na Toeng ,Pai District ,Mae Hong Son Province have the same feature. It come from central policies and similar content. They do not have the municipal law that come from the needs of the community. 3. Study guiding the application of legal culture to become municipal law. The smallest law today is municipal law. It is the rule of administrative but have legal conditions. But it's not just one village or any ethnic group. It can be codified as a district. It is difficult to bring the legal culture into municipal law in the present day. This research should be approved by law to allow the village, which is the smallest unit, to legally enforce the village law. Each village can preserve its original culture. With the care and development their villages and their natural resources.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา410 28 พ.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445