
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการงานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ สู่โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
อาจารย์เอกพงศ์ สุริยงค์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
674-59-HUSO-NRCT
บทคัดย่อ
(1) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ความต้องการของผู้ประกอบการ งานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาด้านการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ (2) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และมีเอกลักษณ์เฉพาะ (3) เพื่อพัฒนา ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา สู่การคัดสรรสุดยอด หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OPC) สร้างโอกาสและขยายผล ในด้านการตลาดและช่องทางการจำหน่าย ผลการศึกษาพอสรุปได้ว่า ปัจจัยที่ส่งผลได้แก่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งด้านรูปแบบ วัตถุดิบ กรรมวิธีการ ผลิต ปัญหาเรื่องการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไม่ได้ ยอดจำหน่ายลดลงไม่สามารถทำรายได้มาจุนเจือครอบครัวได้ ปัจจุบันวัตถุดิบจะหายาก ดินที่นำมาปั้นจะซื้อมาจากจังหวัดลำพูน และตำบลหนองควาย อำเภอหางดง ทำให้ กระทบถึงต้นทุนของการนำเข้าวัตถุดิบจากชุมชนอื่น ๆ การขนส่งสินค้ามีน้ำหนักมาก ไม่สมดุลกับราคาสินค้าจาก ปัญหาด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว การทำงานร่วมกับชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และมีเอกลักษณ์เฉพาะและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาสู่การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OPC) สร้างโอกาสและขยายผลในด้านการตลาดและช่องทางการจำหน่าย โดยใช้การทำงานแบบองค์รวมทำงานร่วมกับ ชุมชนในครั้งนี้ปัจจุบันวัตถุดิบจะหายาก ดินที่นำมาปั้นจะซื้อมาจากจังหวัดลำพูน และ ตำบลหนองควาย อำเภอ หางดง ทำให้กระทบถึงต้นทุนของการนำเข้าวัตถุดิบจากชุมชนอื่นๆปัจจุบันวัตถุดิบจะหายาก ดินที่นำมาปั้นจะซื้อ มาจากจังหวัดลำพูน และ ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง ทำให้กระทบถึงต้นทุนของการนำเข้าวัตถุดิบจากชุมชน อื่นๆ จากการศึกษาพฤติธรรมด้านการจำหน่ายและผู้บริโภค พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 105 คน เพศชายจำนวน 95 คน พบว่าผู้ตอบแบบการสัมภาษณ์ให้การตอบรับที่ดี ส่วนผลในด้านปัจจัย ทางการผลิตพบว่าผลิตภัณฑ์ควรพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา สู่การคัดสรรสุดยอด หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (Total OTOP Product Champion : OPC) สร้างโอกาสและขยายผลในด้านการตลาดและช่องทางการจำหน่ายต่อไป
Abstract
The research has the purpose (1) to study barriers to be the entrepreneurship of pottery and craft product development (2) to develop products to meet the quality standards and unique (3) to develop pottery products and select One Tambon One product (OPC) to create the opportunities and expand the results in marketing and sales channels. The research found that the factors that affected to product development in terms of raw materials, processes Problems with the sale of the product. The sales down and cannot earn the income to the current income. There were also raw materials were rare. The soil was molded from Lamphun and the impact on the cost of importing raw materials from other communities was very high costs. It was unbalanced product prices due to the slowdown economic. Working with the community to develop quality products and manufacture pottery products in one of The One Tambon One product (OPC) to create opportunities and expand on the marketing and distribution channels by using this holistic approach to work with the community. The raw materials were now scarce from the neighboring provinces of Lamphun and Nong Khwai district, Hang Dong. The land purchased from Lamphun and Nong Khwai district, Hang Dong was affected the cost of importing the raw materials from other communities. According to the research of sales and consumer behavior, they were 105 of female and 95 of male. The results found that the interview respondents gave the good responses as a result of the production factors; the product should develop pottery products. The OTOP Product Champion (OPC) would create opportunities and expand the marketing and distribution channels.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา358 30 พ.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445