ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

พัฒนากระบวนการผลิตงานประติมากรรมดินเผาหมู่บ้านป่าตาล อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่


อาจารย์สมศักดิ์ พรมจักร

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

675-59-HUSO-NRCT

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) พัฒนากระบวนการผลิตโดยเทคนิค การขึ้นรูปจากแม่พิมพ์ของงานประติมากรรมดินเผา สาหรับผู้ประกอบการหัตถกรรมบ้านป่าตาล อาเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อสร้างแนวทางการผลิตเพื่อลดระยะเวลาการผลิต ลดต้นทุน วัตถุดิบ และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยมีประชากร และกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการงานประติมากรรมจานวน 3 ราย เครื่องมือในการดาเนินการวิจัย คือ การสัมภาษณ์ กลุ่ม และแบบวัดผลความพึงพอใจต่อการพัฒนากระบวนการผลิตประติมากรรมดินเผา โดยเทคนิค แม่พิมพ์ นอกจากนี้ยังได้แนวทางการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการผลิตในอนาคต ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการผลิตประติมากรรมดินเผาของผู้ประกอบการหมู่บ้านป่าตาล มีลักษณะเป็นประติมากรรมลอยตัว ที่ต้องใช้ทักษะการปั้นด้วยมือทุกขั้นตอน ซึ่งมีกระบวนการ ค่อนข้างยุ่งยาก ทาให้ผู้ประกอบการเสียเวลาในระบบผลิต และส่งผลต่อการรองรับการสั่งซื้อผลงาน ในจานวนมาก ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้พัฒนารูปแบบแม่พิมพ์ สาหรับใช้ในการผลิตประติมากรรมดินเผา 2 ลักษณะได้แก่ 1) แม่พิมพ์ที่ผลิตจากปูนปลาสเตอร์ (Plaster Mold) 2) แม่พิมพ์ที่ผลิตจาก ยางซิลิโคน (Silicone Mold) จากการเปรียบเทียบการผลิต โดยใช้แม่พิมพ์ทั้ง 2 แบบ พบว่า แม่พิมพ์ยางซิลิโคน มีประสิทธิภาพในการผลิตมากกว่าแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ ซึ่งแม่พิมพ์ยางซิลิโคน สามารถผลิตชิ้นงาน ที่มีความสมบูรณ์ และเก็บรายละเอียดของผลงานได้ดี มีขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งาน ส่งผลให้ สามารถผลิตชิ้นงานได้รวดเร็วเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 55 – 60 ชิ้นงานต่อวัน และใช้ดินในการผลิตน้อยลง สามารถรองรับการสั่งซื้อผลงานจานวนมากได้ ก่อให้เกิดรายได้ต่อผู้ประกอบการในท้องถิ่น เพิ่มมากขึ้น

Abstract

The purposes of this research were to develop production process using Terracotta sculpture mold forming technique for Patan Village handicraft entrepreneurs in Chiang Mai and to create the production process that be able to reduce time and cost, as well as to serve the customers’ needs. The sample was 3 handicraft entrepreneurs. The research instruments were a group interview and a five - scale questionnaire used for exploring the sample’s opinion toward production process using Terracotta sculpture mold forming technique.In addition,the development of products that will benefit future production. The results were found that Terracotta Sculpture Production Process of Patan Village entrepreneurs was round relief. Every process of sculpture in the round was complicated and created by hand molding method only. The entrepreneurs had to spend a lot of production time which affected on large orders. Therefore, the researcher developed 2 kinds of molds used for Terracotta sculpture production: plaster mold and silicone mold. Comparing these 2 kinds of molds used for Terracotta sculpture production, it was found that silicone mold was more productive than plaster mold. Silicone mold produced more perfect and delicate work. Moreover, silicone mold had the proper size and used less soil, so the local entrepreneurs could produce more products (at least 55 - 60 products a day) and earned more income.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

411 30 พ.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่