ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง งานประติมากรรมและเครื่องปั้นดินเผา ของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่


อาจารย์สิริพร คืนมาเมือง

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

677-59-HUSO-NRCT

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ความรู้ในงานประติมากรรมและ เครื่องปั้นดินเผาของบ้านป่าตาล อาเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ และการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่อง งานประติมากรรมและเครื่องปั้นดินเผาของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านป่าตาล เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบวัดความความพึงพอใจต่อการใช้หลักสูตรและพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น จานวน 3 คน และครูผู้สอน จานวน 2 คน จากโรงเรียนบ้านป่าตาล โดยนาข้อมูลที่ได้วิเคราะห์เชิงเนื้อหา และนามาพัฒนาสร้างหลักสูตรท้องถิ่น ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ความรู้งานประติมากรรมและเครื่องปั้นดินเผาบ้านป่าตาล ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ คือ ดินเหนียว ขึ้นรูปด้วยการปั้นโดยใช้รูปทรงครึ่งวงกลมเป็นพื้นฐานหลัก ต่อแขนขา ลา ตัว และหัว พักให้ดินแห้งตามธรรมชาติ จากนั้นจึงทาการเผาชิ้นงานให้ดินสุกด้วย ความร้อนจากเตาฟืน โดยนิยมปั้นเด็กที่มีความน่ารัก ยิ้ม และหัวเราะอย่างมีความสุข ส่วนสัตว์นิยมปั้นเป็นรูป ช้าง และหมู โดยขึ้นรูปจากรูปทรงครึ่งวงกลม ต่อขาทั้งสี่ข้าง และปั้นทรงกลมเล็กต่อเป็นส่วนหัว เพื่อปั้นเป็นหน้าตาของสัตว์ เจาะปากกว้าง ให้มีลักษณะยิ้มมีความสุขเช่นกัน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของประติมากรรมดินเผาบ้านป่าตาล 2) การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่อง งานประติมากรรม และเครื่องปั้นดินเผา ประกอบด้วย แนวคิด จุดมุ่งหมายวัตถุประสงค์ของหลักสูตร โดยสร้างเนื้อหาหลักสูตร เวลาการจัดการเรียนรู้ และแนวการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล หน่วยการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดที่เหมาะสมกับผู้เรียน 3) การวัดความพึงพอใจของครูภูมิปัญญา ครู และนักเรียนโรงเรียนบ้านป่าตาล นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ต่อการใช้หลักสูตร อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด

Abstract

The objectives of this research were to study knowledge of Patan Village sculpture and pottery, Hangdong district, Chiangmai province and to develop local curriculum on sculpture and pottery of the Learning Center Sufficiency of Patan Village. The research instruments was interviewing form and a five-scale questionnaire used for exploring the target group’s opinion toward local curriculum and local curriculum development on sculpture and pottery. The target group consisted of 3 local wisdom scholars and 2 Patan Village school teachers. The content from the interviews were analyzed and then the results were employed in local curriculum development. The findings were as follow: 1) The knowledge of Patan Village sculpture and Pottery was found that clay was the natural material and basic forming pattern was in the semicircle shape consisted of arms, legs, body, and head. After letting the clay dry naturally, burn the clay by the heat from firewood kiln. This pottery was famous for clay dolls with pretty smiles and happy laughing faces. Besides clay dolls, the clay animal such as elephant and pig was shaped in semicircle pattern consisted of 4 legs and 1 small round clay as a head with happy animal face which was the uniqueness of Patan Village clay sculpture. 2) Local curriculum on sculpture and pottery developing was covered concepts, goals, objectives of the curriculum, curriculum content, learning period, instruction approach, assessment and evaluation, learning credits, learning areas, learning outcome, learning standard, and indicators that were suitable for learners.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

382 25 พ.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่