ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ชุมชนเพื่อการดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่บ้านบนฐานการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน


อาจารย์อทิตยา ใจเตี้ย

คณะครุศาสตร์

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

679-59-EDU-NRCT

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ชุมชนเพื่อการดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่บ้านบนฐานการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการณ์แบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน 2 คน และผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 41 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการวิจัยเอกสาร แบบสอบถาม และการสัมมนาผู้มีส่วนได้เสีย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าคะแนนความรู้ก่อน- หลังด้วยการทดสอบ pair t – test ผลการศึกษาพบว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษมีปัญหาด้านการเรียนรู้ ศักยภาพการปฏิบัติงานตามบทบาทการช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการศึกษา ด้านการเข้าถึงสวัสดิการและด้านการฟื้นฟูโดยรวมเฉลี่ยมีศักยภาพอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 1.70 2.01 และ 1.95 ตามลำดับ ส่วนค่าคะแนนทดสอบความรู้เฉลี่ยหลังการฝึกอบรมมีค่าสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (P-value = 0.004) และผู้มีส่วนได้เสียได้พัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายโดยมุ่งเน้นการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และการปรับทัศนคติของประชาชนต่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

Abstract

The purpose of this study was to development community learning process to children with special needs care base on household and community participation. The number of sample size was 41 stakeholder and 2 special needs in the area of Saluang Subdistrict Administative Organization, Maerim District, Chiangmai Province. Data were collected by using documentary research, questionnaires and stakeholder group operational seminar were executed. Descriptive statistics, analytic induction and paired t-test used for data analysis. The results indicated that the special needs with learning disabilities. The education, social welfare and rehabilitation for stakeholder competency were on the modulate level ( =1.70 2.01 and 1.95, respectively). The post-learning achievement score was higher than the pre-learning score (p = .004). In concluding, the policy recommendations development of learning sources and attitude cognitive of people to special needs.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

451 17 พ.ค. 2560

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่