
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนาศักยภาพการค้าชายแดนไทย-เมียนมาร์ ในบริบททางเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่น ณ จุดผ่อนปรนเพื่อการค้าชายแดน จังหวัดเชียงใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภฤกษ์ ธาราพิทักษ์วงศ์
คณะวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
684-59-MGT-NRCT
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบการค้าชายแดนไทย-เมียนมาร์ที่เหมาะสมกับบริบททางเศรษฐกิจชุมชนพื้นที่จุดการค้าชายแดนจังหวัดเชียงใหม่ โดยชุมชนมีส่วนร่วม บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ 2 จุดผ่อนปรน ได้แก่ จุดผ่อนปรนกิ่วผาวอก ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว และจุดผ่อนปรนบ้านหลักแต่ง ตำบลเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ การทบทวนเอกสาร แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง และแบบสังเกตการณ์ หลังจากนั้นผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์แบบสรุปอุปนัย และนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส อุปสรรค ด้วยตารางโทว์ (SWOT – TOWs Matrix) เพื่อประเมินหาศักยภาพการแข่งขันในพื้นที่จุดผ่อนปรนเพื่อการค้า ผลการศึกษาพบว่า ในบริเวณพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่มีช่องทางการค้าชายแดนติดต่อกับประเทศเมียนมาร์ ประกอบด้วย 5 อำเภอชายแดน ได้แก่ อำเภอเวียงแหง อำเภอเชียงดาว อำเภอไชยปราการ อำเภอฝาง และอำเภอแม่อาย เป็นระยะทาง 227 กิโลเมตร ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับเมืองสำคัญของประเทศเมียนมาร์ ได้แก่ เมืองต่วน เมืองสาด เมืองหาง เมืองยอน เมืองตองยี เป็นต้นโดยมีจุดผ่อนปรนการค้าที่สำคัญ 3 จุด คือ จุดผ่อนปรนด่านกิ่วผาวอกในพื้นที่อำเภอเชียงดาว จุดผ่อนปรนด่านหลักแต่งในพื้นที่อำเภอเวียงแหง และจุดผ่อนปรนสันต้นดู่ในอำเภอแม่ ซึ่งแต่ละจุดผ่อนปรนการค้าสามารถกระจายสินค้าสู่ตอนกลางและตอนในของประเทศเมียนมาร์ หรือพัฒนาเป็นการค้าผ่านแดนสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศอินเดีย และประเทศบังคลาเทศ ทั้งนี้จุดผ่อนปรนคือด่านกิ่วผาวอกถือเป็นจุดผ่อนปรนที่มีศักยภาพสูงและมีแนวโน้มที่สามารถผลักดันให้เป็นด่านการค้าชายแดนถาวรได้ ด้านการแข่งขันทางการค้าจุดผ่อนปรนเพื่อการค้าพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า มูลค่าการค้าชายแดนระหว่างไทยและเมียนมาร์ตั้งแต่ปี 2556 ถึง 2560 ทั้งมูลค่ารวมการค้าชายแดน มูลค่าการส่งออกชายแดน มูลค่าการนำเข้าชายแดน และดุลการค้าชายแดน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมาก แสดงให้เห็นถึงโอกาสการค้าและการลงทุนระหว่างทั้งสองประเทศ อย่างไรก็ตาม การจะพัฒนาการค้าชายแดน ณ ด่านจุดผ่อนปรนในจังหวัดเชียงใหม่ โดยเฉพาะการยกระดับด่านจุดผ่อนปรนเพื่อการค้าให้เป็นด่านถาวร ต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในการสร้างกลยุทธ์เพื่อผลักดันให้เกิดการเติบโตและพัฒนา โดยกลยุทธ์ที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย กลยุทธ์เร่งด่วนมากที่สามารถดำเนินการให้สำเร็จภายใน 1-2 ปี กลยุทธ์เร่งด่วนปานกลางที่สามารถดำเนินการให้สำเร็จภายใน 5 ปี และกลยุทธ์เร่งด่วนน้อยที่สามารถดำเนินการให้สำเร็จภายใน 10 ปี ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันทางการค้าระหว่างไทยและเมียนมาร์ในอนาคต และก่อให้เกิดการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนตามแนวพรมแดน ด้านโลจิสติกส์ พบว่า จุดผ่อนปรนกิ่วผาวอก มีจุดแข็งทางด้านเส้นทางการเชื่อมต่อที่ห่างจากอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่เพียง 120 กิโลเมตร และมีสภาพถนนส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี แต่ก็ยังมีจุดอ่อนบางประการ คือ สภาพถนนช่วง 4 กิโลเมตรก่อนถึงจุดผ่อนปรนกิ่วผาวอกมีลักษณะเป็นหลุมเป็นบ่อ และไม่มีจุดพักสินค้าเลยจากอำเภอเมืองเชียงใหม่จนถึงจุดผ่อนปรนกิ่วผาวอก อย่างไรก็ตาม จุดผ่อนปรนกิ่ววาผอกนี้มีโอกาสในการเป็นศูนย์กลาง (HUB) ของการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากมีระยะทางห่างจากเมืองสำคัญต่างๆในประเทศเมียนมาร์ที่น้อยกว่าด่านศุลกากรแม่สาย แต่ก็ยังมีอุปสรรคที่สำคัญคือ การไม่ได้รับความร่วมมือจากทางการประเทศเมียนมาร์ในการเปิดจุดผ่อนปรน และจากการวิเคราะห์ด้วย SWOT TOWs Matrix สามารถพบกลยุทธ์ในการพัฒนาโลจิสติกส์ได้ดังนี้ 1) ควรมีการสำรวจความต้องการของประชาชนชาวเมียนมาร์ในเมืองต่างๆ เพื่อเตรียมสินค้าหากมีการเปิดด่าน 2) องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นควรจัดทำงบประมาณในการซ่อมแซมถนนท้องถิ่นในส่วนที่สึกหรอ เพื่อให้ง่ายต่อการขนส่งสินค้าหากมีการค้าชายแดนเกิดขึ้น 3) ควรมีการวิเคราะห์ความจำเป็นของการมีหรือไม่มีจุดพักสินค้า 4) รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรเจรจาต่อรองกับประเทศเมียนมาร์ให้มีการเปิดจุดผ่อนปรนเพื่อการค้าชายแดน และ 5) ประชาชนชาวไทย ณ จุดผ่อนปรนกิ่วผาวอกควรหันมาทำการค้าขายกับคนในประเทศก่อนเพื่อให้มีการขายสินค้าและบริการมากพอก่อนการมีจุดผ่อนปรน จุดผ่อนปรนบ้านหลักแต่ง มีจุดแข็งทางด้านเส้นทางการเชื่อมต่อซึ่งมีระทางห่างจากเมืองปั่น เมืองตองยี เมืองเนปิดอร์ และเมืองมัณฑะเลย์น้อยกว่าจุดผ่อนปรนกิ่วผาวอกและด่านศุลกากรแม่สาย และยังมีกระบวนการอำนวยความสะดวกทางด้านการค้าชายแดนที่มีความยืดหยุ่น ทำให้ปัจจุบันยังมีการค้าขายระหว่างประเทศอยู่บ้าง แต่ยังมีจุดอ่อนในด้านคุณภาพถนนจากจุดผ่อนปรนบ้านหลักแต่งไปยังเมืองต่างๆในประเทศเมียนมาร์ในระยะแรกซึ่งเป็นถนนลูกรังของท้องถิ่นลัดเลาะไปตามแนวเขา ซึ่งไม่สามารถค้นหาเส้นทางจากแผนที่กูเกิ้ลได้ และไม่มีจุดพักสินค้าระหว่างอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ไปจนถึงจุดผ่อนปรนบ้านหลักแต่ง อย่างไรก็ตาม จุดผ่อนปรนบ้านหลักแต่งนี้ยังมีโอกาสสำหรับการค้าชายแดนอยู่ เนื่องจากประชาชนทั้งสองฝั่งส่วนใหญ่เป็นญาติกัน จึงง่ายหากมีการทำการค้าเกิดขึ้น แต่ปัจจุบันการที่จุดผ่อนปรนแห่งนี้ปิดจึงเป็นอุปสรรคที่สำคัญของการค้าชายแดนทำให้การค้าชายแดนมีการค้าในปริมาณน้อย และจากการวิเคราะห์ด้วย SWOT TOWS Matrix สามารถพบกลยุทธ์ในการพัฒนาโลจิสติกส์ได้ดังนี้ 1) ควรมีการเตรียมความพร้อมในด้านปริมาณสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของประชาชนในฝั่งเมียนมาร์หากมีการค้าชายแดนเกิดขึ้น 2) ควรเน้นการค้าขายแก่ประชาชนทั้ง 2 ฝั่ง มากกว่าการส่งผ่านสินค้าไปยังเมืองสำคัญต่างๆ เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศทำให้ยากต่อการขนส่ง 3) ประชาชนในพื้นที่บริเวณจุดผ่อนปรนบ้านหลักแต่งควรหันมาทำการค้าขายแก่ประชาชนในพื้นที่เป็นหลักก่อน และ 4) ควรมีการวิเคราะห์หาตำแหน่งจุดพักสินค้าที่เหมาะสมหากมีการค้าชายแดนเกิดขึ้น เพื่อลดต้นทุนการขนส่งในอนาคต
Abstract
This research aims to study the development of the Thai-Myanmar border trade model suitable for the economic context of the community. The community is involved. Two points of relief are the Kiew Phaowok relief point, Muang-Na Sub -District, Chiang Dao and Luck-tang relief points Piang Luang Sub-District, Wiang Haeng District. The research instrument was a review of the literature. Semi structured Interview and observation The researcher then analyzed the data by inductive analysis. The SWOT - TOWs Matrix will be used to analyze the weaknesses, opportunities, obstacles, opportunities, obstacles and obstacles of the trade. The study indicated that In the area of Chiang Mai, border trade with Myanmar is composed of 5 border districts namely Vieng Hang District, Chiang Dao District, Chai Prakan District, Fang District and Mueang District are 227 kilometers away, which borders the major cities of Myanmar such as Tach, Muang, Suay, Muang, Yung, Tong, etc. There are three major trade relief points. Dilution point of Dan Kiew Pha Wok in Chiang Dao District. The Luck-tang relief points in the area of Wiang Hang and the tamarind spot in Mae Am District. Each trade point can be distributed to the middle and inner parts of Myanmar. Or develop into a cross-border trade to the People's Republic of China. India And Bangladesh The Kiew Phaowok relief point, which is a potential high potential and likely to push for a permanent border checkpoint. On the border trade competition, border trade in Chiang Mai, it is found that the border trade between Thailand and Myanmar from 2013 to 2017, including the total value of border trade. Border export value Import value of the border And the border trade. The trend has increased significantly. It shows the opportunities for trade and investment between the two countries. However, the development of border trade at the relief point in Chiang Mai. In particular, the level of trade liberalization point to a permanent. The need for cooperation between those involved. Including public and private sectors. To create a strategy to drive growth and development. The strategy created is a very urgent strategy that can be accomplished within 1-2 years. A medium-term strategy can be accomplished within 5 years and a little strategy can be accomplished within 10 years. These will enhance the competitiveness of Thai-Myanmar trade in the future. It also contributes to the development and transformation of the socio-economic community along the border. The logistics point of deflating the sea. It has a strong connection route, which is only 120 kilometers from Chiang Mai city and has good road conditions. But there are some weaknesses, such as the road condition of 4 kilometers before the point of relief. There is no stopping point at Chiang Mai to the point of relieving the deflating point. However, this refraction point has the potential to become a center of trade (HUB). The distance from the major cities in Myanmar is less than the customs of Maesai. But there are also major obstacles. The lack of cooperation from the Myanmar authorities in opening relief points. SWOT TOWS Matrix can be found in the following strategies: 1) The needs of the Myanmar people in the cities should be explored. 2) Local government should prepare budget for repairing local roads in the wear parts. 3) There should be an analysis of the necessity of having or not having a break point. 4) The government or government agencies involved should negotiate with Myanmar. 5) The Thai people, at the point of relinquishment, should trade with local people in order to sell their products and services. Significant enough to begin serving the relief official. The Luck-tang relief point has its strengths in terms of route connections, which are miles away from the city of Taunggyi and the city of Mandalay less than the point of relieving Pha Pho Kok and Maesai customs. It also has a flexible border trade facilitation process. There are still some international trade. But there are also weaknesses in the quality of the road from the Luck-tang relief point to the cities of Myanmar in the first stage, the local dirt road traverses the mountain. You can not find the route from google map and there is no break point between the district. However, lucktang relief point are opportunities for border trade. Most of the people are relatives. It is easy to make a trade. At present, the reduction of this point of trade is a major obstacle to border trade. The SWOT TOWS Matrix can be found in the following strategies: 1) It should be prepared in terms of volume of goods and services to meet the needs of the people in Myanmar. Border trade occurs. 2) It should focus on the trade of the people on both sides rather than the goods to the cities. 3) People in the vicinity of the Luck-tang relief point should be turned to trading in the area first. 4) Should analyze the location of the breakpoints appropriate goods if the border trade happen to reduce transportation costs in the future.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา826 31 ม.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445