
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
กลยุทธ์การพัฒนาขีดความสามารถ ในบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมาร์ ณ จุดผ่อนปรนเพื่อการค้า จังหวัดเชียงใหม่
อาจารย์ ดร.พชรพร อากรสกุล
คณะวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
685-59-MGT-NRCT
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบททางเศรษฐกิจของชุมชนชายแดน ณ จุดผ่อนปรนการค้า ไทย-เมียนมาร์ บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคต่อภาวะการค้าชายแดน ไทย-เมียนมาร์ ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยสะท้อนข้อมูลจากการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้เกี่ยวข้อง และ3) ศึกษาแนวทางการเจรจาเปิดด่านการค้าและพัฒนาเขตการค้าชายแดนในแต่ละพื้นที่ โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ ประชาชนที่อาศัยในบริเวณจุดผ่อนปรนด่านกิ่วผาวอกและจุดผ่อนปรนด่านหลักแต่ง ผู้นำเข้าส่งออก ผู้ประกอบการค้าชายแดน เจ้าหน้าที่ภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้าชายแดน ซึ่งการเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหาและ SWOT Analysis ผลการศึกษาบริบทชุมชนบริเวณจุดผ่อนปรนกิ่วผาวอกและจุดผ่อนปรนด่านหลักแต่งที่สำคัญ ประกอบด้วย ด้านการค้าและการลงทุนสามารถเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งสินค้าผ่านเข้าถึงเมืองต่าง ๆ ของประเทศเมียนมาร์ ด้านทุนทางทรัพยากรธรรมชาติมีที่ดินทำกินของตนเองและทรัพยากรป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ มีทุนทางสังคมและวัฒนธรรมที่สืบทอดกันยาวนาน และมีหน่วยงานสนับสนุนในการพัฒนาและส่งเสริมการค้าชายแดน ด้านการท่องเที่ยวของชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจและใกล้เคียงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆในพื้นที่ สำหรับปัญหาและอุปสรรคต่อเศรษฐกิจการค้าชายแดนของแต่ละจุดผ่อนปรนกิ่วผาวอกและจุดผ่อนปรนบ้านหลักแต่ง พบว่า ด้านการเปิด-ปิดด่านยังไม่สามารถเปิดอย่างเป็นทางการ ด้านการอนุญาตผ่านแดนยังมีการลักลอบเข้าเมืองและการลำเลียงยาเสพติด และด้านสาธารณูปโภค พบว่า บางเส้นทางยังไม่ได้รับการพัฒนา รวมถึงด้านการสนับสนุนงบประมาณและแผนการพัฒนาบริเวณการค้าชายแดนของภาครัฐยังขาดความต่อเนื่อง ผลการการวิเคราะห์ SWOT ของจุดผ่อนปรนกิ่วผาวอกและจุดผ่อนปรนบ้านหลักแต่ง พบว่า จุดแข็ง คือ การเป็นแหล่งการค้าชายแดนเดิมที่เชื่อมโยงเมืองการค้าของประเทศเมียนมาร์ และเป็นแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมผสมระหว่างชนเผ่าในพื้นที่ จุดอ่อน คือ ยังไม่มีข้อมูลการค้าที่ชัดเจน และสินค้าในชุมชนที่ต่อยอดยังสร้างมูลค่าได้น้อย รวมถึงไม่มีการปักปันเขตแดนที่ชัดเจน ส่วนโอกาส คือ เริ่มเจรจาเปิดเส้นทางกับชนกลุ่มน้อยว้า และมีหน่วยงานสนับสนุนให้เป็นจุดผ่อนปรนถาวร และอุปสรรค คือ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไม่แน่นอน การให้ร่วมมือทางฝั่งเมียนมาร์ยังให้ความสำคัญน้อย เส้นทางยังไม่ได้รับการพัฒนา และการสนับสนุนในงบประมาณการพัฒนาบริเวณการค้าชายแดนขาดความต่อเนื่อง แนวทางการเจรจาเปิดด่านการค้าและพัฒนาเขตการค้าชายแดนบริเวณจุดผ่อนปรนกิ่วผาวอกและจุดผ่อนปรนบ้านหลักแต่ง ควรส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้าและขอความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง สนับสนุนตามศักยภาพความพร้อมของชุมชน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในชุมชนและเส้นทาง โลจิสติกส์การค้า ส่งเสริมการผลิตสินค้าแปรรูปในชุมชน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและผลักดันให้เป็นสินค้าส่งออก รวมถึงการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่ชายแดน เน้นการส่วนร่วมของคนในชุมชน ตลอดจนการบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน
Abstract
This research aims to 1) to study the economic context of border communities, Tradable Temporarily Permitted Area in Chiang Mai province 2) to study problems and obstacles to border trade between Thailand and Myanmar in Chiang Mai province, and 3) to study negotiating to open border trade and develop of border trade areas in areas. The samples selected purposive sampling consist of people living in the border trade point of Kew Pha Wok in Chiang Dao district and Ban Lak Taeng, Wiang Haeng district, trader, border enterprises, and stakeholders in this area. The tools for analyzing are content analysis and SWOT analysis. The results of the economic context the border trade point at Kew Pha Wok in Chiang Dao district and Ban Lak Taeng, Wiang Haeng distric consist the trade and investment, roads transport goods between regions are connected via cities of Myanmar. This border trade points have arable land and abundant forest resources. There are the social and cultural capital that inherit long-lasting, and the support of various agencies in the development border trade area, and tourist attraction that a place of interest where tourists visit. The problems and obstacles, the results display that the border trade point opening in this area did not officially, the problem of permission to transit remain a covert drug smuggling, some routes have not been developed, and the budget support of government has lack of continuity. The results of SWOT analysis display that the strengths of the border trade points were the original form of border trade that connected via cities of Myanmar and tourist attraction that a place of interest. whereas the weaknesses include there are no data available on trade, the local product community created less value. The opportunities include a permanent immigration point and trading area to encourage export and import to and from Chiang Mai. The threats include international relations that are uncertainty, lack of continuity for support The negotiation guidelines of the border trade point at Kew Pha Wok and Ban Lak Taeng found that government agencies should promote the Thailand- Myanmar trade relationship, community readiness, infrastructure development, trade logistics practical, building products communities to create high-value products by using local raw materials, tourism in the border area, community participation, and integrating cooperation between the private and public sectors.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา354 29 มี.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445