
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
กลยุทธ์การแข่งขันทางการค้าชายแดนของไทย ณ จุดผ่อนปรนเพื่อการค้าในจังหวัดเชียงใหม่ภายใต้บริบทเศรษฐกิจชุมชน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกษม กุณาศรี
คณะวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
686-59-MGT-NRCT
บทคัดย่อ
การยกระดับจุดผ่อนปรนเพื่อการค้าให้เป็นจุดผ่านแดนถาวรจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องตระหนักถึงผลกระทบของการเปิดด่านถาวร และแนวโน้มมูลค่าการค้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อจะนำมาสร้างเป็น แผนกลยุทธ์การส่งเสริมการค้าชายแดนชายแดนไทย-เมียนมาร์ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ได้อย่างถูกทิศทาง ซึ่งการวิจัยนี้ได้ใช้แบบจำลอง ARIMA ด้วยวิธีการของ Box-Jenkins เพื่อพยากรณ์มูลค่าการค้าการค้าชายแดนไทย-เมียนมาร์ และใช้ SWOT analysis ร่วมกับ Appreciation Influence Control (AIC) เพื่อหาแนวทางและ กลยุทธ์การพัฒนาการค้าชายแดน ณ ด่านจุดผ่อนปรนในจังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัยพบว่า มูลค่าการค้าชายแดนระหว่างไทยและเมียนมาร์ตั้งแต่ปี 2013 ถึง 2017 ทั้งมูลค่ารวมการค้าชายแดน มูลค่าการส่งออกชายแดน มูลค่าการนำเข้าชายแดน และดุลการค้าชายแดน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมาก แสดงให้เห็นถึงโอกาสการค้าและการลงทุนระหว่างทั้งสองประเทศ อย่างไรก็ตาม การจะพัฒนาการค้าชายแดน ณ ด่านจุดผ่อนปรนในจังหวัดเชียงใหม่ โดยเฉพาะการยกระดับด่านจุดผ่อนปรนเพื่อการค้าให้เป็นด่านถาวร ต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในการสร้างกลยุทธ์เพื่อผลักดันให้เกิดการเติบโตและพัฒนา โดยกลยุทธ์ที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย กลยุทธ์เร่งด่วนมากที่สามารถดำเนินการให้สำเร็จภายใน 1-2 ปี กลยุทธ์เร่งด่วนปานกลางที่สามารถดำเนินการให้สำเร็จภายใน 5 ปี และกลยุทธ์เร่งด่วนน้อยที่สามารถดำเนินการให้สำเร็จภายใน 10 ปี ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันทางการค้าระหว่างไทยและเมียนมาร์ในอนาคต และก่อให้เกิดการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนตามแนวพรมแดน
Abstract
In order to promote the border checkpoints into the permanent border crossing points, the effects of open permanent border crossing points and border trading trend in the area must be carefully study and use the results to create strategy plans that would help promote Thai-Myanmar border trade in Chiang Mai area to the right direction. This study forecasted Thai-Myanmar border trade value by using ARIMA model from Box-Jenkins approach and using SWOT analysis along with Appreciation Influence Control (AIC) to evaluate the guidelines and strategies to develop border trading at Chiang Mai’s border check points. The result shown that between year 2013 to 2017 the total border trade value, value of Thai export to Myanmar, value of Thai import from Myanmar and Thai-Myanmar border trade balance all have statistically significant increasing trend which implied to the trading and investment opportunities between two countries. However the promotion of the border checkpoints into the permanent border crossing points must has a cooperatives from the involvement sectors including government agency and private sector to create the growth-driven development strategies that can divide by priority into 3 categories consist of high priority strategy which is the strategy that should be complete within 1-2 years, a medium priority strategy which is the strategy that should be complete within 5 years and a low priority strategy which is the strategy that should be complete within 10 years. These strategies will help increase the competitive efficiency between Thailand and Myanmar in the future and help develop economy and society of the community along the border.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา442 29 มี.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445