
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
กลยุทธ์โลจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทานเพื่อพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายการค้าชายแดน ไทย-เมียนมาร์ พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
อาจารย์กันตา ตันนิยม
คณะวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
687-59-MGT-NRCT
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโซ่อุปทานและระบบโลจิสติกส์ท้องถิ่นเชื่อมต่อการค้าชายแดน ไทย - เมียนมาร์ พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยชุมชนมีส่วนร่วม และเพื่อประเมินศักยภาพ โลจิสติกส์ของพื้นที่จุดผ่อนปรนเพื่อการค้าชายแดน ไทย- เมียนมาร์ บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ 2 จุดผ่อนปรน ได้แก่ จุดผ่อนปรนกิ่วผาวอก ตาบลเมืองนะ อาเภอเชียงดาว และจุดผ่อนปรนบ้านหลักแต่ง ตาบลเปียงหลวง อาเภอเวียงแหง โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ การทบทวนเอกสาร แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง และแบบสังเกตการณ์ หลังจากนั้นผู้วิจัยได้ทาการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์แบบสรุปอุปนัย และนาข้อมูลที่ได้มาทาการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส อุปสรรค ด้วยตารางโทว์ (SWOT – TOWS Matrix) เพื่อประเมินหาศักยภาพโลจิสติกส์ ผลการศึกษาพบว่า จุดผ่อนปรนกิ่วผาวอก มีจุดแข็งทางด้านเส้นทางการเชื่อมต่อที่ห่างจากอาเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่เพียง 120 กิโลเมตร และมีสภาพถนนส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี แต่ก็ยังมีจุดอ่อนบางประการ คือ สภาพถนนช่วง 4 กิโลเมตรก่อนถึงจุดผ่อนปรนกิ่วผาวอกมีลักษณะเป็นหลุมเป็นบ่อ และไม่มีจุดพักสินค้าเลยจากอาเภอเมืองเชียงใหม่จนถึงจุดผ่อนปรนกิ่วผาวอก อย่างไรก็ตาม จุดผ่อนปรนกิ่ววาผอกนี้มีโอกาสในการเป็นศูนย์กลาง (HUB) ของการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากมีระยะทางห่างจากเมืองสาคัญต่างๆในประเทศเมียนมาร์ที่น้อยกว่าด่านศุลกากรแม่สาย แต่ก็ยังมีอุปสรรคที่สาคัญคือ การไม่ได้รับความร่วมมือจากทางการประเทศเมียนมาร์ในการเปิดจุดผ่อนปรน และจากการวิเคราะห์ด้วย SWOT TOWS Matrix สามารถพบกลยุทธ์ในการพัฒนาโลจิสติกส์ได้ดังนี้ 1) ควรมีการสารวจความต้องการของประชาชนชาวเมียนมาร์ในเมืองต่างๆ เพื่อเตรียมสินค้าหากมีการเปิดด่าน 2) องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นควรจัดทางบประมาณในการซ่อมแซมถนนท้องถิ่นในส่วนที่สึกหรอ เพื่อให้ง่ายต่อการขนส่งสินค้าหากมีการค้าชายแดนเกิดขึ้น 3) ควรมีการวิเคราะห์ความจาเป็นของการมีหรือไม่มีจุดพักสินค้า 4) รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรเจรจาต่อรองกับประเทศเมียนมาร์ให้มีการเปิดจุดผ่อนปรนเพื่อการค้าชายแดน และ 5) ประชาชนชาวไทย ณ จุดผ่อนปรนกิ่วผาวอกควรหันมาทาการค้าขายกับคนในประเทศก่อนเพื่อให้มีการขายสินค้าและบริการมากพอก่อนการมีจุดผ่อนปรน จุดผ่อนปรนบ้านหลักแต่ง มีจุดแข็งทางด้านเส้นทางการเชื่อมต่อซึ่งมีระทางห่างจากเมืองปั่น เมืองตองยี เมืองเนปิดอร์ และเมืองมัณฑะเลย์น้อยกว่าจุดผ่อนปรนกิ่วผาวอกและด่านศุลกากรแม่สาย และยังมีกระบวนการอานวยความสะดวกทางด้านการค้าชายแดนที่มีความยืดหยุ่น ทาให้ปัจจุบันยังมีการค้าขายระหว่างประเทศอยู่บ้าง แต่ยังมีจุดอ่อนในด้านคุณภาพถนนจากจุดผ่อนปรนบ้านหลักแต่งไปยังเมืองต่างๆในประเทศเมียนมาร์ในระยะแรกซึ่งเป็นถนนลูกรังของท้องถิ่นลัดเลาะไปตามแนวเขาซึ่งไม่สามารถค้นหาเส้นทางจากแผนที่กูเกิ้ลได้ และไม่มีจุดพักสินค้าระหว่างอาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ไปจนถึงจุดผ่อนปรนบ้านหลักแต่ง อย่างไรก็ตาม จุดผ่อนปรนบ้านหลักแต่งนี้ยังมีโอกาสสาหรับการค้าชายแดนอยู่ เนื่องจากประชาชนทั้งสองฝั่งส่วนใหญ่เป็นญาติกัน จึงง่ายหากมีการทาการค้าเกิดขึ้น แต่ปัจจุบันการที่จุดผ่อนปรนแห่งนี้ปิดจึงเป็นอุปสรรคที่สาคัญของการค้าชายแดนทาให้การค้าชายแดนมีการค้าในปริมาณน้อย และจากการวิเคราะห์ด้วย SWOT TOWS Matrix สามารถพบกลยุทธ์ในการพัฒนาโลจิสติกส์ได้ดังนี้ 1) ควรมีการเตรียมความพร้อมในด้านปริมาณสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของประชาชนในฝั่งเมียนมาร์หากมีการค้าชายแดนเกิดขึ้น 2) ควรเน้นการค้าขายแก่ประชาชนทั้ง 2 ฝั่ง มากกว่าการส่งผ่านสินค้าไปยังเมืองสาคัญต่างๆ เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศทาให้ยากต่อการขนส่ง 3) ประชาชนในพื้นที่บริเวณจุดผ่อนปรนบ้านหลักแต่งควรหันมาทาการค้าขายแก่ประชาชนในพื้นที่เป็นหลักก่อน และ 4) ควรมีการวิเคราะห์หาตาแหน่งจุดพักสินค้าที่เหมาะสมหากมีการค้าชายแดนเกิดขึ้น เพื่อลดต้นทุนการขนส่งในอนาคต คาสาคัญ: การจัดการโลจิสติกส์, การค้าชายแดนไทย-เมียนมาร์, โซ่อุปทานการค้าชายแดน
Abstract
The research’s objectives are to study supply chain and local logistic system which is connected to border trade between Thai – Myanmar at Chiang Mai province where the communities are involved in evaluating potentiality. There are two of check points for border trade. First is check point of Kew Pha Wok at Muang Na sub district, Chiang Dao district. Second is check point of Ban Lak Tang at Piang Luang sub district, Wiang Haeng district. The procedures in this research are literature review, Semi-structured interview and observation after that researcher did analyze on the data with induction and use SWOT and TOWS Matrix to evaluate the potentiality of logistic. The study found that check point of Kew Pha Wok has strengths of the route which is close to the Muang district only for 120 kilometers and road is in the fair condition. However, it is worth mentioning weaknesses which are the 4 kilometers prior to the check point of Kew Pha Wok is not in a usable condition. There are pits along the mentioned path and there is no warehouse before that. Despite all of above, the opportunities of this check point is that it is possible to establish this check point as an international Hub of the logistic system since the distance from important cities in Myanmar is less comparatively to check point at Mae Sai customs. In addition, the crucial threat is no corporation from Myanmar country to establish the official check point. By using SWOT plus TOWS matrix, we are able to conclude the possible policies to improve the check point as follow: 1) There should be the demand analysis of the population in multiple cities of Myanmar to prepare the goods before the official establishment begins. 2) Local administration ought to manage budgets for maintaining local roads in order to increase the transportation system. 3) Must have the team to analyze the necessary for the decision of to have the primary check point or not 4) Government institution that involve must negotiate to initiate the check point for border trading 5) Thai population at the check point of Kew Pha Wok should trade within the country first before opening the check point.The check point of Ban Lak Taeng has the strength of the connection which the distance is far from Mongpan, Taunggi, Naypytaw and Mandalay less relative to Kew Pha Wok check point and Mae Sai customs and there is more convenience and flexibility of transportation for border trade. As a result there is still some of border trading but the weakness is the quality of the route from the checkpoint to other essential cities in Myanmar in the first period. The roads have the characteristic of local dirt road along the mountains. These routes are untraceable in Google Maps application. In addition, there is no warehouse between Muang Chiang Mai until Ban Lak Taeng checkpoint. However, Ban Lak Taeng checkpoint still has the opportunity for border trade because the people who live around this area are familiar to each other. This means that the trade is easily possible. As the result from closing this checkpoint, it is one of the biggest obstacle to tackle since this led to the lower of the trading volume. The SWOT-TOWS matrix proves that we still have the following solution: 1) Need to match the demand and supply of the price and volume of the border trading between two regions 2) Improve the border trading not only from one region to another but trading from both side because of the lacking of the quality to transport 3) People in the Ban Lak Taeng area should trade within the area and 4) Need to analyze to locate the optimal warehouse for the border trading and to reduce the cost in the future. Keywords: Logistics Management, Thailand – Myanmar Border Trade, Border Trade Supply Chian
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา604 18 ม.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445