ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การวิเคราะห์มูลค่าเพิ่มของโครงการ “แผนกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ในกรอบประชาคมอาเซียน ภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ปีที่ ๒”


อาจารย์ ดร.ปรารถนา มินเสน

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

689-59-SCI-NRCT

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาชุดโครงการ “แผน กลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ในกรอบประชาคมอาเซียน ภายใต้ ความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีที่ 2” และเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ มูลค่าเพิ่มของโครงการแผนกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ในกรอบ ประชาคมอาเซียน ภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีที่ 2 ทั้ง 9 ด้าน ได้แก่ ด้านธุรกิจชุมชน ด้านการเกษตร ด้านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านสุขภาพ อนามัยและสิ่งแวดล้อม ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ด้านเด็กและเยาวชน ด้านผู้สูงอายุและ ผู้พิการ ด้านการศึกษา และด้านสังคมและวัฒนธรรม โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสนับสนุน ด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณจากข้อมูลปฐมภูมิของชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ทั้งสิ้น 2,064 ชุมชน อาศัยวิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) วิเคราะห์ผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ ข้อเสนอแนะ และ แนวทางเตรียมความพร้อมของชุมชน กรณีวิเคราะห์เชิงปริมาณจะอภิปรายผลด้วยสถิติอย่างง่าย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน กรณีวิเคราะห์เชิงคุณภาพ จะใช้การวิเคราะห์ เนื้อหา มาประมวลเพื่อยืนยันหรือเสริมข้อมูลเชิงปริมาณให้มีความสมบูรณ์ขึ้น ผลการวิจัยพบว่า สามารถสร้างกลยุทธ์ในการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชน จังหวัด เชียงใหม่ ได้จำนวน 30 กลยุทธ์ โดยสร้างกลยุทธ์พลิกฟื้นและกลยุทธ์เชิงรุกมากที่สุด โครงการละ 9 กลยุทธ์ รองลงมาคือ กลยุทธ์การรักษาเสถียรภาพ จำนวน 7 กลยุทธ์ และกลยุทธ์ตัดทอนจำนวน 5 กลยุทธ์ ตามลำดับ ทั้งนี้มูลค่าเพิ่มของโครงการที่ได้คือ การนำกลยุทธ์ที่ได้ไปจัดทำแผนและ โครงการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนในแต่ละด้าน และยื่นขออนุมัติจากผู้บริหารและทีมสภา ของเทศบาลตำบลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อนำแผนไปสู่การดำเนินงาน มีทั้งหมด 23 โครงการ ประกอบไปด้วย ด้านองค์กรผู้สูงอายุและผู้พิการ 7 โครงการ ด้านธุรกิจชุมชน 6 โครงการ ด้านสุขภาพ อนามัย และสิ่งแวดล้อม 3 โครงการ ด้านเกษตรชุมชนและด้านสังคมและ วัฒนธรรมอย่างละ 2 โครงการ และที่เหลืออย่างละ 1 โครงการ ได้แก่ ด้านองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ด้านองค์กรเด็กและเยาวชน และด้านการศึกษา โดยทั้ง 9 ด้าน จะได้รับการเสนอแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาจากผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละด้าน เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาโครงการย่อยทั้ง 9 โครงการ ซึ่งโครงการวิจัยในระยะ ต่อไปจะได้ดำเนินการปฏิบัติการและติดตาม ประเมินผล เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของกลยุทธ์การ เพิ่มขีดความสามารถของชุมชน ในกรอบประชาคมอาเซียนซึ่งจะเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่น ต่อไป

Abstract

This study aims to analyze the impact of Chiang Mai community to enhance the potential and the strength of Chiang Mai community under ASEAN community concerning in community business, agricultural, local administrative organizations, health and hygiene as well as environment, natural resource , child and youth, elderly and disable people, education, social and culture as well as evaluate the value added of projects for enhancing the potential of Chiang Mai community. It is qualitative research with the support from quantitative analysis. Primary data was collected from 2,064 communities in Chiang Mai. Participatory action research (PAR) was used to analyze both positive and negative impacts, advices and guidelines to prepare the readiness of communities in social and cultural management. Descriptive analysis such as mean, percentage and standard deviation were used. Content analysis were used to make the quantitative analysis to be complete. This study can create 30 strategies to increase the potential of Chiang Mai community under ASEAN community. Aggressive strategy and turn around strategy are the highest number of strategies created. It means that each project can create 9 strategies. It illustrates the potential of Chiang Mai community to use these two strategies to enhance the potential under ASEAN. 7 stability strategies and 5 retrenchment strategies are also created respectively. Concerning the value added of the projects to enhance the potential of Chiang Mai community, local administrative organizations could apply their strategies to make plans and projects for enhancing the potential of community. 23 projects were set by local administrative organizations and all of these projects approved by experts. These projects consisted of 6 community businesses, 2 agricultural businesses , one for local administrative organization , 3 for hygiene and environment, one for natural resource , one for child and youth , 7 for elderly and disable people, 1 for education and 2 for social and culture. The next phase of study will follow up and evaluate the result to attain the achievement of strategy to enhance the potential of community under ASEAN community and also integrate to work with other sectors outside Chiang Mai province.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

274 21 ก.ย. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่