
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
แผนกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มธุรกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้กรอบประชาคมอาเซียน ปีที่ ๒
อาจารย์วิไลพร ไชยโย
คณะวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
691-59-MGT-NRCT
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบด้านธุรกิจชุมชน ต่อการเพิ่มศักยภาพความเข้มแข็งของกลุ่มธุรกิจชุมชน และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการสร้างแผนเพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มธุรกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้กรอบประชาคมอาเซียน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสนับสนุนด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณจากข้อมูลปฐมภูมิของชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งสิ้น 2,064 ชุมชน อาศัยวิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) วิเคราะห์ผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ ข้อเสนอแนะ และแนวทางเตรียมความพร้อมของกลุ่มธุรกิจชุมชน กรณีวิเคราะห์เชิงปริมาณจะอภิปรายผลด้วยสถิติอย่างง่าย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน กรณีวิเคราะห์เชิงคุณภาพ จะใช้การวิเคราะห์เนื้อหามาประมวลเพื่อยืนยันหรือเสริมข้อมูลเชิงปริมาณให้มีความสมบูรณ์ขึ้น ผลการวิจัยพบว่า ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับกลุ่มธุรกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ในด้านผลกระทบเชิงบวก มีทั้งหมด 22 ประเด็น ส่วนผลกระทบเชิงลบ มีทั้งหมด 25 ประเด็น ผลการวิเคราะห์การเตรียมความพร้อม มีทั้งหมด 21 ประเด็น โดยเฉพาะการรวมกลุ่มของคนในชุมชนเพื่อสร้างกลุ่มธุรกิจชุมชน และมีบุคลากรหรือหน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือ มีทั้งสิ้น 18 หน่วยงาน ผลการวิเคราะห์ในกระบวนการกำหนดกลยุทธ์แผนเพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มธุรกิจชุมชน สามารถกำหนดกลยุทธ์ ได้ 3 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) กลยุทธ์พลิกฟื้น คือ การปรับระบบการทำงาน โดยเน้นการทำงานแบบบูรณาการจากหลายฝ่าย ตั้งคณะกรรมการร่วมกัน บริหารงานโดยยึดชาวบ้านเป็นศูนย์กลาง (2) กลยุทธ์เชิงรุก คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนธุรกิจที่ชาวบ้านมีความชำนาญ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน และจัดกิจกรรมให้กลุ่มธุรกิจชุมชนและเจ้าหน้าที่ได้มีส่วนร่วมในการจัดตั้งกลุ่มธุรกิจชุมชนร่วมกัน และ (3) กลยุทธ์การรักษาเสถียรภาพ คือ อปท. สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินธุรกิจชุมชน เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบด้านธุรกิจชุมชนจัดหางบประมาณทั้งจากภายในและภายนอกหน่วยงานเพื่อสนับสนุนกลุ่มธุรกิจชุมชน การประสานงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งรัฐบาลและเอกชน อปท.ได้กำหนดให้ด้านธุรกิจชุมชนอยู่ในแผนยุทธศาสตร์และเป็นวิสัยทัศน์เด่นของอปท. และกำหนดทีมงานผู้รับผิดชอบด้านธุรกิจชุมชนโดยเฉพาะ หลังจากที่ชุมชนทราบกลยุทธ์ทั้ง 3 ประเภทข้างต้น ชุมชนได้จัดทำโครงการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการดำเนินงานตามกลยุทธ์ที่ได้สร้างไว้ เป็นการนำแผนไปสู่การดำเนินงาน ซึ่งโครงการที่ได้จัดทำมี 6 โครงการ ดังนี้ (1) โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์ถั่วชีวภาพ (2) โครงการส่งเสริมศักยภาพและประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อเข้าสู่ตลาดอาเซียน (3) โครงการพัฒนาศักยภาพกลุ่ม ตัดเย็บเสื้อผ้ามัดย้อม เพื่อเข้าสู่ตลาดอาเซียน (4) โครงการธุรกิจชุมชนก้าวไกลสู่อาเซียน (ASEAN) (5) โครงการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนไม้แกะสลัก เพื่อเข้าสู่ตลาดอาเซียน และ (6) โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ผ้าทอมือเพื่อเพิ่มศักยภาพในการเข้าสู่ตลาดอาเซียน โดยโครงการดังกล่าวได้ผ่านการจัดทำแผนงานและโครงการผ่านเทศบัญญัติขององค์กรชุมชน และได้รับงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2560 ซึ่งโครงการวิจัยในระยะต่อไปจะได้ดำเนินการปฏิบัติการและติดตาม ประเมินผล เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มธุรกิจชุมชน ในกรอบประชาคมอาเซียนซึ่งจะเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่นต่อไป
Abstract
This study aims to analyze the impact of community business for enhancing the potential and strength of community and also suggests the guidelines to create plan for increasing the potential of Chiang Mai communities and suggests the guidelines to establish plan for enhancing the potential of community business of Chiang Mai communities under ASEAN community. It is qualitative research with the support from quantitative analysis. Primary data was collected from 2,064 communities in Chiang Mai. Participatory action research (PAR) was used to analyze both positive and negative impacts, advices and guidelines to prepare the readiness of communities in community business. Descriptive analysis such as mean, percentage and standard deviation were used. Content analysis were used to make the quantitative analysis to be completed. The result of study was that there are 22 positive impacts for community of community and 25 negative impacts for community. There are also 21 issues for preparation of the readiness of community in community business under ASEAN community. 18 sectors will join and help these communities. Three strategies were set to raise the potential of agriculturists: 1) turn around strategy is that adjustment the working system and emphasis on the integration from other sectors based on human resource become the center of development, 2) aggressive strategy is that local administrative organization should support the business which people is specialized and arrange activities that can motivate officers to participate in setting community business group and 3) stability strategy means local administrative organization should suggest the budget to operate the community business and officers who are responsible for community business should look for budgets both inside and outside to support business groups and assigned officers to look after the community business. Six projects were made to respond for the strategy. The projects consist of 1) project to increase the efficiency of biobeans, 2) promote and publicize community products to enter tha ASEAN community, 3)development the potential of tie dye to enter ASEAN market, 4) Business progress to ASEAN community ,5) Development the potentail for small and micro economic enterprise of woodcraving group and 6) set up wooven cloth’s learning center . All of these 6 projects had already set and been supported by local administrative organizations to operate in 2017. The next phase of study will follow up and evaluate the project so that it will help to enhance the managerial potential in community business.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา405 01 ธ.ค. 2560

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445