ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

แผนกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรการศึกษา ของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้กรอบประชาคมอาเซียน ปีที่ 2


อาจารย์ ดร.ทัศนีย์ อารมณ์เกลี้ยง

คณะครุศาสตร์

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

692-59-EDU-NRCT

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบด้านการศึกษาต่อการเพิ่มศักยภาพความเข้มแข็งของชุมชน และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการสร้างแผนเพิ่มขีดความสามารถในด้านการศึกษาของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้กรอบประชาคมอาเซียน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสนับสนุนด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณจากข้อมูลปฐมภูมิของชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งสิ้น 2,064 ชุมชน อาศัยวิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) วิเคราะห์ผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ ข้อเสนอแนะ และแนวทางเตรียมความพร้อมของชุมชนในด้านการศึกษา กรณีวิเคราะห์เชิงปริมาณจะอภิปรายผลด้วยสถิติอย่างง่าย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน กรณีวิเคราะห์เชิงคุณภาพ จะใช้การวิเคราะห์เนื้อหา มาประมวลเพื่อยืนยันหรือเสริมข้อมูลเชิงปริมาณให้มีความสมบูรณ์ขึ้น ผลการวิจัยพบว่า ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในด้านการศึกษาของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ในด้านผลกระทบเชิงบวก มีทั้งหมด 13 ประเด็น ส่วนผลกระทบเชิงลบ มีทั้งหมด 15 ประเด็น ผลการวิเคราะห์การเตรียมความพร้อมของชุมชนด้านการศึกษาเมื่อเปิดประชาคมอาเซียน มีทั้งหมด 16 ประเด็น โดยเฉพาะการพัฒนาทางด้านภาษาอังกฤษอย่างจริงจัง โดยมีบุคลากรหรือหน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือ มีทั้งสิ้น 13 หน่วยงาน ส่วนผลการวิเคราะห์ในกระบวนการกำหนดกลยุทธ์แผนเพิ่มขีดความสามารถด้านการศึกษาของชุมชน สามารถกำหนดกลยุทธ์ ได้ 4 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) กลยุทธ์พลิกฟื้น คือ อปท. ของบประมาณสนับสนุนการอบรม/สัมมนา ด้านการศึกษาให้แก่เจ้าหน้าที่โดยเชิญวิทยากรจากในและนอกชุมชนมาให้ความรู้ และอปท. จัดกิจกรรมอบรม/สัมมนาด้านการศึกษาให้แก่ชุมชน (2) กลยุทธ์ตัดทอน คือ อปท. ของบประมาณสนับสนุนเครื่องมือทางการศึกษาทั้งในและนอกชุมชน (3) กลยุทธ์เชิงรุก คือ อปท. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมด้านการศึกษาในชุมชน โดยมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดูแล ส่งเสริมให้ยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาเป็นยุทธศาสตร์เด่นของหน่วยงาน โดยให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านการศึกษาเพื่อให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา เน้นการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาสู่อาเซียน และ (4) กลยุทธ์การรักษาเสถียรภาพ คือ เจ้าหน้าที่จัดหางบประมาณเพื่อสนับสนุนอุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอนให้แก่ชุมชน และอปท. เขียนแผนงาน/โครงการเพื่อเสนอกับองค์กรทั้งในและนอกชุมชนให้สนับสนุนอุปกรณ์ทางการศึกษา จากกลยุทธ์ทั้ง 4 ประเภทข้างต้น ชุมชนได้จัดทำโครงการเพื่อให้เกิดการดำเนินงานตามกลยุทธ์ที่ได้สร้างไว้ เป็นการนำแผนไปสู่การดำเนินงาน ซึ่งโครงการที่ได้จัดทำ คือ “โครงการพัฒนาศักยภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสู่ต้นแบบอาเซียนศึกษา” เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลบ้านปง และส่งเสริมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบล บ้านปงสู่ต้นแบบอาเซียนศึกษา โดยโครงการดังกล่าวได้ผ่านการจัดทำแผนงานและโครงการผ่านเทศบัญญัติขององค์กรชุมชน และได้รับงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2560 ซึ่งโครงการวิจัยในระยะต่อไปจะได้ดำเนินการปฏิบัติการและติดตาม ประเมินผล เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนด้านการศึกษา ในกรอบประชาคมอาเซียน ซึ่งจะเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่นต่อไป

Abstract

This study aims to analyze the impact of education for enhancing the potential and strength of community and also suggests the guidelines to create plan for increasing the potential of Chiang Mai communities and suggests the guidelines to establish plan for enhancing the education of Chiang Mai community under ASEAN community. It is qualitative research with the support from quantitative analysis. Primary data was collected from 2,064 communities in Chiang Mai. Participatory action research (PAR) was used to analyze both positive and negative impacts, advices and guidelines to prepare the readiness of education in Chiang Mai. Descriptive analysis such as mean, percentage and standard deviation were used. Content analysis were used to make the quantitative analysis to be completed. The result of study was that there are 13 issues of the positive impacts and 15 issues of negative impacts . There are also 16 issues for preparation of the readiness of community in education under ASEAN community. In addition, there are 13 sectors join and assist in this project.. As a result, 4 strategic plans were set to enhance the potential in education of community : 1) turn around strategy means local administrative organization supports educational training and seminar for officers by inviting experts both internal and external community to render knowledge. In addition, local administrative organization should arrange activities to train people in community concerning education , 2) retrenchment strategy means local administrative organization ask for budgets to support educational instruments both inside and outside community, 3) aggressive strategy means local administrative organization promotes the educational activity by appointing officers to look after, promote educational strategy as the outstanding of office. Encourage people to participate in educational activities and 4) stability strategy means officers look for budget to support educational equipment and local administrative organization writes project to propose for other organizations to support. As a result, community had made project namely “ Development the potential of child development center for ASEAN study” in order to develop the potential of officers of Ban Pong child development center. All of these 2 projects are supported and receive the budget from local administrative organization in 2017. The next phase of study will follow up and evaluate the project so that it will help to enhance the potential in education under ASEAN community.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

630 15 พ.ย. 2560

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900

http://nrct.go.th/

0-2561-2445

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่