
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
ความหลากหลายของเห็ดป่าที่บริโภคได้ ในพื้นที่สะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
อาจารย์ ดร.วัชรี หาญเมืองใจ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
702-59-SCI-RSPG
บทคัดย่อ
การศึกษานิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์ของเห็ดป่าพื้นที่บ้านพระพุทธบาทสี่รอย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสำรวจเส้นทางหาของป่าของชุมชน ในระหว่างเดือนมิถุนายน -เดือนสิงหาคม พ.ศ.2559 โดยศึกษาด้านแหล่งที่อยู่อาศัยและลักษณะการเจริญเติบโตของเห็ด พบว่า แหล่งที่อยู่อาศัยของเห็ดจะพบเห็ดขึ้นบนพื้นดิน ประมาณ ร้อยละ 60 บนกิ่งไม้ผุ ร้อยละ 7 และบนเศษซากต้นไม้ ร้อยละ 5 ส่วนในด้านการเจริญเติบโตของเห็ดแต่ละชนิด จะพบว่า เห็ดขึ้นเป็นดอกเดี่ยวๆมากที่สุด ร้อยละ 50 ขึ้นเป็นกลุ่ม ร้อยละ 6 และขึ้นเป็นกระจุก ร้อยละ 2 จากการสำรวจและจำแนกพันธุ์ของเห็ด โดยใช้ลักษณะสัณฐานวิทยาภายนอกของเห็ดและสัณฐานวิทยาของเห็ดภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ศึกษา รูปร่าง ขนาด สี การเรียงตัวของครีบ และก้าน ของเห็ด และ รูปร่าง ขนาดของสปอร์ พบเห็ด 4 อันดับ 17 วงศ์ 19 สกุล 62 ชนิด อันดับ ที่พบมากที่สุด คือ Agaricales พบ 35 ชนิด รองลงมา คือ อันดับ Russulales พบ 19 ชนิด และ อันดับ Boletales พบ 5 ชนิด ส่วนวงศ์เห็ดที่เด่นที่สุดที่พบ คือ Russulaceae ในสกุล Russula พวกเห็ดแดง และเห็ดหล่ม รองลงมา คือ วงศ์ Pleurotaceae ในสกุล Amanita พวกเห็ดระโงก
Abstract
-
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา297 23 พ.ค. 2561

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช (อพ.สธ.)
สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สวนจิตรลดา ถ.ราชวิถี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๓
0-2282-1850
admin@plantgenetics-rspg.org