ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวไร่ ให้เหมาะสมกับพื้นที่ทางเกษตรกรรมในจังหวัดเชียงใหม่


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศศิณิส์ภา พัชรธนโรจน์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

704-59-SCI-RSPG

บทคัดย่อ

การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวไร่ ให้เหมาะสมกับพื้นที่ทางเกษตรกรรม ใน จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทที่เกี่ยวกับการรวบรวมพันธุ์ข้าวไร่ ให้เหมาะสมกับพื้นที่ทางเกษตรกรรม ในจังหวัดเชียงใหม่ และสร้างระบบฐานข้อมูลพันธุ์ข้าวไร่ ให้เหมาะสมกับพื้นที่ทางเกษตรกรรม ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้ข้อมูลจากการลงพื้นที่เพื่อรวบรวมพันธุ์ข้าวไร่ร่วมกับศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว โดยทางศูนย์ฯ ได้ดำเนินโครงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 6 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 6 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริ ดอยฟ้าห่มปก 2. โครงการสถานีพัฒนาเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ ห้วยเมืองงาม 3. โครงการสถานีพัฒนาเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ บ้านเสาแดง 4. โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ บ้านแม่ตุงติง 5. โครงการเกษตรวิชญาตามพระราชดำริ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร บ้านกองแหะ 6. โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ และโครงการขยายผลโครงการหลวง จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการขยายผลโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืน บ้านป่าเกี๊ยะใหม่ 2. โครงการขยายผลโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืน บ้านผาแดง 3. โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้โครงการหลวงและพัฒนาศักยภาพชุมชนบนพื้นที่สูงบ้านห้วยอีโก๋-ผาลาย โดยมีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการแปลงขยายผลเทคโนโลยีสู่เกษตรกร จำนวนรวมทั้งหมด 114 ราย ซึ่งมีจำนวนเกษตรกรเข้าร่วมโครงการเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยกิจกรรมหลักที่ดำเนินการ คือ ศึกษาและพัฒนาพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่ การจัดทำแปลงสาธิต ถ่ายทอดเทคโนโลยี เรียนรู้ และขยายผล ให้เกษตรกรทำการปลูกในสถานที่จริง โดยผลสัมฤทธิ์ของโครงการที่ได้คือ ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น จากการปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ แต่ยังมีปัญหาอยู่มากส่วนใหญ่เกิดจาก สภาพภูมิอากาศ และศัตรูพืช เป็นต้น ทำให้สามารถคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวไร่ ให้เหมาะสมกับพื้นที่ทางเกษตรกรรม ในจังหวัดเชียงใหม่ส่วนการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อรวบรวมสายพันธุ์ข้าวไร่ ให้เหมาะสมกับพื้นที่ทางเกษตรกรรม ในจังหวัดเชียงใหม่ ได้ทำการรวบรวมพันธุ์ข้าวไร่ซึ่งได้มาจาก 3 ส่วนดังนี้ 1. เก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวไร่ในพื้นที่รับผิดชอบของแต่ละโครงการ แล้วนำมาปลูกในแปลงรวบรวมพันธุ์ภายในศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง 2. เก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวไร่จากการทดสอบการปลูกข้าวไร่ในสภาพพื้นที่จริง โดยใช้พื้นที่ของแต่ละโครงการเป็นแปลงทดสอบ 3. เก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวไร่จากแปลงขยายผลเทคโนโลยีสู่เกษตรกร โดยมีการปฏิบัติดูแลรักษาตามเทคโนโลยีของกรมการข้าว ทำให้ได้พันธุ์ข้าวไร่ทั้งหมดจำนวน 163 พันธุ์ และได้นำระบบฐานข้อมูลไปเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกร ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการศึกษา ทดสอบ และพัฒนาความรู้โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน บริหารและจัดการให้เกิดการทำงานเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายอย่างเป็นระบบ ในการพัฒนา บ่มเพาะ และคถ่ายทอดเทคโนโลยี เครื่องมือที่ใช้พัฒนาระบบฐานข้อมูลดังนี้ โปรแกรมภาษา PHP ในการเขียนโปรแกรม ใช้โปรแกรม MySQL ในการจัดการฐานข้อมูล และใช้โปรแกรม Dreamweaver ในการจัดทำเว็บไซต์ โดยระบบฐานข้อมูลเพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวไร่ ให้เหมาะสมกับพื้นที่ทางเกษตรกรรม ในจังหวัดเชียงใหม่ มีการจัดเก็บข้อมูลข้าวไร่ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ชื่อพันธุ์ข้าว สภาพการปลูก และชนิดของพันธุ์ข้าว เป็นต้น เจ้าหน้าที่ของศูนย์วิจัยข้าวสะเมิงของ สามารถเพิ่มข้อมูลโครงการ ข้อมูลเกษตรกร ข้อมูลผลผลิตเกษตรกร และข้อมูลผลผลิตแปลงทดลองได้ เพื่อเป็นสารสนเทศความรู้ให้กับบุคคลอื่น ๆ ต่อไป ผู้วิจัยมีความคาดหวังว่าฐานข้อมูลที่ทำขึ้น สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ และใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ศึกษา และบริเวณใกล้เคียงได้ ซึ่งจะไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์แก่ท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังเอื้อประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อการวางแผนพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนและมั่นคงต่อไป

Abstract

-

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

272 29 มิ.ย. 2560

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช (อพ.สธ.)

สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สวนจิตรลดา ถ.ราชวิถี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๓

http://www.rspg.or.th/

0-2282-1850

admin@plantgenetics-rspg.org

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่