
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การสังเคราะห์องค์ความรู้การแพ้ยางรักและภูมิปัญญาในการแก้พิษ
อาจารย์ ดร.รพีพร เทียมจันทร์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
705-59-SCI-RSPG
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเอกสารเพื่อรวบรวมและสังเคราะห์องค์ความรู้การแพ้ยางรักและ ภูมิปัญญาในการแก้พิษ ผลการศึกษาพบว่า ยางรักที่ใช้กันส่วนใหญ่ในประเทศไทยได้มาจากยางของ ไม้รักใหญ่ การแพ้ยางจากรักใหญ่สามารถพบได้ทั้งการแพ้ยางรักสดจากต้นและการแพ้ยางรักที่ผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในงานเครื่องเขินและศิลปหัตถกรรม ในทางภูมิคุ้มกันวิทยาเชื่อว่า อนุพันธ์ของแคทีคอลในยางรักคือทิตซิออลเป็นตัวกระตุ้นที่ก่อให้เกิดการแพ้ การสัมผัสกับยางรักอาจทำให้เกิดการแพ้ได้ 2 ลักษณะคือ ผื่นแพ้สัมผัสและผื่นระคายเคืองจากการสัมผัส ในส่วนของภูมิปัญญาในการแก้พิษจากยางรัก พบว่า มีการใช้สมุนไพรจำนวน 12 ชนิด ซึ่งสามารถนำมาจำแนกกลุ่มตามหลักของเภสัชกรรมไทยได้ 3 กลุ่ม ด้วยกัน คือ 1) พฤกษวัตถุ ได้แก่ ข้าว ขี้เหล็ก ชา ถั่วแระ พะยอมแดง แมงลัก ไม้แก่นจันทน์ สัก และเหงือกปลาหมอ 2) สัตววัตถุ ได้แก่ ปูทะเล และ 3) ธาตุวัตถุ ได้แก่ เกลือสมุทร และสารส้ม
Abstract
This study is a documentary research and aim to collect and synthesize knowledge of lacquer allergy and wisdom of remedy. The results showed that the lacquer used in Thailand is derived from Gluta usitata (Wall.) Ding Hou. Lacquer allergy could be found on both of lacquer sap and lacquer varnish for lacquerware as well as arts and crafts. In immunology, it is believed that thitsiol, a catechol derivative in lacquer is a hapten which induce allergy. Lacquer skin contact may cause allergic reaction in two types: allergic contact dermatitis and irritant contact dermatitis. In the wisdom of remedy, there are 12 kinds of herbs that could be classified according to Thai traditional pharmacy into 3 groups as follows 1) Plant material includes Oryza sativa Linn., Cassia siamea Britt., Camellia sinensis Ktze., Cajanus indicus Spreng, Shorea roxburghii G.Don, Ocimum americanum L., Santalum album L., Tectona grandis Linn. f. and Acanthus ebracteatus Vahl. 2) Animal material includes Scylla species 3) Elemental material includes sea salt and alum.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา787 09 เม.ย. 2561

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช (อพ.สธ.)
สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สวนจิตรลดา ถ.ราชวิถี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๓
0-2282-1850
admin@plantgenetics-rspg.org