
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑ ของนักศึกษาครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บูรพา สิงหา
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
712-59-SCI-MUA
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาครู สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ การดำเนินงานวิจัยนั้น ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับนักศึกษารวม 5 ครั้ง ในเรื่องทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ในประเด็น 1) ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม 2) การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา และ 3) การสื่อสารและความร่วมมือ ซึ่งการจัดอบรมดังกล่าวได้ดำเนินกิจกรรมในลักษณะของการจัดกิจกรรมในรูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก เช่น Brainstorming, Agree & Disagree Statement, Problem-based Learning และ Think-pair-share เป็นทั้งกิจกรรมรายบุคคลและรายกลุ่มเพื่อวัดทักษะการสื่อสารและความร่วมมือของนักศึกษา และทำการเก็บผลคะแนนเป็นระยะ ๆ จนกระทั่งนักศึกษามีผลคะแนนเฉลี่ยโดยรวมจากการจัดกิจกรรมที่ระดับร้อยละ 80 จึงให้นักศึกษาทำแบบประเมินทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการจัดกิจกรรมนักศึกษามีทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมร้อยละ 57.27 และ หลังจากการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษามีทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมร้อยละ 79.55 โดยมีทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมร้อยละ 76.47 ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาร้อยละ 82.63 และทักษะด้านการสื่อสารและความร่วมมือร้อยละ 77.83 สรุปได้ว่ากิจกรรมดังกล่าวช่วยพัฒนาให้นักศึกษาครู สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ในระดับดี
Abstract
This research aimed to develop learning and innovation skills for 21st century learning of Mathematics teacher student Chiangmai Rajabhat University. In this research we trained students in the following topics: 1) creative thinking and innovative thinking 2) critical thinking and problem solving 3) communication and collaboration, in the way of active learning for example, brainstorming, agree & disagree statement, problem-based learning and think-pair-share. After that, we recorded the average student score from those activities until the score reach to 80% and then we test them the learning and innovation skills. We found that, learning and innovation skills of the students is increased from 57.27% to 79.55%, they got 76.47% in critical thinking skills, 82.63% in problem solving skills and 77.83% in communication and collaboration skills. Therefore, we concluded that those activities helped the students to develop their learning and innovation skills for 21st century learning.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา659 21 มี.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
0-2610-5200
pr_mua@mua.go.th