
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
สถานการณ์ความหลากหลายทางชีวภาพของสาหร่ายขนาดใหญ่ไดอะตอมพื้นท้องน้ำ และสัตว์หน้าดินในลำน้ำแม่สา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
อาจารย์ ดร.ทัตพร คุณประดิษฐ์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
715-59-SCI-MUA
บทคัดย่อ
โครงการการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ และสภาพนิเวศในพื้นที่ตัวแทนของลุ่มน้ำแม่สา และพื้นที่ขยายลุ่มน้ำแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วยการศึกษาสถานการณ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ชนิด ปริมาณ และการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิต โดยศึกษาจุดตัวแทนจำนวน 6 จุด ของพื้นที่ลุ่มน้ำแม่สา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าลักษณะของลำน้ำแม่สามีความคล้ายคลึงกัน และเป็นแหล่งน้ำในรูปแบบลำธารขนาดเล็กในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย บริเวณต้นน้ำ จุดเก็บตัวอย่าง MR1 และ MS1 จะมีลักษณะเป็นลำธารขนาดเล็ก มีอัตราการไหลของน้ำค่อนข้างเร็ว จุดเก็บตัวอย่างกลางน้ำ MS2 เป็นพื้นที่ๆ มีการใช้ประโยชน์จากกิจกรรมของชุมชน ส่วนของจุดเก็บตัวอย่างปลายน้ำ MS3 และ MR3 ซึ่งเป็นจุดที่พื้นที่ถูกปรับเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่เกษตรและชุมชนทำให้ลักษณะของลำน้ำที่กว้างและท้องน้ำจะเป็น substrate ขนาดเล็ก เช่น กรวด และทราย คุณภาพน้ำและสารอาหารในแหล่งน้ำโดยรวมจัดอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างดีในบริเวณต้นน้ำ (MR1 และ MS1) และปานกลางในบริเวณกลางน้ำและปลายน้ำ คุณลักษณะของน้ำในสองลำน้ำจะมีการสะสมสารอาหารจากต้นน้ำไปยังปลายน้ำเหมือนกัน รวมถึงค่ากายภาพและเคมี ที่มีค่าต่ำในบริเวณต้นน้ำ และเพิ่มขึ้นในตอนกลางและปลายน้ำ แต่ลำน้ำแม่แรมจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ต่างกับลำน้ำแม่สา ที่ค่าความขุ่น ค่าการนำไฟฟ้า และค่าปริมาณของแข็งละลาย มีค่าสูงกว่าลำน้ำแม่แรมอย่างชัดเจน ความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตกลุ่มไดอะตอมพบว่าลำน้ำแม่แรมจะมีความหลากหลายทางชีวภาพ และจำนวนความหนาแน่นของไดอะตอมที่มากกว่าลำน้ำแม่สา นอกจากนี้ไดอะตอมที่พบในลำน้ำแม่แรมส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มที่บ่งชี้คุณภาพน้ำปานกลางถึงค่อนข้างดี เช่น ไดอะตอมที่พบเป็นชนิดเด่นในทุกจุดเก็บตัวอย่างของลำน้ำแม่แรมได้แก่ Cocconeis placentula เป็นไดอะตอมที่มีรายงานว่าพบในต้นน้ำที่เป็นแหล่งน้ำสะอาด และยังพบ Gomphonema minutum เป็นชนิดเด่นอีกด้วย ซึ่งบ่งชี้สภาพที่แหล่งน้ำมีการปนเปื้อนของสารอาหารที่น้อย ส่วนไดอะตอมที่พบในลำน้ำแม่สา พบว่าเป็นกลุ่มที่พบในคุณภาพน้ำปานกลางทั่วไป โดยชนิดเด่นในลำน้ำแม่สาได้แก่ Achnenthes oblongella, Amphora bicep และ Planothedium rostratum ซึ่งเป็นกลุ่มที่เป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำปานกลาง หลังจากการนำข้อมูลของสิ่งมีชีวิตบางชนิดวิเคราะห์ผ่านโปรแกรมทางสถิติ พบว่าสิ่งมีชีวิตที่มีโอกาสใช้เป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำได้แก่ ไดอะตอมบางชนิดมีความสัมพันธ์กับจุดเก็บตัวอย่างอย่างชัดเจน เช่น Navicula exigua var signata ที่พบเป็นชนิดเด่นในจุดเก็บตัวอย่าง MS2 Cocconeis placentula พบในจุดเก็บตัวอย่าง MR2 และ MR1 และ Achnenthea exigue var. constrica ที่มีความสัมพันธ์กับจุดเก็บตัวอย่างที่มีความสะอาดและมีปริมาณสารอาหารน้อย สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ในวงค์ Caenedae และ Chironomidae ซึ่งเป็นวงค์ที่พบในแหล่งน้ำที่มีสารอาหารสูง นอกจากนี้ในจุดเก็บตัวอย่างต้นน้ำแม่สา และแม่แรม MS1 และ MR1 จะพบสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ในกลุ่ม Micronectidae และ Corbiculidae ส่วนท้ายน้ำจะพบกลุ่ม Baetidae เป็นหลัก
Abstract
The study on diversity and environmental situation in Mae Sa watershed and expanded area Mae Ram stream, Chiang Mai province were focus on species diversity and the distribution of selected organisms. The 6 sampling sites were selected along the basin. The result revealed that the stream was small and characterized as the northern river of Thailand. The upstream as MS1 and MR! had a high velocity, undisturbed area whereas the middle and lower were disturbed by human activities. The substrate was contained the rock gravel and sand. The overall water quality was moderate to good at the upstream site but moderate at the middle and downstream. The comparing of water properties form Mae Sa and Mae Ram shown that the water quality in Mae ram were better than the Mae Sa stream in the term of turbidity, the conductivity and Total dissolved solid. The most common species of Benthic diatom were Cocconeis placentula, the clean water indicator. Gomphonema minutum was also found as the dominant species from this investigation. It could be found in low nutrient concentration stream. However, the most abundance of benthic diatom were Achnenthes oblongella, Amphora bicep and Planothedium rostratum, the moderate water indicator. When focus at each site, the Navicula exigua var signata found as dominant at site MS2 and Cocconeis placentula found as dominant at site MR2 and MR1 and Achnenthea exigue var. Constrica found in the low nutrient and the upstream. The common distribution of macroinvertebrate was Caenedae and Chironomidae found as dominant in site MS1 and MR1 whereas the Micronectidae and Corbiculidae found at the middle stream and Baetidae found as dominant at the downstream.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา573 20 มี.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
328 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
0-2610-5200
pr_mua@mua.go.th