ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและความสัมพันธ์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ อำเภอกัลยานิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่


อาจารย์ ดร.รุ่งนภา ทากัน

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

716-59-SCI-MUA

บทคัดย่อ

จากการศึกษาความหลากหลายของแมลงน้ำและการประยุกต์ใช้เป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำของน้ำแม่แจ่ม ในพื้นที่ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 3 จุดเก็บตัวอย่าง คือ จุดเก็บตัวอย่างที่ 1 MJ1 บริเวณบ้านจันทร์ จุดเก็บตัวอย่างที่ 2 MJ2 บริเวณบ้านแจ่มหลวง และจุดเก็บตัวอย่างที่ 3 MJ3 บริเวณบ้านแจ่มหลวง ทุกจุดเก็บตัวอย่างอยู่ในอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ทำการศึกษาในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ.2558 (ฤดูหนาว) เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 (ฤดูร้อน) และเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2559 (ฤดูฝน) โดยใช้วิธีการเก็บตัวอย่างแมลงน้ำแบบ sweep sampling พบแมลงน้ำทั้งหมด จำนวน 13,057ตัว จากทั้งหมด 78 วงค์ 10 อันดับ ค่าดัชนีความหลากหลายสูงที่สุดในจุดเก็บตัวอย่าง MJ3 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2559 (ฤดูฝน) คือ 2.8551 ส่วนค่าที่ต่ำที่สุดอยู่ในจุดเก็บ MJ3 เดือนธันวาคม พ.ศ.2558 (ฤดูหนาว) คือ 1.8090 ค่าความสม่ำเสมอที่สูงที่สุดในจุดเก็บตัวอย่าง MJ2 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2559 (ฤดูฝน) คือ 0.7243 ส่วนค่าที่ต่ำที่สุดอยู่ในจุดเก็บ MJ2 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 (ฤดูร้อน) คือ 0.5047 การใช้แมลงน้ำเป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำ โดยใช้คะแนน BMWP Score คำนวณหาค่า ASPT Score พบว่าคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์คุณภาพน้ำปานกลาง สารอาหารปานกลางเป็นส่วนใหญ่ยกเว้นจุดเก็บตัวอย่าง MJ2 เดือนธันวาคม, MJ3 เดือนธันวาคม คุณภาพน้ำดี สารอาหารน้อย โดยความหลากหลายของแมลงน้ำที่พบมีความสัมพันธ์กับฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไป การสำรวจพรรณไม้ยืนต้นในพื้นที่ป่าบ้านแจ่มหลวงและบ้านกิ่วโป่ง ตำบลแจ่มหลวง อำเภอกัลยณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ โดยทำการศึกษาโดยการวางแปลงตัวอย่างแบบสี่เหลี่ยม 20x20 เมตร บนพื้นที่ป่าทั้งสอง จำนวนพื้นที่ละ 1 แปลง เพื่อทำการสำรวจไม้ยืนต้นที่มีเส้นรอบวงตั้งแต่ 15 เซนติเมตร ขึ้นไป ที่ความสูงระดับอก (130 เซนติเมตร) แล้วบันทึกขนาดเส้นรอบวง และชื่อพรรณไม้ เพื่อรวบรวมข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยหาค่าดัชนีความสำคัญ (Importance Value Index) ค่าดัชนีความหลากหลายชนิด (Shannon – Weaver Index) และค่าดัชนีความสม่ำเสมอของชนิดพรรณ (Evenness Index) จากการศึกษาพบว่า บริเวณป่าบ้านแจ่มหลวง พรรณไม้ที่มีดัชนีความสำคัญมากที่สุดคือ พรรณไม้ในวงศ์เปล้า (Euphorbiaceae) ส่วนบริเวณป่าบ้านกิ่วโป่งคือ ต้นชมพู่ป่า และค่าดัชนีความหลากหลายชนิดของการศึกษาพรรณไม้ยืนต้นบริเวณป่าบ้านแจ่มหลวง เท่ากับ 2.703 เปรียบเทียบกับบริเวณป่าบ้านกิ่วโป่ง เท่ากับ 3.128 และค่าดัชนีความสม่ำเสมอ บริเวณป่าบ้านแจ่มหลวงเท่ากับ 0.773 มีค่าความสม่ำเสมอของพรรณไม้ต่ำกว่าบริเวณป่าบ้านกิ่วโป่งที่มีค่าเท่ากับ 0.902 แสดงให้เห็นว่าบริเวณป่าบ้านกิ่วโป่งมีความหลากหลายของพรรณไม้มากกว่าบริเวณป่าบ้านแจ่มหลวง เนื่องด้วยลักษณะสภาพภูมิศาสตร์ที่ป่าบ้านกิ่วโป่งอยู่สูงกว่าป่าบ้านแจ่มหลวง อีกทั้งป่าบ้านกิ่วโป่งยังมีความชื้นมากกว่าละอยู่ใกล้แหล่งน้ำรวมทั้งมีการมีปลูกต้นไม้เพิ่มเติม ทำให้พบชนิดพรรณไม้มากกว่าป่าบ้านแจ่มหลวง การใช้ แมลงน้ำ แลการกระจายตัวของพรรณพืช เป็นดัชนีบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ต้นน้ำแม่น้ำแม่แจ่ม พบว่ามีความหลากหลายในระดับปานกลางเมื่อเทียบกับแหล่งน้ำอื่นในพื้นที่ภาคเหนือ ส่วนการศึกษาองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านการจัดการระบบเหมืองฝาย และพิธีกรรมอนุรักษ์ต้นน้ำ ส่งเสริมให้ชุมชนสามารถติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำด้วยตัวเองได้ต่อไป

Abstract

The Study on Bio-monitoring and Water Resources in Mae Hong Son Province were select the Mae Sa Ngee Watershed, The using of aquatic organisms as aquatic insects and some physico-chemical technique were studied and carried out from September 2016 to March 2017. Seven sampling sites along the Mae Jam River were chosen including MJ1 the origin of Mae Jam, MJ2 Ban Lim Bridge in Mae La Noi District and and MJ3 Ban Jam Luang. Thirteen thousand and fifty-seven individuals were found from 78 family Odder 10 Aquatic insect were found as the bioindicator. The diversity of aquatics organism shown that the Mae Sa Ngee Stream is classified into the moderate to low abundance compared to the other rivers in northern Thailand. The local communities were continuing the local wisdom on the check-dam management and continuing the upstream respecting The water quality investigation by using ASPT, AARL-PP and AARL-PC Score revealed that the water quality in upper stream (MJ1) was classified to moderate to clean and downstream (MJ2 to MJ3) was classified to moderate water quality. The overall water quality in Mae Jame was moderate when compared with the standard water quality of Thailand. The water can use for household consumption by common treat and agricultural. This project is including the knowledge transferred to the local people such as student and local citizens. Two workshops were issued in each focused area for communities/school including student, teacher and people in the research areas along the Mae Jam up-stream. The participants were studied for collecting aquatics samples, monitored and evaluated the water quality by themselves. The data from local researcher were transferred to the university researcher for analyzed and evaluated the water quality in the Mae Sa Ngee River. The result by the local researcher shown that the water quality in Mae Sa Ngee River were clean to moderate, and moderate by using the physical, chemical and some biological simple technique. The result from local researcher and the collecting sample by Chiang Mai Rajabhat University staff found that the macroalgae and aquatic insects could be used for water quality indicator and monitor in the Mae Sa Ngee River.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

265 20 มี.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

328 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

http://www.mua.go.th/

0-2610-5200

pr_mua@mua.go.th

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่