
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การพัฒนาคู่มือและนวัตกรรมภาษาอังกฤษที่ใช้แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขตอำเภอแม่ริม จ.เชียงใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภัทรกมล รักสวน
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
734-59-HUSO-NRCT
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างนวัตกรรมภาษาอังกฤษที่ใช้แนวการสอนภาษาเพื่อการ
สื่อสาร และคู่มือ เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ใน
เขตอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเปรียบเทียบทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษก่อนและหลังการใช้
นวัตกรรมและคู่มือที่สร้างขึ้น และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการอบรมโดยใช้
นวัตกรรมและคู่มือที่สร้างขึ้น ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 ภาค
เรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านแม่สา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 22 คน ดำเนินการ
ทดลองกลุ่มเดียว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน
คู่มือประกอบการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คู่มือแบบฝึก
ทักษะภาษาอังกฤษ แบบฝึกทักษะภาษาอังกฤษ และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้
การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. การวิจัยได้สร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษใช้แนวการสอนภาษาเพื่อการ
สื่อสารเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ได้แก่
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คู่มือประกอบการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบบฝึกทักษะ
ภาษาอังกฤษ คู่มือแบบฝึกทักษะภาษาอังกฤษ
2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมภาษาอังกฤษที่ใช้แนวการสอนภาษา
เพื่อการสื่อสาร และคู่มือที่สร้างขึ้น มีทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษที่สูงขึ้น ผลการทำแบบทดสอบก่อน
เรียน (Pre-test) มีค่าเฉลี่ย 13.41 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 5.9 ผลการทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest)
มีค่าเฉลี่ย 21.18 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 7.4
3. นักเรียนที่ได้รับการอบรมโดยใช้นวัตกรรมภาษาอังกฤษใช้แนวการสอนภาษาเพื่อการ
สื่อสารและคู่มือ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (96.67%) โดยเฉลี่ยมีความพึงพอใจต่อโครงการ
ในครั้งนี้ ได้รับความรู้และมีประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.81)
Abstract
The purposes of this study were to create English innovation and guidebook using
communicative approach to develop English listening and speaking skills of grade 6 students studying
in Mae Rim area, Chiang Mai, to compare their English listening and speaking skills before and after
using English innovation and guidebook provided, and to study those students’ satisfaction. The
population was 22 grade 6 students enrolled in the year 2016 at Baan Maesa School, Mae Rim, Chiang
Mai. The experiment followed the one group pretest posttest design. The experimental instruments
consisted of pretest, posttest, computer assisted instruction and its guidebook, English workbook and
its guidebook, and satisfaction checklists. The data obtained were analyzed by mean and standard
deviation.
The findings of this research were as follows:
1. The computer assisted instruction, its guidebook, English workbook, and its guidebook
were created and produced to use in the research.
2. English listening and speaking skills of students using English innovation and guidebook
with communicative approach had developed increasingly. The pretest’s Mean was 13.41 while its
standard deviation was 5.9 The posttest’s Mean was 21.18 while its standard deviation was 7.4
3. The students using English innovation and guidebook with communicative approach
strongly satisfied this teaching and learning (96.67%). The average satisfaction concerning this
research-both knowledge and benefits also strongly satisfied (X = 4.81).
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหาข้อมูลการตีพิมพ์
ชื่อบทความ :
แหล่งที่ตีพิมพ์ :การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ มหาวิทยาลัยภูเก็ต ครั้งที่ 12 : 2562 "การวิจัยสหวิทยาการบนพื้นฐานยุค 5.0"
ปีที่ตีพิมพ์ :2562
2842 03 เม.ย. 2560

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445