
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับแบบจำลองทางอุทกศาสตร์เพื่อวิเคราะห์หาทำเลที่ตั้งเหมาะสมต่อการสร้างฝายคอนกรีตเพื่อการเกษตรในอำเภอแม่ริม จ.เชียงใหม่
อาจารย์ ดร.รัชพล สัมพุทธานนท์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
736-59-HUSO-NRCT
บทคัดย่อ
การประยุกต์ใช้ GIS ร่วมกับแบบจำลองทางอุทกศาสตร์เพื่อวิเคราะห์หาทำเลที่ตั้งเหมาะสมต่อการสร้างฝายคอนกรีตเพื่อการเกษตร ในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เชิงกายภาพ เพื่อวิเคราะห์แบบจำลองทางอุทกศาสตร์ของพื้นที่ลุ่มน้ำในด้านอัตราการไหลสะสมและลำดับของลำน้ำ และเพื่อวิเคราะห์หาทำเลที่ตั้งเหมาะสมต่อการสร้างฝายคอนกรีตเพื่อการเกษตร สำหรับข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาวิจัยประกอบด้วยข้อมูลทางด้านกายภาพคือ ลักษณะภูมิประเทศจำแนกตามระดับความสูง ลักษณะทางธรณีวิทยา ความลาดชันจำแนกตามร้อยละ ชนิดของดิน ปริมาณน้ำฝน สำหรับข้อมูลด้านสังคม-เศรษฐกิจคือลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน ระยะห่างจากแหล่งชุมชน ระยะห่างจากถนน ความหนาแน่นประชากร ซึ่งแต่ละชั้นข้อมูลจะทำการให้ค่าคะแนนถ่วงน้ำหนักและคำนวณด้วยวิธี AHP กับแบบเรียงลำดับโดยผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวกับการสร้างฝายคอนกรีตของทุกตำบลในอำเภอแม่ริม และทำการวิเคราะห์การซ้อนทับข้อมูล เพื่อได้ผลลัพธ์ การจำแนกช่วง และวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลแบบจำลองความสูงเชิงเลขชนิด ASTER GDEM ซึ่งมีความละเอียดจุดภาพ 30 เมตรที่วิเคราะห์แบบจำลองทางอุทกศาสตร์โดยการคำนวณหาลำดับทางน้ำและคัดเลือกลำดับทางน้ำที่มีปริมาณน้ำเหมาะสม ผลลัพธ์ที่ได้พบว่าทำเลที่ตั้งเหมาะสมต่อการสร้างฝายคอนกรีตเพื่อการเกษตรมีจำนวน 3 ตำแหน่ง จากการสำรวจพื้นที่และทวนสอบผลลัพธ์พบว่าตำแหน่งที่ 2 สอดคล้องกับตำแหน่งอ่างเก็บน้ำในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่ามีความถูกต้องของผลลัพธ์กับการก่อสร้างแหล่งเก็บน้ำที่เกิดขึ้นจริง ดังนั้นตำแหน่งที่เสนอแนะให้มีการสร้างฝายคอนกรีตเพื่อการเกษตรคือตำแหน่งที่ 1 และ 3 ซึ่งตั้งอยู่ในเขตตำบลสะลวง และตำบลแม่แรม อย่างไรก็ตามผลจาการวิเคราะห์ในเชิงตำแหน่งเหมาะสมจำเป็นที่จะต้องได้รับการพิจารณาร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งฝ่ายวิศวกรรมเพื่อการออกแบบและก่อสร้างฝายคอนกรีตได้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดต่อไป
Abstract
Application of GIS with hydrological model to analyze suitable site for concrete dams constructing for agriculture in Mae Rim District, Chiang Mai Province. The objective is 1) to explore and develop a database of physical geographic information systems. 2) to analyze the hydrological model of the flow accumulation and stream order. And 3) to analyze the suitable site for the concrete dams construction for agriculture. The data used in the study included physical data; topographic features, geological feature, slope, soil type, rainfall and socio-economic data comprise of land use, distance area from the community, distance area from the road, population density. Each data layer is weighted and calculated by AHP and ranking method by experts who related to design, generate concrete dams in all sub-districts in Mae Rim. Then analyzing by overlays all spatial data. The result was classification and analyze with ASTER GDEM data with a 30 meter resolution which is analyzed hydrological models by calculated stream order and selected areas with appropriate water. The results showed 3 suitable location for the concrete dams construction for agriculture. When survey and verified found that Dam number 2 related to real reservoir location, showing the accuracy of the results. Therefore, the recommended sites for constructing concrete dams for agriculture are Dam number 1 and 3 where located in Sa-luang and Mae-ram Sub-district. However, this results need to be considered with steak holder people in communities. Including engineering department for the concrete dams design and construction to be the most effective.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา1126 29 มี.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445