
ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)
การศึกษาเอกลักษณ์เพื่อการท่องเที่ยวบนพื้นฐานของการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พื้นที่อำเอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
อาจารย์วรพล วัฒนเหลืองอรุณ
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ :
เลขทะเบียน :
737-59-HUSO-NRCT
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง การศึกษา เอกลักษณ์เพื่อการท่องเที่ยวบนพื้นฐานของการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พื้นที่อำเภอแม่ริมจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประเภทของการวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) โดยมีวัตถุประสงค์3 ประการดังนี้ 1)เพื่อศึกษาข้อมูลบริบทของอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 2)เพื่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วม และสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 3)เพื่อการจัดทำ เอกลักษณ์ ด้านการท่องเที่ยวภายใต้การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่การจัดทำแผนการบริหารจัดการภายใต้งานวิจัยเชิงคุณภาพ ในบริบทของการศึกษา สังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมจากพื้นที่จริง การประชุมสัมมนากลุ่มของตัวแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Focus Group) ประกอบกับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในพื้นที่ เมื่อได้ข้อมูลครบทุกด้านผู้วิจัยนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) โดยศึกษาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาค้นคว้าจากข้อมูลเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า อำเภอแม่ริมมีขนาดพื้นที่ ประมาณ 284,375 ไร่ โดยแยกเป็นเนื้อที่ป่าสงวนและอุทยาแห่งชาติประมาณ 199,325.50 ไร่พื้นที่สำหรับการเพาะปลูกประมาณ 78,120.75 ไร่แบ่งการปกครองออกเป็น 5 เทศบาลตำบล ได้แก่ แม่ริม ริมเหนือ สันโป่ง ขี้เหล็ก และแม่แรม และ 6 องค์การบริหารส่วนตำบล ได้แก่ สะลวง ห้วยทราย โป่งแยง แม่สา ดอนแก้ว และเหมืองแก้ว ประชาชนในพื้นที่โดยส่วนใหญ่เป็นคนท้องถิ่น รองลงมาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ เช่น ชนเผ่าม้ง และชาวไทใหญ่ จึงทำให้ในพื้นที่มีความหลากหลายทางประเพณีและวัฒนธรรม ในด้านแหล่งท่องเที่ยว พบว่าทุกตำบลในเขตอำเภอแม่ริมมีทั้งแหล่งท่องเที่ยว และสถานที่สำคัญทางศาสนา เช่น วัดพระพุทธบาทสี่รอย วัดป่าดาราภิรมย์ น้ำตกแม่สา อ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่า ม่อนแจ่ม เป็นต้นยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ของทั้ง 11 ตำบล โดยส่วนใหญ่จะเน้นไปทางด้านการพัฒนาความเป็นอยู่ และเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่ ยกเว้นพื้นที่ที่มีแหล่งท่องเที่ยวจะมียุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวด้วย ได้แก่ เทศบาลตำบลแม่ริมเทศบาลตำบลริมเหนือ เทศบาลตำบลแม่แรมองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยงองค์การบริหารส่วนตำบลแม่สา และองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วซึ่งทางคณะผู้วิจัยได้ทำการลงพื้นที่ในการอบรมชาวบ้านให้มีความรู้ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งได้ทำการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ของตนเอง ซึ่งพื้นที่ที่ทางคณะผู้วิจัยได้ทำการอบรมชาวบ้านได้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยงองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วบ้างวังป้อง หมู่ที่ 6 ตำบลเหมืองแก้ว และบ้านท่าไคร้ หมู่ที่ 2 ตำบลแม่สา จากการศึกษา จึงสามารถสรุปได้ว่า เอกลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวในเขตอำเภอแม่ริมภายใต้การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนมีพื้นฐานจากเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานหลักของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนนอกจากนี้ทางคณะผู้วิจัยยังได้เสนอประเด็นสำคัญในการพัฒนาพื้นที่ทางด้านการท่องเที่ยว ดังนี้ ประเด็นที่ 1 เรื่องคน นั่นคือ คนในชุมชนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการพัฒนาการท่องเที่ยว และประโยชน์ของการท่องเที่ยว โดยการพัฒนาทักษะความรู้ ความสามารถในกิจกรรมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง เน้นการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ การมีมิตรไมตรีในการเป็นเจ้าบ้านและการให้บริการที่ดี การปรับรูปแบบไปตามสถานการณ์ที่เหมาะสม การร่วมกันสร้าง พัฒนา คงไว้ซึ่งบริบทของชุมชนที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในทุกๆ ด้าน ประเด็นที่ 2 เรื่องวิถีชีวิต หมายถึง ดำรงไว้ซึ่งการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และคงความเป็นเอกลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ ความเป็นมา การเปลี่ยนรูปแบบจากวิถีการเกษตรแบบดั้งเดิมรักษาการผลิตในรูปแบบของเกษตรปลอดภัยสู่เกษตรอินทรีย์ และการเปลี่ยนอาชีพสู่การผลิตสินค้าท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆ การดำรงไว้ซึ่งประเพณีและวัฒนธรรมที่สำคัญๆ และเป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน ประเด็นที่ 3 เรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม หมายถึง การส่งเสริมให้ชุมชนลดขยะของครัวเรือน จนนำมาเป็นต้นแบบของหมู่บ้านหรือชุมชนที่ใส่ใจและรักษาสิ่งแวดล้อม ประเด็นที่ 4 เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ทุกครัวเรือนส่งเสริมการปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อไว้รับประทานเองในบ้าน บริการแก่นักท่องเที่ยวในรูปแบบของโฮมสเตย์ ร้านอาหารท้องถิ่น เป็นต้น แบบนี้จะทำให้คนในชุมชนประหยัดค่าใช้จ่ายและสามารถสร้างรายได้เสริมได้อีกทางหนึ่ง
Abstract
This basic research has 3 objectives: 1) To study the settings of Mae Rim District, Chiang Mai Province 2) To promote the community involvement and to create the community strength in sustainable tourism development 3) To set the tourism uniqueness based on sustainable tourism in the areas of Mae Rim District, Chiang Mai Province. The sustainable tourism management plans were based on qualitative research through non-participation observation, focus groups and community workshops. The data analysis was presented in the Descriptive Analysis and the related literature review. The study results found that Mae Rim District has had around 284,375 Rai, divided into 199,325.50 Rai of protected forests and the National Park and 78,120.75 Rai of cultivated areas. There are 5 sub-districts: Mae Rim, Rim Nua, San Pong, Khee Lhek and Mae Ram, as well as 6 municipality offices: Sa Luang, Huay Sai, Pong Yaeng, Mae Sa, Don Kaew and Mhuang Kaew. Most population has been local northern people, followed by some ethnic groups, such as Mhong and Tai Yai ethnic groups. This has made the district cultural diversity. For the tourism sites, it is found that there are tourism sites and temples in every sub-district and municipality office, such as Phra Buddhabart Si Roy Temple, Dara Pirom Forest Monastery, Mae Sa Waterfalls, Huai Tueng Thao Reservoir and Mon Chaem, etc. The 11 strategic development plans for 5 sub-districts and 6 municipality offices have focused on the well beings and the economy in each area but there are only 6 tourism strategic development plans in these areas: Mae Rim Sub-District, Rim Nua Sub-District, Mae Ram Sub-District, Pong Yaeng Municipality Office, Mae Sa Municipality Office and Don Kaew Municipality Office. In these areas, the community workshops and the community participation were used to develop the tourism sites, particularly Pong Yaeng Municipality Office, Don Kaew Municipality Office, Baan Wang Pong, Moo 6, Mhuang Kaew Municipality Office and Baan Tha Khrai, Moo 2, Mae Sa Municipality Office. In conclusion, the tourism uniqueness in Mae Rim District based on sustainable tourism has the key factors in economy, social and cultural bases which are the key factors of sustainable tourism. The study also proposed the following main issues in tourism area development: The 1st issue is the local people. They should have knowledge and understanding in tourism development and the benefits of tourism by developing their skills, knowledge and ability in tourism activities continuously. The focus should be on systematic management, good hospitality and service, situational management and involvement in community conservation promoting tourism in all the aspects. The 2nd issue is the way of life. This means the conservation of historical uniqueness, the changes from the original agriculture ways into organic farming, career changes into the producers of various local products and the main and unique culture and tradition conservation. The 3rd issue is the environment conservation. Promoting to decrease the home wastes can lead to be the best environment conservation model The 4th issue is the Sufficiency Economy Concept. Every home plants home-grown vegetables for own consumption and for serving tourists in homestays and in local food shops. This can help the community to save the expenses and to earn more extra incomes.
ไฟล์งานวิจัย
อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา229 12 ต.ค. 2561

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
196 Paholyotin Rd., Chatuchak, Bangkok 10900
0-2561-2445