ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออกในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่


อาจารย์ ดร.สิวลี รัตนปัญญา

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

741-59-SCI-CMRU

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ได้แก่ ประชาชน จำนวน 357 คน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 321 คน ซึ่งเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นจากแนวคิดทฤษฎี Precede-Proceed Model ของกรีน และคูเตอร์ (1992) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแคว์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยในส่วนของประชาชน พบว่าประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการเฝ้าระวังและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกเฉลี่ยในระดับปานกลาง และ เจตคติเกี่ยวกับการเฝ้าระวังและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกเฉลี่ยในระดับปานกลาง-สูง ในส่วนปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริมเกี่ยวในการเฝ้าระวังและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับปานกลาง-สูง ในส่วนของพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกของประชาชนนั่นอยู่ในระดับสูง ในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในประชาชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ การดำรงตำแหน่งทางสังคม และประสบการณ์สมาชิกในครอบครัวป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก (p-value = 0.054, 0.012, 0.030, 0.011, < 0.001, และ 0.036, ตามลำดับ) โดยตัวแปรที่สามารถการทำนายพฤติกรรมการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในประชาชนได้แก่ ความรู้ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001. 0.004, และ 0.009, ตามลำดับ) ผลการวิจัยในส่วนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พบว่าความรู้และเจตคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดอยู่ในระดับปานกลาง-สูง ได้รับปัจจัยเอื้อในการเฝ้าระวังและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับปานกลาง-สูง และได้รับปัจจัยเสริมเกี่ยวกับการเฝ้าระวังและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกสูง โดยอาสาสมัครสาธารณสุขมีพฤติกรรมการเฝ้าระวังและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับสูง ในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ การดำรงตำแหน่งทางสังคม (p-value = 0.027) โดยตัวแปรที่สามารถการทำนายพฤติกรรมการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในอาสาสมัครสาธารณสุขได้แก่ เจตคติ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.007, < 0.001 และ 0.016, ตามลำดับ)

Abstract

This study was a cross-sectional descriptive study. The aim is to evaluate the relationship of the predisposing factors, enabling factors and reinforcing factors that are related to preventive behaviour against dengue hemorrhagic fever (DHF). The samples in this study were 357 people and 321 village health volunteers (VHV) who involved with the DHF surveillance in Mae Rim district, Chiang Mai province, selected by simple random sampling. Data were collected by a questionnaire which developed following Precede-Proceed Model of Green and Krueter (1992). The data presented by using percentage, mean, standard deviation, Chi-square test, and Multiple regression analysis. In part of people, the results showed that the levels of knowledge was medium and attitude was medium-high. Moreover, the enabling factors and reinforcing factors were medium-high. The preventive behaviour against dengue hemorrhagic fever was high. The individual factors (sex, marital status, education level, carrier, social position, and family history of DHF illness) were significantly related with preventive behaviour against dengue hemorrhagic (p-value =0.054, 0.012, 0.030, 0.011, <0.001, and 0.036, respectively). Furthermore the knowledge, the enabling factors and reinforcing factors can be significantly predicted the preventive behaviour (p-value < 0.001. 0.004, and 0.009, respectively). In part of VHV, the results showed that the levels of knowledge, attitude and enabling factors were medium-high. Moreover, the reinforcing factors and the preventive behaviour against dengue hemorrhagic fever were high. The social position was significantly related with preventive behaviour against dengue hemorrhagic (p-value = 0.027). Furthermore, attitude, enabling factors and reinforcing factors can be significantly predicted the preventive behaviour (p-value = 0.007, < 0.001 and 0.016, respectively).

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

979 11 เม.ย. 2561

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000

http://www.cmru.ac.th

053-88-5555

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่