ระบบสารสนเทศงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Research Information System(RIS)

ความต้องการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่


นางสาวฐิติกา อาษากิจ

สำนักหอสมุด

คำสำคัญ :

เลขทะเบียน :

751-59-IN-CMRU

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “ความต้องการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่” เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยนำเครื่องมือวัดคุณภาพบริการห้องสมุด (LibQUAL+) ของสมาคมห้องสมุดเพื่อการวิจัย (Associate Research Libraries) ซึ่งสำนักหอสมุดได้ประยุกต์ใช้เครื่องมือโดยการนำดัชนีคุณภาพมาใช้ 2 ระดับ คือ 1) ระดับความต้องการบริการ 2) ระดับความพึงพอใจในบริการที่ได้รับจริง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษา อาจารย์ บุคลกรมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 377 คน การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ การวิจัยครั้งนี้ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows ผลการวิจัยพบว่า ระดับความต้องการบริการ / บริการที่ผู้ใช้คาดหวังนั้น ผู้ใช้บริการมีระดับความต้องการบริการอยู่ในระดับ มาก ( 7.18) ส่วนระดับความพึงพอใจในบริการที่ได้รับจริง พบว่า ผู้ใช้บริการมีระดับความพึงพอใจในบริการที่ได้รับจริงอยู่ในระดับปานกลาง ( 6.46) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าระดับความพึงพอใจต่ำกว่าระดับความต้องการทุกข้อ เมื่อพิจารณาประเด็นช่องว่างบริการระดับสูงพบว่าเป็นช่องว่าบริการระดับสูงเชิงลบ เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานปกติของช่องว่างระดับสูงของสมาคมห้องสมุดเพื่อการวิจัย พบว่าช่องว่างของบริการระดับสูงของห้องสมุด (-0.72) อยู่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานปกติของช่องว่างระดับสูงของสมาคมห้องสมุดเพื่อการวิจัย (-1.010) ซึ่งหมายถึงคุณภาพบริการของห้องสมุดอยู่ในระดับดี แต่ยังไม่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการ

Abstract

The propose of the research was to study user’s need and user’s satisfaction of Chiang Mai Rajabhat University Library Services”. The questionnaire apply from concept of LibQUAL+TM, which is the tools that use to measure the library service including 1)Desire level of service 2) Perceived service level The sample in this survey research were 377 library’s user such as undergraduate students, graduate students, teacher, and university staffs. The data was analyzed by using SPSS for windows. The result founded the user’s desire level of service was at high level ( 7.18), The user’s perceived service level was at medium level ( 6.46), when consider each item founded the user’s perceived service lower than the user’s desire level in every question. From the result showed the super gap was negative (-.072) and when compare with the score norms by Association of Research libraries (-1.010), founded the service quality of Chiang Mai Rajabhat University Library is higher than the standard but not exactly what the user need.

ไฟล์งานวิจัย

อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเนื้อหา

753 09 ต.ค. 2561

กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 503000

http://www.cmru.ac.th

053-88-5555

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่